ปฏิจจสมุปบาท

เรียนรู้จาก พระไตรปิฎก

http://www.palapanyo.com/files/tpd/index.php?f=Tripitaka-Attakata/26/src/260001.txt

http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd16.htm

 

 

ทิฏฐิ ๖๒ เป็นผลของการไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท

http://faq.watnapp.com/word/164-04-00-0011#

http://www.navy.mi.th/newwww/code/special/budham/tps/tps1402.htm#๖

 

 

ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕

http://84000.org/tipitaka/read/?9/50

ปัญจัตตยสูตร (๑๐๒)

http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=512&Z=792&bgc=aliceblue&pagebreak=0

ศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี

สำหรับผู้ที่พร้อม จะทำความเพียร แต่อาจมีความขัดข้องทางทรัพย์ ขอแนะนำ สถานที่ ที่เหมาะแก่การทำความเพียร โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ที่นี่สนับสนุน ผู้ที่กระทำความเพียรจริงๆ(ชอบมากกกก)

อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของขุนเขา สภาพอากาศเย็น มากกว่าร้อน(ชอบมากกกก)

ที่พักสะดวก ทั้งน้ำที่ใช้ สถานที่พักผ่อน

อาหารการกิน สะดวก

ห้องปฏิบัติ กว้างใหญ่ มีทั้งด้านนอกห้อง และ ในห้อง เลือกได้ตามสัปปายะของตนเอง(ชอบมากกกก)

มีพัดลมให้เลือกใช้ ตามสะดวก(ชอบมากกก)

ห้องน้ำในที่ปฏิบัติ มีมากมายหลายห้อง ทั้งชั้นล่างและชั้นบน เลือกใช้ได้ตามสะดวก(ชอบมากกก)

มีเก้าอี้ให้นั่ง สำหรับคนที่มีปัญหาสุขภาพ หรือ สำหรับผู้ที่นั่งเก้าอี้แล้ว รู้สึกถูกกับสัปปายะของตนเอง ไม่มีข้อห้าม

จะนั่งแบบไหน ใช้อะไรเป็นอุปกรณ์ เป็นตัวช่วยในการนั่ง ทำได้ตามสะดวก(ชอบมากกกก)

การทำความเพียร ทำตามเหตุปัจจัยของตน เรื่องเวลาการปฏิบัติ ทำตามสะดวก ไม่มีจำกัดช่วงเวลา(ชอบมากกกกก)

มีพระอาจารย์ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ สภาวะการปฏิบัติ หากไม่ต้องการ ก็บอกกับท่านได้ คือ มุ่งทำความเพียรอย่างเดียวจริงๆ ท่านไม่มาจุกจิก หรือคอยซักถาม หากเราไม่ไปถามท่าน(ชอบมากกกก)

การพูดคุย ต้องดูแลตัวเอง อย่ากล่าวโทษผู้อื่น เหตุใคร เหตุมัน

งานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับภายในสถานปฏิบัติธรรม ไม่ต้องยุ่ง เพราะ ที่นั่น ได้จ้างคนงาน ให้เป็นคนดูแลทุกอย่าง แต่ถ้าอยากทำ ส่วนมาก เจ้าหน้าที่จะบอกว่า อย่าทำ หรือ อย่าช่วย เดี๋ยวเขาโดนดุ

วลัยพรเห็นแม่ชี ที่วัดอื่นๆ ทำงานงกๆ และมีพูดให้วลัยพรฟังว่า ไม่มีเวลาปฏิบัตเลย(เต็มรูปแบบ)

มีบางคน กล่าวติติงวัดที่มีแม่ชีทำงานแบบนั้นว่า วัดเอาเปรียบ ไม่ให้เงิน ใช้แต่งาน

เราบอกว่า แล้วแต่เหตุนะ เพราะ ทางวัดไม่ได้บังคับ แม่ชี เลือกกันเอง

สถานที่นี้ วลัยพรถูกใจมากที่สุด เพราะ ที่นี่สนับสนุน ให้กระทำความเพียร ส่วนที่เกินจากนั้น ที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ทั้งมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ต้องช่วยตัวเอง คนอื่นช่วยไม่ได้

ถ้าคะแนนเต็ม ๑๐๐ ที่นี่ให้ ๙๙.๙๙ เพราะ ยังขาดเรื่อง น้ำปานะ ที่นี่ยังขาดผู้สนับสนุน ถ้าคนไหน มีทรัพย์น้อย หรือ ไม่มี ก็ลำบากหน่อย

สำหรับผู้ที่สนใจ ต้องการสนับสนุน ด้านน้ำปานะ ให้กับพระและโยคี ผู้ปฏิบัติ สามารถโอนเงิน สมทบทุน กับการทำทานน้ำปานะ ตลอดจนสนับสนุนด้านอื่นๆ

ติดต่อขอบริจาคได้ที่ พระครูสังฆกิจจาภิรักษ์ โทรศัพท์: 08-6111-3218 แฟกซ์: 044-760-414
หรือโอนปัจจัยเข้าบัญชี ออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยปากช่อง
ชื่อบัญชีกองทุนกรรมฐาน หมายเลขบัญชี 659-2-04088-1

https://www.facebook.com/Dhammamolee?fref=ts

ไม่ได้รู้สึกอะไรๆ

บางคน สำคัญผิด เรื่อง การขออโหสิกรรม

การขออโหสิกรรม เป็นเรื่องของ การสำนึกผิด ในสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป(สร้างเหตุนอกตัว)
ไม่ได้เป็นการถ่ายบาป หรือ เป็นการทำให้ กรรมที่ได้กระทำลงไปแล้ว ทำให้กรรมนั้นๆ ตกสิ้นไป คือ ไม่ส่งผล

กรรมหรือการกระทำทุกๆชนิด ไม่ว่าจะคิดเอาเองว่า บาป บุญ คุณ โทษ กุศล อกุศล ถูก ผิด ดี ชั่ว แม้กระทั่ง การกระทำที่คิดว่า เป็นการปรามาสกัน
สิ่งต่างๆ ที่เป็นคำเรียกเหล่านี้ ล้วนเกิดจาก ความถูกใจ ไม่ถูกใจ จากสังโยชน์กิเลส ที่มีอยู่
เมื่อกระทำลงไปแล้ว กรรมนั้นๆ ส่งผลกลับมาที่ผู้กระทำทั้งหมด ไม่มีข้อยกเว้น

ถ้ามีคำพูดทำนองว่า ต้องเป็นพระอรหันต์(หมดกิเลส) กรรมนั้นจะตกสิ้นไป
จงดูพระพุทธเจ้า ตลอดทั้งพระอัครสาวก เป็นตัวอย่าง พระโมคคัลลานะ ทำไมต้องยอมถูกทุบตี หลายครั้ง ทำไมไม่เหาะหนี
พระพุทธเจ้า ทำไมไม่หนี กับทุกๆกากรระทำ ที่พระเทวทัต ทำกับพระองค์

ฉะนั้น การกล่าวขออโหสิกรรม และ การกล่าวอดโทษ ไม่ล่วงเกินต่อกัน
เป็นการไม่ผูกพยาบาทต่อกัน ไม่ใช่เป็นการกระทำ แบบพิธีกรรม ตามความเชื่อ ที่บอกเล่าต่อๆกันมา

มีนะ บางคนมาขออโหสิกรรมต่อการกระทำ ที่เขาได้กระทำกับวลัยพร ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
วลัยพรจะบอกว่า คุณไม่ต้องมาขออโหสิกรรมหรอก เพราะ กรรมที่คุณได้กระทำลงไป เป็นกรรมที่สำเร็จแล้ว เหตุมี ผลย่อมมี

การกล่าวคำขอโหสิกรรม เป็นเรื่องของ การฝึกละความมีตัวตน ที่มีอยู่(ความยึดมั่นถือมั่น)
ฝึกที่จะไม่พยาบาท ที่เกิดจากการผูกใจเจ็บ ต่อการกระทำของอีกฝ่าย

หากมุ่งทำความเพียรต่อเนื่อง พยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว
เวลากรรมส่งผล(ทุกๆขณะที่ผัสสะเกิด) จะได้มีสติ มีสมาธิ มีสมัปชัญญะ(ความรู้สึกตัว)
จะได้ไม่ก้าวล่วงออกไปทางวจี ให้เป็นวจีกรรม
ไม่ก้าวล่วงออกไปทางกาย ไม่ให้เป็นให้เป็นกายกรรม
ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่มีเกิดขึ้นอีก

ส่วนความรู้สึกนึกคิด ห้ามไม่ได้ เพราะ ยังมีกิเลสอยู่ มโนกรรม ย่อมมีอยู่ แค่รู้ แค่ยอมรับ ต่อผัสสะนั้นๆ(ที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด) ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
ผลที่เกิดขึ้นอย่างมาก แค่ทุกข์ใจ ทุกข์กาย

ผลของการไม่สานต่อ(ไม่ตอบโต้) เป็นเหตุให้ เหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน สั้นลง
และส่งผลให้ ภพชาติ การเวียนว่าย ตายเกิด ในวัฏกสงสาร สั้นลง

จึงไม่ควรมาพร่ำกล่าวคำขออโหสิกรรม แต่จงแก้ที่ตัวเอง ในสิ่งที่ยังมีอยู่และเป็นอยู่
โดยการทำความเพียรต่อเนื่อง(แบบไหนก็ได้) และ พยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว(เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย)

จงรู้ไว้ว่า วลัยพร ไม่ได้รู้สึกโกรธ หรือเกลียด แต่ที่ไม่คิดข้องเกี่ยว
เพราะ มองเห็นเหตุของการเกิดภพชาติ ที่เกิดขึ้นเนืองๆหากยังเกี่ยวข้องอยู่ เลี่ยงได้ จึงเลี่ยง เลือกที่จะไม่เกี่ยวข้องด้วย

เหมือนการพูดคุย มักพูดคุยเกี่ยวกับการทำความเพียรเป็นหลัก ปัญหาทางโลก เหตุใคร เหตุมัน แก้กันเอาเอง
เมื่อก่อนเคยยุ่งเหมือนกัน ให้คำแนะนำว่า ต้องทำอย่างงัน้อย่างงี้( การทำความเพียร)
แต่คนที่ได้รับคำแนะนำ บางคนเชื่อ และนำไปปฏิบัติ ผลคือ ทุกข์มีอยู่ แต่น้อยลง(ยึดน้อยลง) อันนี้เขามาเล่าให้ฟังกัน

ผิดกับคน ที่แค่ต้องการมาระบาย แต่ไม่คิดทำความเพียร และไม่พยายามระงับตัวเอง ในเรื่องการสร้างเหตุนอกตัว
ผลคือ จมแช่อยู่กับความทุกข์ แล้วมาพูดทำนองว่า ทำไมทำความเพียรแล้ว เจอแต่ทุกข์

แทนที่จะกลับไย้อนทบทวนพฤติกรรมของตนเองว่า ทำไมชีวิตจึงเป็นแบบนี้
กลับมากล่าวโทษวลัยพรแทนว่า เป็นเพราะเชื่อวลัยพร ทำความเพียร จึงมีแต่ทุกข์
กับคนประภทนี้ วลัยพรจะตัดทิ้ง แรกๆ อาจยังให้คำแนะนำอยู่ ยังเปิดโอกาสให้อยู่
แต่ทุกๆครั้ง ที่เขาเจอทุกข์ กลับโยนมาที่วลัยพรทุกครั้ง ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่เจตนา
ที่เขาเป็นแบบนี้ เกิดจาก อวิชชา ที่หนาแน่น และ เขาสร้างเหตุร่วมกับวลัยพรมาน้อย
จึงทำให้ ไม่เกิดความศรัทธา ในการตั้งใจทำความเพียร และ หยุดตัวเอง ในการสร้างเหตุนอกตัว เพื่อเป็นการช่วยตัวเอง ให้อยู่กับทุกข์ ที่เกิดขึ้นได้

เมื่อเป็นแบบนี้ เกิดซ้ำซาก วลัยพรเห็นแต่เหตุ เห็นสิ่งที่ควรทำ จึงหันมามุ่งเน้น สำหรับผู้ที่คิดกระทำ
เพื่อ ดับเหตุของการเกิด(นิพาาน) จริงๆ มากกว่า ให้คำแนะนำแบบกระเรี่ยกระรราด(ไม่เลือก) เหมือนเมื่อก่อน

การที่ให้คำแนะนำต่อผู้อื่น ครั้งละ ๑ คน แนะนำหลายๆคน
เวลากรรมส่งผล ไม่ได้เจอแค่ครั้งละหนึ่ง มาแบบรวมมิตร เหมาเข่ง ต้นทุน สติ สมาธิ มีเท่าไหร่ พอรับมือได้ไหม พอรับมือได้ไหม หากรับมือไม่ไหว ใครทุกข์ล่ะ ตัวเองทั้งนั้น ไหนจะสภาวะขณะทำความเพียรอีก โดนนิวรณ์ต่างๆ เล่นงาน แล้วมันคุ้มไหมล่ะ

เลือกสร้างเหตุกับคนที่กระทำเพื่อดับเหตุของการเกิด
อย่างน้อยๆ คนกลุ่มนี้ ไม่ค่อยมีเรื่องคุย หรือ จะต้องแนะนำอะไรมากมาย คือ ช่วยตัวเองกันได้

ผิดกับกลุ่มตนอีกกลุ่ม ที่เอาแต่เรียกร้อง มีแต่การกล่าวโทษนอกตัว ที่สำคัญ ไม่พยายามทำความเพียรอีกต่างหาก

การพูดคุยแต่ละครั้ง มีแต่เรื่องทางโลก เรื่องเดิมๆ ซ้ำซาก พูดไปแล้ว เหมือนเข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา ไม่เคยจำ
พอพูดคุยอีก มีแต่เรื่องเดิมๆซ้ำซาก ไม่มีเรื่องของการทำความเพียร คนประเภทนี้ วลัยพรจะให้โอกาส ในระยะแรกๆ
จนกระทั่ง มีตัวแปรของสภาวะเข้ามาแรกแซง(เขาทำเอง เราไม่ต้องทำ) จะทำให้ คนๆนั้น กระเด็นออกไปเอง จากสภาพแวดล้อมของวลัยพร โดยที่วลัยพร ไม่ต้องคิดทำการสิ่งใด

สภาวะของวลัยพร จึงไปข้างหน้า มากกว่าถอยหลังเข้าคลอง(วังวนวัฏฏะ) เพราะ เหตุนี้

มนุษย์ถ้ำ

ยิ่งรู้ชัดในรายละเอียด ของสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากขึ้น

ทำให้รู้ชัด เห็นต้นเหตุของการเกิด ที่ยังไม่เกิด ในแต่ละขณะๆๆๆ มีสติ รู้อยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น (ที่มีเหตุปัจจัยต่อกัน)

ตัดได้ตัด ทิ้งได้ทิ้ง เพราะ สิ่งเหล่านั้น ล้วนเป็นตัวแปร ของสภาวะขณะ ทำความเพียร(นิวรณ์ต่างๆ)

ชีวิตนี้ น้อยนัก ไม่รู้ว่า วันไหน จะหมดลมหายใจ จึงใช้ชีวิตบนความไม่ประมาท เลี่ยงได้ เป็นเลี่ยง เพื่อรักษาลมหายใจ ไว้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด(นิพพาน)

นับวัน เหมือนมนุษย์ถ้ำ คือ สำรวม สังวร ระวัง การสร้างเหตุนอกตัว มากขึ้น

ไม่ได้เกิดจาก ความจงใจ หรือ เจตนา ที่จะรักษา แบบ ตอนแรกรู้

แต่เกิดโดยสภาวะ เป็นตัวนำทาง ทำให้เห็น ช่องทาง ที่เป็นทางเลือก ในการเดินต่อไป ก้าวไปข้างหน้า ทิ้งสิ่งต่างๆ ไว้เบื้องหลัง มากขึ้น

ช่องทางที่ว่านั้นคือ มีเหตุให้เห็น ช่องทางในการเสพ เลือกที่จะพูดคุย เลือกที่จะกระทำ

การกระทำ ดูสิ่งที่เกิดภายในใจเป็นหลัก ใช้สติ สมาธิที่เกิดขึ้นเนืองๆ ที่เป็นผลจาก การทำความเพียรต่อเนื่อง และ การพยายามไม่ข้องเกี่ยวเรื่องนอกตัว(หยุด มากกว่าสร้าง)

ซึ่งเป็นตัวช่วยในการกดข่ม ในการสร้างเหตุนอกตัว โดยไม่ต้องพยายามกดข่มเอาไว้ แบบก่อนๆ

ส่วนภายในกาย บังคับไม่ได้ ในเรื่องของ การเจ็บป่วย เรื่องของสุขภาพ แต่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ โดยการหันมาใส่ใจเรื่อง เครื่องอุปโภค บริโภค ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ มากขึ้น

ไปตลาด

๒๒ กพ.๕๗

ช่วงนี้ สภาวะสัญญาเกิดขึ้นเยอะมาก เป็นการทวนสภาวะต่างๆที่ผ่านมา

หมดเวลาไปครึ่งวัน กับการทำงานบ้านไปด้วย พร้อมทั้งรู้อยู่กับ สภาวะสัญญาที่เกิดขึ้นร่วมด้วย สมาธิเกิดขึ้น ขณะทำงานนั้นๆอยู่ ก็รู้

ปลาทู

เจ้านายชอบกินปลาทู กินทุกวัน วันละตัว ต้องทอด แบบ กรอบนอก นุ่มใน หัวยิ่งกรอบ ยิ่งชอบ กินไม่เหลือ การทอดปลาทู จึงมักทอดใน ในช่วงเวลาใกล้ๆ เจ้านายกำลังเดินทางอยู่(เขาจะโทรมาถามก่อนว่า มีอะไรกินบ้าง)

ถ้ากับข้าวมีเหลือหลายอย่าง จะก่อเตาถ่าน ทั้งนึ่งข้าวเหนียว ทำกับข้าว อุ่นกับข้าว ค่าถ่านไม่กี่บาท ใช้เตาขนาดเบอร์เล็กสุด

การทำให้ถ่านติด นำถ่านประมาณ ๓ ก้อน ใส่ตระแกรง ตั้งบนเตาแก๊สก่อน พอถ่านติดไฟ จึงนำไปใส่เตาถ่านอีกที

เตาถ่านที่เตรียมไว้ ใส่หนังสือพิมพ์ ที่ขยำๆไว้แล้ว มีเศษไม้เล็กน้อย จากหวดเก่า ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว นำมาเป็นเชื้อไฟ

ใส่แม๊ส เพื่อกันควันไฟ พัดไฟติด นำถ่านใส่ลงในเตา ส่วนถ่านในตะแกรง ตั้งไฟเหนือไฟอยู่

หนังสือพิมติดไฟหมดแล้ว เติมหนังสือพิมพ์ ที่ขยำ ใส่ลงไปใหม่ พอไฟติด นำถ่านที่อยู่ในตะแกรง ใส่ลงเตา

แปบนึง เตาถ่านพร้อมใช้ การพัดไฟ ให้พัดด้านบน เศษละอองหนังสือพิมพ์ จะได้ไม่ปลิวมาก หากพัดด้านล่าง จะปลิวขึ้นมากระจัดกระจาย

บริเวณรอบเตา ควรราดน้ำให้เปียก เวลามีเศษละอองปลิวร่วง จะติดอยู่กับน้ำ อันนี้ เป้นวิธีก่อเตาถ่าน สำหรับผู้ที่อยู่คอนโด

ผัสสะ

อานนท์ ! คราวหนึ่งเราอยู่ที่ป่าไผ่ เป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแตใกล้กรุงราชคฤห์นี่แหละ,

ครั้งนั้น เวลาเช้า เราครองจีวรถือบาตร เพื่อไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ คิดขึ้นมาว่า ยังเช้าเกินไปสำหรับการบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ถ้าไฉน เราเข้าไปสู่อารามของปริพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่นเถิด.

เราได้เข้าไปสู่อารามของปริพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น กระทำสัมโมทนียกถาแก่กันและกัน นั่งลง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

อานนท์ ! ปริพาชกเหล่านั้น ได้กล่าวกะเรา ผู้นั่งแล้ว อย่างนี้ว่า

“ท่านโคตมะ ! มีสมณพราหมณ์บางพวก ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม
ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง,

มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม
ย่อมบัญญัติ ความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้,

มีสมณพราหมณ์อีกบางพวก ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม
ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า ไม่ใช่ทำเอง หรือใครทำให้ ก็เกิดขึ้นได้.

ในเรื่องนี้ ท่านโคตมะของพวกเรา กล่าวสอนอยู่อย่างไร ?
และพวกเรากล่าวอยู่อย่างไร ?

จึงจะเป็นอันกล่าวตามคำ ที่ท่านโคตมะกล่าวแล้ว,
ไม่เป็นการกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง
และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม จะไม่พลอยกลายเป็น ผู้ควรถูกติเตียนไปด้วย ?”
ดังนี้.

อานนท์ ! เราได้กล่าวกะปริพาชกทั้งหลาย เหล่านั้นว่า

ปริพาชกทั้งหลาย !
เรากล่าวว่า ทุกข์ อาศัยเหตุปัจจัย (ของมันเอง เป็นลำดับๆ) เกิดขึ้น.

มันอาศัยเหตุปัจจัยอะไรเล่า ?

อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ.

ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าว.
นิทาน. สํ. ๑๖/๔๑/๗๖.

ภูมิชสูตร

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระภูมิชะออกจากที่เร้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับ ท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า

” ท่านสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเอง
อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ผู้อื่นทำให้
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย
อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้

ท่านสารีบุตร ในวาทะทั้ง ๔ นี้ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้อย่างไร พวกเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ฯ

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสุขและทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น

บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชน
จะติเตียนได้

ดูกรอาวุโส ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ

แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ดูกรอาวุโส ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ

พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ

ท่านพระอานนท์ ได้ยิน ท่านพระสารีบุตร สนทนาปราศรัย กับท่านพระภูมิชะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถ้อยคำสนทนา ของท่าน พระสารีบุตร กับท่าน พระภูมิชะ เท่าที่มีมาแล้ว ทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาค ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์ชื่อว่าพึงพยากรณ์โดยชอบ ดูกรอานนท์ เรากล่าวว่าสุขและทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้

ดูกรอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ดูกรอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้น เพราะอาศัยการที่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ

” ดูกรอานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ

เมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางวาจาเป็นเหตุ หรือว่า

เมื่อใจมีอยู่สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความจงใจทางใจเป็นเหตุ

ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแหละ

บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น ด้วยตนเองบ้าง

บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น เพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว(สัมปชัญญะ) ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง
บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง

บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรมเหล่านี้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
กายซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี
วาจาซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี
ใจซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี
เขต [ความจงใจเป็นเหตุงอกงาม] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี

วัตถุ [ความจงใจอันเป็นที่ประดิษฐาน] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี

อายตนะ [ความจงใจอันเป็นปัจจัย] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี หรือ

อธิกรณ์ [ความจงใจอันเป็นเหตุ] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี ฯ

จบสูตรที่ ๕

อรรถกถาภูมิชสูตรที่ ๕

ในภูมิชสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คำว่า ภูมิชะ เป็นชื่อของพระเถระนั้น.

คำที่เหลือแม้ในสูตรนี้ ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสูตรต้นๆ.

ส่วนความแผกกันมีดังนี้. ก็เพราะเหตุที่สุขทุกข์นี้มิใช่เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น กรรม เมื่อบุคคลกระทำย่อมทำด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ทำด้วยตนเองบ้าง เพราะบุคคลอื่นบ้าง ทำด้วยมีสัมปชัญญะบ้าง ทำด้วยไม่มีสัมปชัญญะบ้าง ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจัยที่แผกกันแม้อย่างอื่นๆ ของกรรมนั้น จึงตรัสว่า หานนฺท สติ เป็นต้น.

บทว่า กายสญฺเจตนาเหตุ แปลว่า เพราะเหตุแห่งเจตนาที่เกิดขึ้นในกายทวาร. แม้ในวจีสัญเจตนาและมโนสัญเจตนาก็นัยนี้เหมือนกัน.

บรรดาทวารเหล่านั้น ในกายทวารได้เจตนา ๒๐ ด้วยอำนาจกุศลและอกุศลส่วนกามาพจร. ในวจีทวารก็เหมือนกัน. ในมโนทวารเจตนา ๒๐ กับรูปเจตนาและอรูปเจตนา ๙ ได้เจตนา ๒๙. ในทวารทั้ง ๓ จึงมีเจตนา ๖๙. ทรงแสดงสุขทุกข์ส่วนวิบาก ที่มีเจตนานั้นเป็นปัจจัย.

คำว่า อวิชฺชาปจฺจยาว นี้ ตรัสไว้เพื่อทรงแสดงว่าเจตนาแม้เหล่านั้นก็ย่อมมีวิชชาเป็นปัจจัย. แต่เพราะเหตุที่บุคคลอันผู้อื่นมิได้ชักจูง ย่อมกระทำกรรมนั้นที่เป็นกายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ต้องด้วยเจตนาตามที่กล่าวแล้ว ด้วยทั้งจิตที่เป็นอสังขาริกเองก็มี. ถูกผู้อื่นใช้ให้กระทำ ก็กระทำด้วยทั้งจิตที่เป็นสสังขาริกก็มี. ย่อมกระทำกรรมชื่อนี้ วิบากของกรรมนั้น จักมีชื่อเห็นปานนี้ บุคคลรู้กรรมและวิบากดังที่กล่าวมานี้ จึงกระทำก็มี. รู้กรรมอย่างเดียวเท่านั้น เหมือนทารกเมื่อบิดามารดากระทำการไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ก็กระทำตาม แต่เขาไม่รู้วิบากว่า นี้เป็นวิบากของกรรมนี้ กระทำไปก็มี ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงกรรมนั้น จึงตรัสว่า สามํ วา ตํ อานนฺท กายสงฺขารํ อภิสงฺขโรติ เป็นต้น.

บทว่า อิเมสุ อานนฺท ธมฺเมสุ ความว่า ดูก่อนอานนท์ เจตนาธรรม ๒๗๖ ที่เรากล่าวในฐานะ ๔ มี สามํ วา ตํ อานนฺท กายสงฺขารํ เป็นต้น

บรรดาธรรมเหล่านี้ อวิชชาตกไปตามโกฏิอุปนิสัย ก็ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมสงเคราะห์ลงในข้อนี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ดังนี้.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ จึงตรัสว่า อวิชฺชาย เตฺวว ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า โส กาโย น โหติ ความว่า เมื่อกายใดมีอยู่ สุขทุกข์ภายใน ที่มีกายสัญเจตนาเป็นปัจจัย ก็เกิดขึ้น. กายนั้นไม่มี. แม้ในวาจาและมนะก็นัยนี้นี่แหละ. อนึ่ง เจตนากาย ชื่อว่ากาย เจตนาวาจา แม้ก็ชื่อว่าวาจา. กรรมโนนั่นแล แม้ก็ชื่อว่ามนะ. อีกนัยหนึ่ง ทวารกายชื่อว่ากาย. แม้ในวาจาและมนะก็นัยนี้เหมือนกัน. พระขีณาสพย่อมไหว้พระเจดีย์ กล่าวธรรม ใส่ใจกัมมัฏฐาน.

ถามว่า กายกรรมเป็นต้นของพระขีณาสพ ไม่มีอย่างไร.
ตอบว่า เพราะกรรมนั้นไม่มีวิบาก.

จริงอยู่ กรรมที่พระขีณาสพทำ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่มีวิบาก ตั้งอยู่ เพียงเป็นกิริยา.
ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า กายกรรมเป็นต้นเหล่านั้นของพระขีณาสพนั้นไม่มี.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เขตฺตํ น วา โหติ เป็นต้นดังนี้.

กรรมนั้น ไม่เป็นเขต เพราะอรรถว่างอกผล. ไม่เป็นวัตถุ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. ไม่เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย. ไม่เป็นอธิกรณ์ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ. ความจริง สุขทุกข์ภายในอันมีเจตนาใดเป็นมูล พึงเกิดขึ้น. สัญเจตนานั้น ไม่เป็นเขต ไม่เป็นวัตถุ ไม่เป็นอายตนะ ไม่เป็นอธิกรณ์ แห่งสุขทุกข์นั้น เพราะไม่มีผลประโยชน์มีการงอกผลเป็นต้นเหล่านั้น.

ในพระสูตรนี้ ตรัสสุขทุกข์เท่านั้นในเวทนาเป็นต้น. ก็สุขทุกข์นั้นแล เป็นวิบากอย่างเดียวแล.

จบอรรถกถาภูมิชสูตรที่ ๕

หมายเหตุ: อธิบายความเกิดขึ้น ของสภาวะ โดยวลัยพร

อ้างคำพูด:

“ส่วนความแผกกันมีดังนี้. ก็เพราะเหตุที่สุขทุกข์นี้มิใช่เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น กรรม เมื่อบุคคลกระทำย่อมทำด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ทำด้วยตนเองบ้าง เพราะบุคคลอื่นบ้าง ทำด้วยมีสัมปชัญญะบ้าง ทำด้วยไม่มีสัมปชัญญะบ้าง ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจัยที่แผกกันแม้อย่างอื่นๆ ของกรรมนั้น จึงตรัสว่า หานนฺท สติ เป็นต้น.”

สุขทุกข์ ที่เกิดขึ้น เพราะ ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร

ผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้น)

สิ่งที่เคยกระทำไว้(กรรมในอดีต)
ส่งมาให้รับผล ในรูปของผัสสะ ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ(ปัจจุบัน ขณะ)

ให้ดูพระสูตร ในเรื่อง กรรมเก่าและกรรมใหม่(ผัสสะ)

เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่(อวิชชา)
ทำให้ไม่รู้ชัดในผัสสะ(สิ่งที่เกิดขึ้น)

เมื่อผัสสะเกิด(สิ่งที่เกิดขึ้น)
ทำให้ เกิดความรู้สึกนึกคิด

เหตุของความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้นว่า
ทำไมสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เหตุของอวิชชาที่มีอยู่(ความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น)

จึงหลงสร้างเหตุนอกตัว ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

โดยการปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม (กรรมใหม่)

สุขทุกข์ ที่เกิดขึ้นในชีวิต แต่ละขณะ จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้

แม้มีสติ สัมปชัญญะ รู้อยู่ ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไป ทางวจีกรรม กายกรรม
กรรมที่เกิดจากความนึกคิดที่เกิดขึ้น(มโนกรรม) ยังมีอยู่

เหตุมี ผลย่อมมี แค่รู้ และยอมรับ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
ผัสสะนั้นๆ(สิ่งที่เกิดขึ้น) ย่อมดับลงไปตามเหตุปัจจัย หากไม่ไปสานต่อ

ถ้าถามว่า ถ้าไม่สานต่อ คือ ไม่สร้างเหตุออกไป สุขทุกข์ ยังมีอยู่ไหม

คำตอบ สุขทุกข์ ยังมีอยู่
ส่วนจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่น ที่มีอยู่
แต่อย่างน้อย การกระทำแบบนี้ คือ ไม่สานต่อ ภพชาติ ของการเกิด ย่อมสั้นลง

ไม่เหมือนกับการปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม
เป็นการสร้างเหตุของการเกิดภพชาติ ให้เกิดขึ้นใหม่

การเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร จึงมีบังเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้
เหตุของ อวิชชา ที่มีอยู่

อ้างคำพูด:
“ในพระสูตรนี้ ตรัสสุขทุกข์เท่านั้นในเวทนาเป็นต้น. ก็สุขทุกข์นั้นแล เป็นวิบากอย่างเดียวแล.”

ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้า ทรงหมายความสำคัญในเรื่องผัสสะ
ที่เป็นเหตุของสุขทุกข์(ความรู้สึก) ที่เกิดขึ้น จากผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

จึงไม่เป็นวิบาก อย่างเดียว
แต่เกี่ยวเนื่องกับเหตุ ที่กระทำขึ้นมาใหม่ด้วย
คือ สุขทุกข์ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ทุกขณะๆ จนกว่าจะตาย

เหตุของ อวิชชาที่มีอยู่ ทำให้ไม่รู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น นั้นๆว่า
ล้วนเกิดจาก เหตุปัจจัยที่มีอยู่(ที่เคยกระทำไว้/กรรมเก่า)

เมื่อไม่รู้ชัดในผัสสะ จึงหลงสร้างเหตุให้เกิดขึ้นใหม่
โดยการก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม
เป็นการก่อให้เกิด ภพชาติใหม่ ให้เกิดขึ้นทันที

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปยาส จึงมีเกิดขึ้นในชีวิต เพราะเหตุนี้

อ้างคำพูด:
“พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์ชื่อว่าพึงพยากรณ์โดยชอบ

ดูกรอานนท์ เรากล่าวว่าสุขและทุกข์
เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น

สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น

สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น

บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง

และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้”

อ้างคำพูด:

” ดูกรอานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ

เมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางวาจาเป็นเหตุ หรือว่า

เมื่อใจมีอยู่สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความจงใจทางใจเป็นเหตุ

ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแหละ

บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น ด้วยตนเองบ้าง

บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น เพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว(สัมปชัญญะ) ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง

บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง

บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง

บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

ดูกรอานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรมเหล่านี้ ฯ

หมายเหตุ:

เราเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร นานเท่าไหร่ ก็ไม่รู้

สิ่งที่เคยกระทำไว้(กรรม) ในแต่ละชาติ ก็ไม่รู้

กรรมที่เคยกระทำไว้ ส่งผลมาให้รับ ในรูปของ ผัสสะ ที่เกิดขึ้น ก็ไม่รู้

เมื่อมีผัสสะ สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เมื่อไม่รู้ว่า ทำไมสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ) ทำไมจึงทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

จึงปล่อยให้ ก้าวล่วงออกไปทางวจีกรรม กายกรรม ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

เป็นการสร้างเหตุใหม่ ให้เกิดขึ้นทันที(กรรมใหม่)

เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ จึงมีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้
เหตุจาก อวิชชาที่มีอยู่

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปยาส จึงมีเกิดขึ้นในชีวิต เพราะเหตุนี้

หากรู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น แม้ว่า มีความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ยังมีอยู่(กิเลส)

หากแค่รู้ แค่ยอมรับ ต่อผัสสะ ที่เกิดขึ้น
ไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม
ภพชาติของการเกิด ย่อมสั้นลง

ความเกิดขึ้นของ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปยาส ย่อมสั้นลง

เรื่องเกิด-ดับ

เมื่อคืน เจ้านายถามเรื่อง เกิด-ดับ ที่วลัยพรได้เขียนไว้

เขาบอกว่า ช่วยอธิบายที

เราบอกว่า เขาต้องรู้ชัดสภาวะ ด้วยตัวเองก่อน เวลาอ่าน ถึงจะเข้าใจ ในสิ่งที่วลัยพรเขียน

เหตุที่ไม่อธิบายให้เขาฟัง สรุป ขี้เกียจอธิบาย หากเขายังไม่รู้ชัดสภาวะด้วยตนเอง อธิบายให้ฟัง จนปากเปียกปากแฉะ ยังไงก็ยังไม่เข้าใจ

เช้านี้ เอาอีก เจ้านายบอกว่า พอจะเข้าใจละที่วลัยพรบอกว่า เกิด-ดับ คือ อะไร แต่ทำไม ที่เขียนไว้ เรื่องสติ สัมปชัญญะ สมาธิ เขียนเหมือนกันหมด ทำไมเขียนซ้ำๆ

เราบอกว่า คนละสภาวะ คนละตัวกัน สมาธิไม่ล้ำหน้า สมาธิล้ำหน้า สติล้ำหน้า สัมปชัญญะที่เกิดขึ้น ก็ต่างไป ทำให้ความรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต ก็ต่างกัน แม้กระทั่ง จิตเกิดการคิดพิจรณา มีมาก มีน้อย ก็ต่างกัน คือ คนละสภาวะกัน

เจ้านายบอกว่า งั้นไว้รอเสาร์-อาทิตย์ก็ได้ ต้องอธิบายให้เขาฟัง

เราก็คิดในใจ งุงิ เอาอีกละเจ้านายฉานนน วิจิกิจฉากำเริบ แต่ไม่เป็นไร คงต้องอธิบายทีละสเตป แยกแต่ละสภาวะ หากยังไม่เข้าใจอีก ก็ต้องปล่อยให้เขารู้ด้วยตัวเองก่อน

คำเรียก

จริงๆแล้ว คำเรียกต่างๆ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ หากเป้นการรู้เฉพาะตัว มุ่งกระทำเบื้องต้น ทำเพื่อดับเหตุของการเกิดก่อน

เพราะอะไรน่ะหรือ ถึงบอกว่า คำเรียกต่างๆ ไม่สำคัญ

เพราะสิ่งเหล่านี้ รู้ไว้ใช่ว่า หากไม่นำไปสอนหรือแนะนำหรือนำไปสนทนากับผู้อื่น ย่อมไม่ส่งผลกลับมาเป็นอุปสรรค ต่อสภาวะการทำความเพียร และ เป็นเหตุของการสร้างเหตุนอกตัว(วิวาทะ ในกรณีที่เห็นต่างกัน)

หากเป็นวิวาทะ เป็นการสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้น ย่อมส่งผลกลับมาในสภาวะการทำความเพียร คือ โดนทั้งขึ้น(เหตุของการเกิดภพชาติใหม่) ทั้งล่อง(การทำความเพียร) ไม่มีดีสักอย่างเดียว

หากแค่รู้ ไม่นำไปสร้างเหตุนอกตัว ผลกระทบกลับมา ย่อมไม่มี

คำเรียกต่างๆนั้น วลัยพรรู้ดีว่า ผลของการทำความเพียรต่อเนื่อง เมื่อถึงเวลา จะต้องรู้ เดี่ยวมีเหตุ ให้รู้ด้วยตนเอง ไม่ต้องไปถามใคร

เพราะผู้ที่ปฏิบัติ ไม่ได้เริ่มทำชาตินี้ ชาติเดียว แต่ทำสะสมกันมาแล้ว หลายชาติ บางคนจึงมีสภาวะสัญญาเก่า ด้านปริยัติเยอะ บางคนไม่ต้องมีใครสอน แค่อ่านหนังสือ ก็ทำตามได้

บางคน ไม่ต้องอ่าน ไม่ต้องฝึก สมาธิเกิดขึ้นเอง ตามสัญญาเก่า ที่เคยทำมา มีอีกมากมายเหลายเหตุปัจจัย ที่ทำให้การทำความเพียร ทั้งเจตนา และไม่ได้เจตนา แต่มีเหตุให้ ต้องทำ

ขอบคุณการแชร์ประสพการณ์

๒๐ กพ.๕๗

ตอนที่เจ้านาย เปิดที่หลวงพ่อเยื้อน เล่าเรื่อง สภาวะของท่านเอง

เจ้านายบอกว่า วลัยพรฟังสิ เหมือนที่วลัยพรเคยเล่าให้ผมฟัง

เราก็นั่งฟัง ฟังซ้ำไปซ้ำมา ใจก็คิดว่า ดีจัง ที่ท่านเล่าสภาวะตามความเป็นจริง

ดีจัง ที่ท่านไม่รู้หนังสือ ถึงจะจบป. ๔ แต่ท่านก็อ่านหนังสือไม่ออก

สภาวะที่ท่านเล่า จึงเป็นสภาวะที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง ไม่มีปริยัติสอดแทรก

ยังมีอีก เจ้านายเปิดคลิปในยูทูปให้ดู เป็นคลิปต่างประเทศ เกี่ยวกับจักรวาล มีอุโมงค์ผ่านกาลเวลา เป็นรูๆ(อธิบายไม่ถูก)

เจ้านาบอกว่า เห็นเหมือนเขาไหม เขาเห็นแบบนี้แหละ

เราบอกว่า นี่เป็นปากทางเข้า(เป็นรู) ก่อนที่จะถูกดูดเข้าไป เป็นลักษณะแบบนี้เลย คือ เมื่อเจอสภาวะกำลังจะขาดใจตาย ใจไม่มีความอาลัย จากตอนแรกที่ดิ้น เพราะ ขาดอากาศหายใจ(เหมือนคนจมน้ำ)

พอหยุดดิ้น ปล่อยไปเลย จะเหมือนมีแรงดูด ดูดแรงมาก ถูกดูดเข้าไปในรูนั้น เหมือนที่หลวงพ่อเยื้อนเล่าทุกอย่าง เจอแบบเดียวกัน

ยังมีอีก ไม่ใช่แค่เรา หรือ หลวงพ่อเยื้อนเจอ ตอนไปปฏิบัติที่ศูนย์ปฏิบัติ ธรรมโมลี มีน้องที่ปฏิบัติอยู่เล่าให้ฟังว่า แฟนของเขา(ปัจจุบันเขาอยู่ด้วยกัน แต่ไม่มีอะไรกัน อยู่แบบต่างฝ่ายต่างเกื้อกูลกัน อันนี้เขาเล่าให้ฟัง)

แฟนเขาเคยเจอความตาย แบบที่เราเล่าให้เขาฟัง เหมือนกันเป๊ะเลย เคยเจอแค่ครั้งเดียว แล้วไม่เคยเกิดขึ้นอีก เวลาทำงาน หรือคิดจะทำอะไร เช่น ทำรถขับเอง แฟนบอกว่า ใช้สมาธิทำ สมาธิจะบอกว่า ต้องทำยังไง ทำตามนั้น

แฟนเขาบอกว่า ก็แกมัวแต่ทำแบบนี้ ไปกำหนดอยู่ได้ จิตกำลังเป็นสมาธิดีอยู่ ดันไปกำหนดให้กลับมารู้กายอีก แล้วจะไปได้ยังไง มันรู้สึกเหมือนจะตาย ปล่อยให้ตายไปเลย อย่าไปกำหนด

เท่าที่ได้ฟังมา มีเรื่องของแฟนน้องคนนี้ เรื่องของหลวงพ่อเยื้อน ที่ท่านนำมาเล่า เรื่องของเรา เรื่องของเจ้านาย สภาวะความตาย ที่ทุกคนพบเจอกัน ตรงกันเป๊ะ เหมือนกันทุกอย่าง

กับพระบางรูป เจอสภาวะความตายเหมือนกัน แต่ผ่านไม่ได้ เพราะ กลัวตาย มีห่วงอยู่ ห่วงงานที่รับผิดชอบอยู่ กลัวไม่มีใครทำ เลยไม่ตาย

ถึงจะมีไม่กี่คน ที่วลัยพรได้ฟังมา เกี่ยวกับสภาวะความตายที่ได้พบเจอกัน เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ตายจริงๆ ไม่มีคำเรียกของปริยัติสอดแทรก นี่แหละของจริง ต่างคนไม่เคยรู้จักกัน ไม่เคยพบหน้าค่าตากัน ไม่เคยอ่าน หรือ ได้ฟังมาก่อน

จึงเป็นข้อยืนยันได้ว่า สภาวะโคตรภูญาณ ตามตำราของพม่า ที่เขียนขึ้นมา เป็นการอนุมานขึ้นมา ตามปริยัติ ไม่ใช่เกิดจาก สภาวะที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง

การก้าวข้ามโคตร หรือชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โคตรภูญาณ เป็นการตายแล้ว เกิดทันที ในชาตินี้ ในชีวิตนี้ ตายจริงๆ แต่ความตายนั้น ไม่มีอยู่จริง

ไม่ใช่ การสิ้นชีวิต หรือ การหมดลมหายใจแบบคนทั่วๆไปที่ตายกัน อันนั้นเป็นการเปลี่ยนเปลือก(ที่อาศัย) เหมือนเปลี่ยนร่างใหม่ ตามเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่(อวิชชา)

โคตรภูญาณ ลวง

สภาวะโคตรภูญาณ ลวง เกิดจาก อุปกิเลส

หากผู้ใดพบเจอสภาวะแบบนี้ด้วยตนเอง แท้จริงแล้ว สภาวะที่เกิดขึ้น เกิดจาก กำลังของสมาธิ

ยังไม่ใช่ความดับ(ความตาย) ที่เกิดขึ้น ในสภาวะโคตรภูญาณ

สภาวะความตาย ต้องพบเจอกับความตายจริงๆ

ไม่ใช่เกิดจาก จิตคิดพิจรณา หรือ อนุมาน น้อมเอา คิดเอาเอง ดังเช่นสภาวะนี้

“แล้วรู้สึกว่าหนักบนหัวของเราเหมือนกับทูนอะไรไว้ตอนนี้มันขึ้นทีหนึ่ง เดี๋ยวขึ้นอีกครั้งหนึ่งอีก ครั้งที่สองยิ่งหนักมากขึ้นไปอีก หนักเหลือเกินจนในหัวของเรานี่กะโหลกศีรษะรู้สึกดังเหมือนกับกร็อบแกร็บๆๆ แทบทนไม่ไหว ขึ้นวูบที่สามอีก แล้วก็ที่จิตมันบอกว่า ตาย อ้อ…คนตายอย่างนี้เอง รู้อย่างนี้…

ที่แสดงมายังบกพร่องอีกนิดหนึ่ง คือก่อนที่จะถึงโคตรภูนี้ ขันธ์ ๕ ของเรามันเริ่มดับแล้ว รูปดับ เวทนาดับ สัญญาดับ สังขารดับ วิญญาณดับ ดับหมด ดับให้เห็น…เมื่อขึ้นวูบๆๆ ให้เรายอมว่าตาย คือไม่กลัวตาย ให้เข้าใจไว้อย่างนี้ ถ้ากลัวตายข้ามไม่ได้ เพราะไปดิบๆ ไม่ได้พระนิพพานต้องตายไปถึงจะไปได้ คือขันธ์ ๕ ดับ เมื่อเรายอมว่าเราตายเท่านั้น ไอ้ที่มันหนักอยู่เหมือนกับทูนก้อนหินใหญ่ๆ ไว้บนหัวนั่นจะเลื่อนลงมาทางต้นคอสองข้าง ลงมาหนักอยู่ที่ก้นข้างบนโปร่งสบายแล้วก็จ้าแจ้งสว่างทั่วไปหมด”

 

นี่เป็นตัวอย่างของผู้ที่ติดอุปกิเลส 

เหตุจาก อวิชชาที่มีอยู่ เป้นเหตุปัจจัยให้ ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น

จึงหลงให้ค่าให้ความหมายต่อผัสสะที่เกิดขึ้น

สภาพตามความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นของผัสสะนี้ เกิดจาก กำลังของสมาธิ(สว่างจ้า/โอภาส)

ที่หยิบยกมาเป็นตัวอย่างนี้ ให้ได้อ่านกัน เป็นสภาวะของผู้ที่ติดอุปกิเลส

 

ผู้ปฏิบัติ ที่พูดเรื่อง สภาวะความตายได้ชัดเจน

ให้หาอ่านหรือฟัง หลวงพ่อเยื้อน

เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น

[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ
ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรม ที่ไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯ

คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร ฯ

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสังกัปปะด้วย
อรรถว่าดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด เป็นมรรค
ย่อมเกิด สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ

คำว่า ย่อมเสพ

ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ดังนี้
ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ

ภิกษุนั้น นึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ เห็นอยู่ชื่อว่าเสพ
พิจารณาอยู่ชื่อว่าเสพ อธิษฐานจิตอยู่ชื่อว่าเสพ น้อมจิตไปด้วยศรัทธาชื่อว่าเสพ
ประคองความเพียรไว้ชื่อว่าเสพ ตั้งสติไว้มั่นชื่อว่าเสพ ตั้งจิตไว้อยู่ชื่อว่าเสพ
ทราบชัดด้วยปัญญาชื่อว่าเสพ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งอยู่ชื่อว่าเสพ
กำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ชื่อว่าเสพ ละธรรมที่ควรละชื่อว่าเสพ
เจริญธรรมที่ควรเจริญชื่อว่าเสพ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ
ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ

คำว่า เจริญ ความว่า เจริญอย่างไร ฯ

ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ … ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่า เจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ

คำว่า ทำให้มาก ความว่า ทำให้มากอย่างไร ฯ

ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก … ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าทำให้มาก ทำให้มากอย่างนี้ ฯ

คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย ย่อมสิ้นไป อย่างไร ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อนุสัย ๒ นี้ คือ
ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วย โสดาปัตติมรรค ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียดๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ
มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตมรรค
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ

[๕๓๖] ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความไม่พยาบาท เป็นสมาธิ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่ง อาโลกสัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณา เห็นความสละคืนหายใจออก
ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ
ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน …
ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ

คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯ

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด … มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ

คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ ฯลฯ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ

ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ ฯลฯ
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ

คำว่า ย่อมเจริญ ความว่า ย่อมเจริญอย่างไร ฯ
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ รู้อยู่ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ

คำว่า ทำให้มาก ความว่า ย่อมทำให้มากอย่างไร ฯ
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก รู้อยู่ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าทำให้มาก ย่อมทำให้มากอย่างนี้ ฯ

คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างไร … ฯ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%C2%D8%A4%B9%D1%B7%B8&book=9&bookZ=33

หมายเหตุ:

“ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ
ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรม ที่ไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯ

สภาวะเหล่านี้ จะเกิดขึ้นในเฉพาะ สัมมาสมาธิ คือ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
เกิดจาก การปรับอินทรีย์ ทำให้ กำลังสมาธิ ที่เกิดขึ้น ไม่ล้ำหน้ามากเกินสติ
เป็นเหตุ สัมปชัญญะ เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

สภาวะที่เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

“คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร ฯ

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสังกัปปะด้วย
อรรถว่าดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด เป็นมรรค
ย่อมเกิด สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ”

เมื่อมีสภาวะใดเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
มีสติรู้อยู่กับสภาวะที่เกิดขึ้น(แค่รู้ ตามความเป็นจริง ของสภาวะที่เกิดขึ้น)

แล้วสภาวะเหล่านี้ จะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

“วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ”

ทำความเพียรต่อเนื่อง
กระทำแบบนี้เนืองๆ เมื่อมีสภาวะใดเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
สภาวะที่เกิดขึ้น ไม่มีคำเรียก ถึงแม้ไม่ใส่คำเรียกลงไป
หรือถึงแม้มีการคิดพิจรณว่า สภาวะที่เกิดขึ้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

คือ ไม่ว่าจะมีการคิดพิจรณา หรือไม่มีการคิดพิจรณา แค่รู้ แค่ดู ตามความเป็นจริง

สภาวะที่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมเกิดขึ้นเอง(ตามความเป็นจริง) ตามเหตุปัจจัย
รวมทั้ง อุเบกขา ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
เป็นเหตุให้ เกิดความรู้ชัดในสภาวะ แต่ละขณะ ที่เกิดขึ้น ที่นิยมเรียกว่า เกิด-ดับ

สภาวะทั้งหมดนี้ ย่อมมีเกิดขึ้น เป็นปกติอยู่แล้ว ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
และมีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม

เมื่อทำความเพียรต่อเนื่อง ถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม
สภาวะที่เรียกว่า สมุจเฉทประหาน(ต้องตาย)
ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โคตรภูญาณ

สภาวะนี้ จะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย
ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้

และหาก ขณะที่เกิดสภาวะนี้ แต่มีกิเลสเกิดแทรก(จิตใต้สำนึก)
สภาวะที่เกิดขึ้น จะดับหายไป และกลับมารู้อยู่ที่กายทันที

“คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างไร … ฯ”

ยกตัวอย่างมาให้เห็น เป็นรูปธรรม

ให้ฟังที่ท่านเล่าเรื่อง ความตาย อย่าสนใจเรื่องคำเรียกต่างๆ

สภาวะหลวงพ่อเยื้อน สภาวะของท่าน สักแต่ว่า ผัสสะที่เกิดขึ้น ก็สักแต่ว่าผัสสะ

เกิดจากกำลังสมาธิที่มีมาก หลังจากผ่านสภาวะความตายมา กำลังสมาธิของท่านไม่เสื่อม

ท่านจึงสอนผู้อื่น ให้รู้ชัดในสภาวะอื่นๆได้ยาก ท่านสอนได้แค่แบบ ที่ท่านได้พบประสบมา

ฟังท่านเล่าเรื่อง สภาวะการปฏิบัติของท่านให้เยอะๆนะ เพราะผู้ที่มีจิตเข้าสู่โลกุตรธรรม(ตามคำเรียก)

ทุกคนต้องเจอสภาวะความตาย และสภาวะหลังผ่านความตายมา ต้องเจอเหมือนกับท่านทุกคน

ที่ไม่เจอกัน เพราะ ไปติดกับอุปกิเลส เหตุจาก สิ่งที่เกิดขึ้นในสมาธิ
เลยทำให้คิดว่า ได้อะไร เป็นอะไร

คนที่ผ่านได้ จะไม่ติดกับดักตรงนั้น แต่เขาจะรู้เหมือนกันหมด คือ
อาการใกล้ตาย ขณะตาย ขณะที่จิตออกจากร่าง มีอาการเป็นอย่างไร และไปที่ไหน จะรู้ตรงนี้เหมือนกันหมด

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ส่วนว่า อายตนะอีก ๒ ประการ กล่าวคือ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติ เหล่านั้น

นั้นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ฌายีภิกษุผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ จะพึงเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัติ

แล้วกล่าวว่าเป็นอะไรได้เอง โดยชอบ ดังนี้.
นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘-๔๔๔/๒๔๐.

 

Previous Older Entries

กุมภาพันธ์ 2014
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728  

คลังเก็บ