ฌาน+วิปัสสนา = วิปัสสนาญาณ

ฌาน+วิปัสสนา = วิปัสสนาญาณ
คำถาม ญาณ 16 สาระที่สำคัญที่แท้จริงอยู่ตรงไหน

คำตอบ โดยตัวสภาวะ สาระสำคัญที่ควรรู้ นับตั้งแต่อุยัพพยญาณ ขึ้นไป

อุทยัพพยญาณ เป็นเรื่องของ อุปกิเลส หรืออาจจะเรียกว่า วิปัสสนูปกิเลสก็ได้
แต่ถ้านำมาอธิบายโดยตัวสภาวะ ก็หมายถึง ความยึดมั่นถือมั่นในสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
เราเองก็เรียกว่า อุปกิเลส ไม่ไปใช้วิปัสสนูปกิเลสให้มันดูสำคัญเกินไป

 

แล้วถ้าจะเลือกนำมาเฉพาะสาระ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ ในการตรวจสอบสภาวะตนเอง
เพื่อจะได้รู้ว่า ควรทำอย่างไรต่อ สาระที่สำคัญจริงๆ จะเริ่มตั้งแต่ อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป

 

ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

1. ส่วนของสมถะ ที่เป็นสัมมาสมาธิ เริ่มต้นที่ภังคญาณ

2. ส่วนของวิปัสสนา ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม
หรือที่เรียกว่าเป็นการเจริญสติปัฏฐาน 4 นับตั้งแต่ ภยญาณ เป็นต้นไป

3. อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ อยู่ในส่วนของสัจจานุโลมิกญาณ
เฉพาะสภาวะนี้ เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของแต่ละคน ใช่ว่าจะมีเกิดขึ้นทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ตั้งจิตปรารถนาไว้ในพุทธภูมิ

 

จริงๆแล้วของเดิม วิปัสสนาญาณ 9 ในปฏิสัมภิทามรรค ที่พระสารีบุตรนำมาแจกจงไว้นั้น
เหมาะสำหรับผู้ที่ใส่ใจรายละเอียดสภาวะต่างๆที่มีเกิดขึ้น
กล่าวคือ ลงมือปฏิบัติพร้อมๆกับได้ศึกษาสภาวะไปด้วย

 

ส่วนญาณ 16  เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นมาใหม่ในภายหลัง โดยนำเรื่องวิปัสสนาญาณ 9 ฯ มาขยายใจความเพิ่ม
ซึ่งพอจะนำสภาวะมาอธิบายได้ว่า ต้นฉบับของผู้ที่เขียนเกี่ยวกับญาณ 16 ผู้นั้นต้องเคยได้วิโมกข์ 8 มาก่อน
แล้วพบเจอสภาวะจิตเสื่อม สมาธิเสื่อมมาก่อน จึงนำเรื่องรูปนาม มาใส่เพิ่มลงไป
แล้วนำเรื่อง อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ มาขยายใจความเรื่องสัจจานุโลมิกญาณ

 

และมีอีกกรณีหนึ่ง เกิดจากบุคคลนั้น ต้องเคยพบเจอสภาวะจิตดวงสุดท้ายถึง 2 ครั้ง
และต้องไม่ใช่ผู้ที่ได้วิโมกข์ 8 แต่อาจได้รูปฌานเพียงอย่างเดียว(ฌาน1 ถึงฌาน 4)

 

ฉะนั้น ญาณ 1 ถึง ญาณ 3 จึงไม่ควรนำมาเป็นสาระแต่อย่างใด เพราะเมื่อผ่านไปได้ ก็จะรู้ชัดสภาวะด้วยตนเองโดยอัตโนมัติ

แต่อย่างไรก็ตาม ต้องถือว่า ผู้ที่แต่งหรือนำเรื่องญาณ 16 มาอธิบายหรือมาเขียนเป็นคนแรก ถือว่ามีพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
เพราะทำให้ผู้ที่ปฏิบัติอยู่ เวลามีสภาวะใดเกิดขึ้น ก็จะรู้ว่า ควรทำอย่างไรต่อไป

สัมมาสมาธิ-วิปัสสนาญาณ

๒๕ กค.

สภาพธรรม ที่เกิดขึ้น มีชื่อเรียกว่า สัมมาสมาธิ ซึ่งยังคงมีร่องรอย ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกและพุทธวจนะ

การอธิบาย รายละเอียดต่างๆ ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ และมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ตั้งแต่ รูปฌาน จนถึง อรูปฌาน(สัมมาสมาธิ)

เกี่ยวกับการอธิบายรายละเอียดต่างๆที่มีเกิดขึ้น คุณงามความดีตรงนี้ ยกให้ ตำราจากพม่า ที่เกิดจาก การถ่ายทอดกันมา ในแต่ละรุ่น

หากไม่มีตำราเล่มนี้ ตอนนี้ที่มีอยู่ หนังสือวิปัสสนาทีปณีฎีกา และคัมภีร์วิสุทธิมัค จะให้สอบอารมณ์ใคร เพื่อดูว่า มีสัมมาสมาธิ เกิดขึ้นหรือยัง คงดูให้ใครไม่ได้

และไม่สามารถนำมาอธิบายรายละเอียด ของลักษณะอาการที่เกิดขึ้นนั้น มันเป็นการรู้เฉพาะตน

ตำราพม่า เขาใช้เรียกว่า การทำวิปัสสนา(การกำหนดรู้) และวิปัสสนาญาณ(สัมมาสมาธิ)

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ