เดินจงกรมระยะที่ ๑ สเต็ปที่ ๑

การเขียนเรื่องการเดินจงกรมแรกเริ่ม
ส่วนการปรับอินทรีย์ จะนำมาพูดถึงที่หลัง

สเตปที่ ๑

เดินจงกรมระยะที่ 1
ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ

ในคลิป
การที่กำหนดยืนหนอใช้ปากเปล่า
กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
เป็นการให้ตั้งสติรู้กับการยืน ก่อนจะเริ่มเดินจงกรม

การกำหนดแรกเริ่มจะทำแบบนี้
เพื่อให้จิตจดจำคำบริกรรม
ทำตามคลิปได้เลย

เมื่อเดินถึงสุดทาง
กำหนดยืนหนอปากเปล่า ๕ ครั้ง
แล้วเริ่มกลับเท้า
เมื่อกลับเท้าเสร็จ
กำหนดยืนหนอ(ปากเปล่า) ๕ ครั้ง
แล้วเริ่มเดินจงกรม
ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ

ทำแบบนี้เดิมๆซ้ำๆ
ทำจนจำคำบริกรรมได้

เมื่อเดินครบเวลาที่ตั้งไว้
กำหนดยืนหนอ(ปากเปล่า) ๕ ครั้ง แล้วนั่งลง
ขณะนั่งจะใช้วิธีการแบบไหน ใช้ได้หมด ไม่มีข้อห้าม

การตั้งเวลา
การเดินจงกรมและนั่ง ใช้เวลาเท่ากัน
จะเริ่มจากน้อยก่อน
ทำแบบนี้ให้ครบ ๑ อาทิตย์

มาตราฐานที่ใช้
กำหนดยืนหนอ+เดินจงกรม ใช้เวลา ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
เมื่ออินทรีย์มั่นคง คือสามารถทำต่อเนื่องได้ ไม่ล้มเลิกทำ
จะเพิ่มเวลาขึ้นไปอีก

หากใครสามารถทำได้
ผลของการปฏิบัติตาม ซึ่งมีคนที่สามารถทำได้แล้วในระดับหนึ่ง
สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

ฌานสูตรที่ ๒
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น
บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร
เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป
เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น
บุคคลนั้นย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก
เป็นของเบียดเบียนเป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน
บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

จะเขียนวิธีการกำหนดตั้งแต่แรกเริ่ม
เพื่อให้จิตจดจำคำบริกรรมให้ได้ก่อน
ซึ่งมีทั้งหมด ๖ ระยะ
นั่นผู้ปฏิบัติต้องฝึกเดินจงกรมตั้งแต่ระยะที่ ๑ จนถึงระยะที่ ๖ ด้วยตน
ซึ่งมีผลที่ได้รับ จะมีต่ออินทรีย์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
โดยเฉพาะสติ สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา ที่มีเกิดขึ้น

ขอเรียกวิธีนี้ว่าเป็นสเตปที่ ๑
เมื่อทำจนจำคำบริกรรมทั้งหมด ๖ ระยะได้
จะปรับอินทรีย์ใหม่อีกครั้ง
จะเรียกว่าเป็นการมีความรู้เห็นเป็นสเตปที่ ๒


สาเหตุเขียนเรื่องประโยชน์ของการเดินจงกรม
เช้านี้ เจ้านายเล่าเรื่องผลของการเดินจงกรม
เขาบอกว่าสภาวะตอนนี้จะรู้เท้า การเคลื่อนไหว จะรู้ขึ้นภายในใจ ตึกๆ
จะทำอะไร ตอนที่ทำงาน จะรู้ชัดเท้าทุกย่างก้าว ตึกๆขึ้นในใจ

เราบอกเขาว่า เมื่อมีสติ สัมปชัญญะ สมาธิมีเกิดขึ้นแล้ว
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมจะมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ
เราบอกว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องประโยชน์ของการเดินจงกรม
เขาบอกว่า ส่งไลน์มาให้เขาด้วย

๙. จังกมสูตร
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน
คือ ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑
ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑
อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑
สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล ฯ

ส่วนสติ สัมปชัญญะ สมาธิ
มีเกิดขึ้นขณะเดินจงกรม
ขึ้นอยู่กับรูปแบบของผู้ที่รู้เห็นด้วยตนจากการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติ
จึงนำมาแนะนำหรือสอนต่อคนอื่น

เราได้รูปแบบการปฏิบัติจากหลวงพ่อจรัญ
เริ่มจากการกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง ใช้ใจ ไม่ใช้ปากเปล่า
ต่อด้วยเดินจงกรม มีทั้งหมด ๖ ระยะ จากวัดมหาธาตุ แต่ยังไม่สมบูรณ์
แต่ปฏิบัติได้ผล ซึ่งสามารถยืนยันด้วยจากผลของการปฏิบัติด้วยตน
“การเห็น( ทางใจ ) สัตติขาด ฆนะแตก ตามจริง”

ที่กำหนดได้สมบูรณ์ ดูในยูทูปของช่องjrp_memo
“วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่”
มาตัดทอนแยกเป็นหัวข้อ เพื่อให้ผู้สนใจดูง่ายขึ้น

เมื่อปฏิบัติจนรู้ชัดด้วยตน “การเห็นสัตติขาด ฆนะแตก ตามจริง”
จึงสามารถนำไปแนะนำหรือสอนคนอื่น ให้ปฏิบัติตามได้
ส่วนจะรู้เห็นเหมือนที่เรารู้เห็น ขึ้นอยู่กับความเพียรของผู้ปฏิบัติ
หากทำตามวิธีการกำหนดที่เราบอกไว้
อย่างน้อย ผู้ปฏิบัติจะรู้ชัดด้วยตนเอง
ในคำเรียกเหล่านี้ สติ สัมปชัญญะ สมาธิ
ที่มีเกิดขึ้นขณะกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
เดินจงกรม ระยะที่ ๑ ถึงระยะที่ ๖
เริ่มจากใช้คำบริกรรม

เมื่อทำจนวิธีการกำหนดและจำคำบริกรรมได้ไม่ลืม
ให้ทิ้งคำบริกรรม มากำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง ใช้ใจรู้
ที่มีเกิดขึ้นขณะกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
เดินจงกรมระยะที่ ๑ ถึง ระยะที่ ๖
เมื่อเดินจงกรมเสร็จตามเวลาที่ตั้งไว้
กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง แล้วนั่ง

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้เขียนอธิบายไว้หมดแล้ว
วิธีการกำหนด ต้องกำหนดแบบไหน
เมื่อปฏิบัติตาม ทำให้สติมีเกิดขึ้น ดูตรงไหน
สัมปชัญญะมีเกิดขึ้น ดูจากตรงไหน
สมาธิมีเกิดขึ้น ดูจากตรงไหน

สิ่งที่กระทำผ่านมา
กำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
ต่อเดินจงกรม
การกลับเท้าก็ต้องกำหนด
สมาธิจะเกิดต่อเนื่อง
เมื่อกำหนดยืนหนอครบ ๕ ครั้ง
พอมานั่ง จิตจะเป็นสมาธิง่าย

บันทึก

พูดถึงชีวิตในอดีตตั้งแต่เด็กจนโต ลำบากนะ
พอมาทำงาน ไม่ได้ชอบ แต่ทำตามใจพ่อ
พ่อมองอาชีพนี้(ที่สอบเข้าได้) สามารถได้รับการรักษาไม่ต้องเสียเงิน
สมัยนั้นยังไม่มี ๓๐ บาท
คนที่จน มีเงินน้อย การนอนรพ.จะเป็นคนไข้อนาถา จ่ายค่าธรรม ๒๐ บาท

สมัยนี้จากคนไข้อนาถามาเป็นระดับเดียวกัน จะบัตรทองหรือ ๓๐ บาท
ได้รับการรักษาเหมือนๆกัน ไม่ต้องเสียเงิน
แต่ตอนนี้อาจเพราะเราไม่ได้ติดตามข่าวเรื่องการรักษา
เราไม่เข้าใจทำไมกลุ่มหนึ่ง ฟรี อีกกลุ่มต้องเสียเงิน
คนอยู่กทม.จะเรียกว่าบัตรทอง ไม่ต้องเสียเงิน จะกี่ครั้งไม่ต้องเสียเงิน
คนอยู่ตจว. จะเรียกว่าบัตร ๓๐ บาท ต้องเสียเงิน ๓๐ บาท ต่อการรักษา

การทำกรรมฐาน
แรกๆลำบาก ลำบากใจ กายไม่ลำบาก ไม่ต้องทำงานเหมือนงานประจำ
ลำบากใจคือต้องอดกลั้นอดทนต่อทุกขเวทนาทางกายและใจที่มีเกิดขึ้น
หากผ่านได้ ทุกอย่างจะสบาย กายสบาย ใจสบาย
การปฏิบัติสะดวกสบาย อยู่ที่ไหนก็สบาย คือใจ
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิสำคัญตรงนี้แหละ กำลังสมาธิยิ่งมาก ก็ยิ่งดี
จะนั่งกี่ชม.ก็ทำได้ ทำให้รู้สึกเหมือนเวลาหายไป
กลางวันและกลางคืน คืนเวลาเหมือนจะผ่านไปเร็วมาก

เมื่อจิตเป็นสมาธิมาก นั่งได้หลายชม.
ก็ต้องมาปรับอินทรีย์เพิ่ม เพราะไม่รู้กาย
เมื่อไม่รู้กาย ย่อมไม่สามารถรู้ชัดความเกิดดับขณะจิตเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน 1 2 3 4 อรูปฌาน 5 6 7 8 นิโรธ
เมื่อไม่รู้เห็น ย่อมไม่รู้ว่าสภาวะของตนตอนนี้อยู่ตรงไหน

วิธีการปรับอินทรีย์
เพิ่มเดินจงกรม เพิ่มไปเรื่อยๆ
จนกระทั่งจากจิตเป็นสมาธิ มีโอภาสแสงสว่างเจิดจ้ากับใจที่รู้อยู่
มาเป็นมีแสงเจิดจ้า(โอภาส) กับกายที่นั่งอยู่
จากอรูปฌาน มาเป็นรูปฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ

แล้วตัวสภาวะจะดำเนินของตัวสภาวะเอง ไม่ต้องไปทำอะไรอีก
คงเวลาการเดินจงกรมเท่าเดิม ต่อนั่ง
การนั่งจะกี่ชม.ไม่เป็นไร จะดับไปกี่ชม.ไม่เป็นไร
เพราะได้ปรับอินทรีย์แล้ว
สภาวะที่มีเกิดขึ้นกำหนดตามจริง ไม่ต้องไปทำอะไรอีก
เมื่ออินทรีย์ ๕ แก่กล้า
ตัวสภาวะจะดำเนินไปโดยของตัวเอง

ส่วนผู้ปฏิบัติเดิน ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
อินทรีย์ของแต่ละคนแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับความขยัน ขี้เกียจ เรียกว่า วิริยะ
บางคนนั่ง แป๊บเดียว ไม่ต้องถึงชม.หรอก
เมื่อเจอเวทนากล้า จะเป็นจะตายให้ได้ เลิกทำ
แทนที่จะค่อยๆทำ ทำที่ละน้อย ทำทุกวัน จะถูกสะสมไว้
จาก ๑๐ นาที มาเป็น ๑๕ นาที ๒๐ นาที เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมาเป็น ๑ ชม.
จะสมถะหรือวิปัสสนา ก็ต้องรู้ใจตัวเองก่อน
คนที่ฟุ้งซ่าน ความคิดเยอะ ต้องใช้สมถะมาช่วย
คือใช้คำบริกรรม จะพุทโธ พองหนอ ยุบหนอ หรือคำบริกรรมถี่ๆ ใช้ได้หมด
เพื่อทำให้จิตจดจ่ออยู่กับคำบริกรรม
หากมีความคิดมาก บริกรรมถี่ๆไปเลย ไม่ต้องไปสนใจเรื่องลมหายใจ
อันนี้ที่เราสามารถอธิบายได้ เพราะทำมาก่อน เจอกับตัวเองมาก่อน
สมัยนั้น อจ.ที่สอนให้บริกรรมพองหนอยุบหนอ แรกๆบริกรรมธรรมดา
แล้วมาเร่งความเร็วจะเหลือเพียงหนออย่างเดียว หนอๆๆๆๆๆๆๆ
บริกรรมจนหายใจไม่ทันเลย พอใจขาด คำบริกรรมจะหายไปเอง
ปีติจะมีเกิดขึ้น ปีติของเราตอนนั้นไม่รู้ปริยัติ
ไม่รู้ว่าอาการที่มีเกิดขึ้นนั้นเป็นอาการของปีติ
จะมีร้องไห้เหมือนจะเป็นจะตาย อ้วกแตกอ้วกแตน เลอะพื้น
คนที่ดูแลจะตั้งกระโถนไว้ข้างหน้า
อจ.บอกว่าอดีตเคยทำให้คนอื่นเสียใจ
จึงทำให้เราจึงเป็นแบบนี้ ให้ทำสังฆทาน แผ่เมตตา กรวดน้ำ
เราก็ทำตามที่อจ.บอก สังฆทานก็ซื้อที่สำนักน่ะแหละ
นี่ต้องโง่มาก่อนนะ เสียเงินก่อน
ก่อนที่จะรู้ว่าสภาวะที่มีเกิดขึ้นมีชื่อเรียกว่าปีติ
ไม่ใช่เจ้ากรรมนายเวรอะไรหรอก

สภาวะของเจ้านาย เดิน ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
สำหรับเขาน่ะจิ๊บๆ
เขาบอกว่าต้องนั่ง ๒ ชม. จึงจะรู้ชัดเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น
เมื่อกำลังสมาธิมากขึ้น เวทนาน้อยลง เราจึงบอกว่าเพิ่มการนั่ง
ตอนนี้เขานั่ง ๓ ชม. อันนี้เขาทำเฉพาะวันหยุด
วันหยุดเดิมเขาทำ ๓ รอบ เช้า บ่าย กลางคืน
ตอนนี้บางวันหยุด จะเหลือ ๒ รอบ เช้า กับเย็น
วันธรรมดา ทำไม่ได้หรอก

ทุกวันไม่มีวันหยุด เขาตื่นตี4.45 น. ทุกวัน
ตอนเช้าทำกรรมฐาน เดินครึ่งชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
วันทำงาน
กลางคืน ไม่แน่ไม่นอน ขึ้นอยู่กับงานที่เขาต้องทำอยู่
วันไหนไม่มีงานค้าง เขาเดิน ๑ ชม. ต่อนั่ง ๒ ชม. ไม่เกินเที่ยงคืน
บางวันเดิน ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
บางวันเดินครึ่งชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
บางวันเดินครึ่งชม. ต่อนั่ง ครึ่งชม.
คือทำทุกวัน อาจจะลดบ้างขึ้นอยู่กับงาน
ส่วนหลักๆคือทำทุกวัน ไม่ลดเวลาลง ตอนเช้า เดินครึ่งชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.

วันเวลาผ่านไปเร็วมาก
เวลาเจ้านายไปทำงาน เรามักจำไม่ได้ว่าวันนี้วันอะไร
จะรู้ได้จากการดูชุดทำงานของเขา
หากไม่ได้ดูปฏิทิน จะไม่รู้วันนี้วันพระหรือไม่ใช่วันอะไรบ้าง
จะรู้แค่คำเลข ความสำคัญของวันต่างๆไม่รู้เรื่อง
อาจเพราะเรารู้อยู่ภายในมากกว่าไปรู้ข้างนอก
ทำให้รู้สึกว่าวันเวลาผ่านไปเร็วมาก

นิพพาน

นิพพาน

มาพูดเรื่องการดับภพชาติของการเกิด
หากยึดติดคำเรียก ทำให้มานะมีเกิดขึ้น ตนนั้นประเสริฐ
ตนเป็นนี้ๆใครอย่าว่าตน
ถามจริง หากไม่เคยว่าคนอื่นมาก่อน ใครที่ไหนจะว่าล่ะ
เคยสร้างกรรมมาร่วมกันมาก่อน เรื่องราววุ่นวายจึงมีเกิดขึ้น

ผู้ที่ได้สดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
จะได้เปรียบกว่าคนที่ไม่เคยฟังมาก่อน
ผลของการสดับและปฏิบัติตาม

ข้อแรก ละโมหะ

ข้อสอง ละสีลสัพพตปรามาส

ข้อสาม ทำให้เป็นผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ

ข้อสี่ ไตรลักษณ์ หากยังไม่ได้มรรคผลตามจริง
อย่างน้อยละอาสวะลงไปไม่มากก็น้อย

ข้อห้า การเข้าถึงมรรคผลตามจริง
สำหรับฆราวาส ทำได้ขนาดนี้น่าจะพอใจแล้ว
ที่พอใจคือเวลาตาย ไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก
ไปเกิดสุทธวาส แล้วปรินิพพานบนโน้น

ข้อหก สำหรับนักบวช ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
มีโอกาสปฏิบัติจนแจ่มแจ้งแทงตลอดคำว่า นิพพาน
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
คือดับตัณหา ๓
วิชชา ๑
วิชชา ๒
วิชชา ๓
ทำให้ดับฉันทราคะอุปาทานขันธ์ ๕ หมดสิ้น ไม่กำเริบอีก

ฆราวาสยังทำได้
นักบวชมีโอกาสมากกว่า ทำไมจะทำไม่ได้
ที่ทำได้ยาก ติดอุปกิเลส ติดอามิสทาน ติดโลกธรรม ๘
ติดใจเรื่องพระธาตุ กำหนัดเรื่องพระธาตุ ยังละความกำหนัดไม่ได้
คำว่าความกำหนัด
ได้แก่ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕

ที่มีเกิดขึ้นจากไม่เคยสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบรุษ สัปรุษ ปุริสบุคคล
การเข้าถึงโสดาปัตติผล อนาคามิผล อรหัตผลตามจริงน่ะ
มีลักษณะอาการมีเกิดขึ้นแบบไหน
ไปสนใจเรื่องจิตดวงสุดท้ายเพียงอย่างเดียว
จึงทำตัวเหมือนปถุชนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเเรียกไว้
แล้วยกตัวเอง ชอบพูดในสิ่งที่ไม่มีเกิดขึ้นในตน
ที่เกิดจากการคาดหวัง ความสำคัญผิดในสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน

การเห็นความเกิดดับมีความสำคัญมาก
ขณะดำเนินชีวิต
ขณะทำกรรมมฐาน
ขณะเดินจงกรม
ขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
ขณะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้นตามจริง

ถ้าทุกคนรู้ จะพยายามตั้งใจทำเพียรไม่ท้อถอย จะทำวันละหลายรอบ
หากทำรอบเดียว ก็ได้แค่นั้น ตามที่ตนกระทำไว้ ไปวัดดวงตอนตาย
การละสักกายทิฏฐิที่มีเกิดขึ้นตามจริง ขณะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง
มโนกรรม กายกรรม วจีกรรม ที่เคยกระทำไว้ จะไม่ปรากฏ
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ
สติปัฏฐาน ๔ มีเกิดขึ้นตามจริง
ไตรลักษณ์มีเกิดขึ้นตามจริง ปรากฏในรูปแบบของเวทนากล้า
หากยังไม่เคยเข้าถึงโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลมาก่อน
ขณะมีเกิดขึ้นตรงขณะขาดใจ(ตาย) แล้วดับ
จะไปเกิดสุทธวาส

ตรงนี้
“มโนกรรม กายกรรม วจีกรรม ที่เคยกระทำไว้ จะไม่ปรากฏ”
หมายเฉพาะบุคคลเหล่านี้เท่านั้น
ที่ได้สดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ และปฏิบัติตาม


“ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ”
ละอภิชฌานและโทมนัส
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
มีเกิดขึ้นขณะทำกาละ

มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ในนิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่าวัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์
เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่
ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่าดูกรวัปปะ
บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ
เขาฆ่าตัวนี้ กลับไปฆ่าตัวอื่น เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
ไปตามบุคคลในสัมปรายภพ หรือไม่
วัปปศากยราชตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น
บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด
อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพอันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะสนทนากับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ค้างอยู่เพียงนี้เท่านั้น
ครั้งนั้นแล เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น
เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้
ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูกรโมคคัลลานะ
บัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร
และเธอทั้งหลายพูดอะไรค้างกันไว้ในระหว่าง
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ได้กล่าวกะวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า ดูกรวัปปะ
บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ
เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
ไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่
เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว
วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด
อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ
อันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์สนทนากับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ค้างอยู่เพียงนี้แล
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า ดูกรวัปปะ
ถ้าท่านจะพึงยินยอมข้อที่ควรยินยอม และคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อเรา
และท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเราข้อใด
ท่านพึงซักถามในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร
ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ดังนี้ไซร้
เราพึงสนทนากันในเรื่องนี้ได้

วัปปศากยราชกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์จักยินยอมข้อที่ควรยินยอมและจักคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อพระผู้มีพระภาค
อนึ่ง ข้าพระองค์ไม่รู้ความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคข้อใด
ข้าพระองค์จักซักถามพระผู้มีพระภาคในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร
ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ขอเราจงสนทนากันในเรื่องนี้เถิด พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุ
ให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุ
ให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุ
ให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ …
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุ
ให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ
เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ฟังเสียงด้วยหู…
สูดกลิ่นด้วยจมูก…
ลิ้มรสด้วยลิ้น…
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา
เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด
ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด
ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ
เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ฟังเสียงด้วยหู…
สูดกลิ่นด้วยจมูก…
ลิ้มรสด้วยลิ้น…
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุรุษต้องการกำไร เลี้ยงลูกม้าไว้ขาย (ถ้าลูกม้าตายหมด)
เขาพึงขาดทุน ซ้ำยังต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากใจยิ่งขึ้นไป แม้ฉันใด
ข้าพระองค์หวังกำไรเข้าคบหานิครณถ์ผู้โง่ ต้องขาดทุน
ทั้งต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากใจยิ่งขึ้นไป ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ข้าพระองค์นี้จักโปรยความเลื่อมใสในพวกนิครณถ์
ผู้โง่เขลาเสียในที่ลมพัดจัด หรือลอยเสียในแม่น้ำ อันมีกระแสเชี่ยว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่าคนผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

พระโสดาบัน

คำว่าโสดาบันและลักษณะสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ

การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
พระโสดาบัน
ปิดอบาย

๑.
สัปปัญญวรรคที่ ๖
สคาถกสูตร

๒.
โสตาปัตติยังคสูตร

๓.
๗. ธรรมสูตร

๔.
ธรรมิกสูตรที่ ๑๔

๕.
เวรสูตรที่ ๒

๖.
เวฬุทวารสูตร
ว่าด้วยธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตน

๗.
ธนสูตรที่ ๒

๘.
นฬกปานสูตรที่ ๑

๙.
กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน

๑๐.
อานันทสูตร
ละธรรม ๔ ประกอบธรรม ๔ เป็นพระโสดาบัน

๑๑.
ธรรมทินนสูตร
ธรรมทินนอุบาสกพยากรณ์โสดาปัตติผล

๑๒.
๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

๑๓.
๕. พันธนสูตร
ว่าด้วยเครื่องจองจำคือขันธ์ ๕

๑๔.
มหาวรรคที่ ๕


มีคำถาม ข้าพเจ้าเคยได้ยินมาว่า พระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบันก็สามารถปิดอบายภูมิ
และจะได้ตรัสรู้ในการข้างหน้า ไม่ตกต่ำอีกเลย
จึงขอเรียนถามว่า มีเหตุมีปัจจัยอย่างไร จึงให้ผลนั้น
อกุศลจิตที่เคยสั่งสมมาไม่ให้ผลหรือ

คำตอบ
การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ทำให้ปิดอบายภูมิ และตรัสรู้ในเบื้องหน้า

“อกุศลจิตที่เคยสั่งสมมาไม่ให้ผลหรือ”

ให้อ่านพระสูตรนี้ตั้งแต่แรกเริ่ม
๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

“ดูกรมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง
ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้
มิใช่หรือว่า แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่

ก็สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนสักกายทิฏฐิอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น
แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลายดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่

ก็ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนวิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลายดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่
สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนสีลัพพตปรามาสอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนยังนอนหงายอยู่
ก็กามฉันทะในกามทั้งหลาย
จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนกามราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้น
ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น

แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้
ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่

ก็ความพยาบาท ในสัตว์ทั้งหลาย
จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน
ส่วนพยาบาทอันเป็นอนุสัยเท่านั้น
ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น”


สัปปัญญวรรคที่ ๖
สคาถกสูตร
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน
[๑๖๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว …
ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
[๑๖๒๒] ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระตถาคต
มีศีลอันงาม ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว
มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาไม่เปล่าประโยชน์
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า
พึงประกอบตามซึ่งศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และความเห็นธรรม ดังนี้.


โสตาปัตติยังคสูตร
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
[๑๖๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน?
คือ การคบสัตบุรุษ ๑
การฟังธรรม ๑
การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้แล.


๗. ธรรมสูตร
[๒๖๕] เมื่อภิกษุกล่าวว่า ผู้นี้ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม
เพื่อพยากรณ์ด้วยธรรมอันสมควรใด
ธรรมอันสมควรนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม ดังนี้
ชื่อว่าย่อมกล่าวธรรมอย่างเดียว ย่อมไม่กล่าวอธรรม

อนึ่ง เมื่อภิกษุตรึก ย่อมตรึกถึงวิตกที่เป็นธรรมอย่างเดียว
ย่อมไม่ตรึกถึงวิตกที่ไม่เป็นธรรม

ภิกษุเว้นการกล่าวอธรรมและการตรึกถึงอธรรมทั้ง ๒ นั้น
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฯ

ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม ค้นคว้าธรรมอยู่
ระลึกถึงธรรมอยู่เนืองๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม

ภิกษุเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี
ให้จิตของตนสงบอยู่ ณ ภายใน ย่อมถึงความสงบอันแท้จริง ฯ


ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี

บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี
ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว
จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลส
และเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญา ความคิด ผู้เห็นประโยชน์
พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย
ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย
พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก
ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท
เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ
ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำและการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้
คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่ สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ
ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ทั้งผู้ที่มั่นคง ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่าและไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่ พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด

คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง

สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว
อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว

บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้
แลว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว

แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท

ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ


เวรสูตรที่ ๒
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการ
และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว
มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ

ก็อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักฆ่าสัตว์
ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ
และย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย

อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ
และไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
ย่อมสงบระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ฯลฯ
ผู้มักประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
ผู้มักพูดเท็จ ฯลฯ

ผู้มักดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ
และย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
เพราะดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท

อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ
และย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ
อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
ย่อมสงบระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้
อริยสาวกย่อมสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ฯ

อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ
อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑

ประกอบด้วยความเลื่อมใส
ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ
เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ๑

เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ
ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย
อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ถูกต้อง
เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้
และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว
มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว
มีอบาย ทุคติ และวินิบาสิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ


เวฬุทวารสูตร
ว่าด้วยธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตน
[๑๔๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่อเวฬุทวาระ

[๑๔๕๕] พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวาระ
ได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมผู้เป็นโอรสของเจ้าศากยะ
เสด็จออกผนวชจากศากยสกุลเสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงเวฬุทวารคามแล้ว
ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไปอย่างนี้ว่า
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
พระสมณโคดมพระองค์นั้น ทรงกระทำโลกนี้
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
ก็การได้เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้นเป็นความดี.

[๑๔๕๖] ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคาม
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
บางพวกประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค
บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
[๑๔๕๗] ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีความปรารถนา มีความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ๆ ว่า
ขอเราทั้งหลายพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน
พึงลูบไล้จันทน์ที่เขานำมาแต่แคว้นกาสี
พึงทัดทรงมาลา ของหอม และเครื่องลูบไล้
พึงยินดีทองและเงิน
เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน …
เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ด้วยประการใด
ขอท่านพระโคดม โปรดทรงแสดงธรรม ด้วยประการนั้น
แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้มีความปรารถนา
ผู้มีความพอใจ ผู้มีความประสงค์อย่างนั้นๆ เถิด.

[๑๔๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
เราจักแสดงธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตนแก่ท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
พราหมณ์และคฤบดีชาวเวฬุทวารคามทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

[๑๔๕๙] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ธรรมปริยายที่ควรน้อมเข้ามาในตนเป็นไฉน?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์
ผู้ใดจะปลงเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงปลงคนอื่นผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่องดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นปาณาติบาตด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๐] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงถือเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วยอาการขโมย
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบของเรา
อนึ่ง เราพึงถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากอทินนาทานด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากอทินนาทานด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากอทินนาทานด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๑] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของเรา
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของคนอื่น
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๒] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงทำลายประโยชน์ของเราด้วยการกล่าวเท็จ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงทำลายประโยชน์ของคนอื่นด้วยการกล่าวเท็จ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากมุสาวาทด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากมุสาวาทด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากมุสาวาทด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๓] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงยุยงให้เราแตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงยุยงคนอื่นให้แตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้เว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๔] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยคำหยาบ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยคำหยาบ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๕] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ
ด้วยกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๖] อริยสาวกนั้นประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว … เป็นไปเพื่อสมาธิ.

[๑๔๖๗] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
เมื่อใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่
ด้วยฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความหวัง ๔ ประการนี้
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๔๖๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคาม ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯ
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้
ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดม โปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯลฯ


ธนสูตรที่ ๒
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้
๗ ประการเป็นไฉน
คือ ทรัพย์
คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศรัทธาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ
เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศรัทธา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศีลเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ
จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือหิริเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือหิริ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือโอตตัปปะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก
ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือจาคะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน
มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในทานและการจำแนกทาน
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือจาคะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับ
เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
นี้เรียกว่า ทรัพย์คือปัญญา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ฯ
ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ และปัญญาเป็นที่ ๗
ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม
บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์
เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม ฯ


นฬกปานสูตรที่ ๑
[๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงนิคมของชาวโกศล ชื่อว่านฬกปานะ
ทราบมาว่าพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปลาสวัน ใกล้นฬกปานนิคมนั้น
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคผู้อันหมู่ภิกษุแวดล้อมประทับนั่งแล้วในวันอุโบสถ
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ห้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา สิ้นส่วนแห่งราตรีเป็นอันมาก
ทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ผู้นิ่งเงียบอยู่
แล้วตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร
ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้ว
ธรรมีกถาเพื่อภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งกะเธอ
เราเมื่อยหลัง จักเอนหลัง
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิสี่ชั้น
ทรงสำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัสเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า
ทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงกระทำอุฏฐานสัญญาไว้ในพระทัย

ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่าดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ
ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป
ผู้นั้นพึงหวังได้ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่หวังได้ความเจริญเลย ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวัน
ของพระจันทร์ในกาลปักษ์ย่อมผ่านพ้นไป
พระจันทร์ย่อมเสื่อมจากวรรณะ
ย่อมเสื่อมจากมณฑล ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง
ย่อมเสื่อมจากด้านยาวและด้านกว้าง ฉันใด
ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ
ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้น ย่อมผ่านพ้นไป
ผู้นั้นพึงหวังได้ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่หวังได้ความเจริญเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
คำว่าบุคคลผู้ไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ไม่มีหิรินี้เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้เกียจคร้านนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีปัญญาทรามนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มักโกรธนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ผูกโกรธนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีความปรารถนาลามกนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าผู้มีมิตรชั่วนี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฐินี้ เป็นความเสื่อม ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป
ผู้นั้นพึงหวังได้ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่หวังได้ความเสื่อมเลย
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวัน
ของพระจันทร์ในปักษ์ข้างขึ้นย่อมผ่านพ้นไป
พระจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยวรรณะ
ย่อมเจริญด้วยมณฑล
ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง
ย่อมเจริญด้วยด้านยาวและด้านกว้าง ฉันใด
ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรม
ทั้งหลายมีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป
ผู้นั้นพึงหวังได้ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่หวังได้ความเสื่อมเลยฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
คำว่าบุคคลผู้มีศรัทธานี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีหิรินี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีโอตตัปปะนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ปรารภความเพียรนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีปัญญานี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ไม่โกรธนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ไม่ผูกโกรธนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้ปรารถนาน้อยนี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฐินี้ ไม่ใช่ความเสื่อม ฯ

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้ว
ตรัสชมท่านพระสารีบุตรว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร
ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีวิริยะ ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป
ผู้นั้นพึงหวังได้ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายไม่หวังได้ความเจริญเลย
ดูกรสารีบุตร
เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันของพระจันทร์ในกาลปักษ์ย่อมผ่านพ้นไป
พระจันทร์นั้นย่อมเสื่อมจากวรรณะ ย่อมเสื่อมจากมณฑล
ย่อมเสื่อมจากแสงสว่าง ย่อมเสื่อมจากด้านยาวและกว้างฉันใด
ดูกรสารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีหิริ ฯลฯ
ไม่มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้น ย่อมผ่านพ้นไป
ผู้นั้นพึงหวังได้ความเสื่อม ไม่หวังได้ความเจริญเลย ฉันนั้นเหมือนกัน

ดูกรสารีบุตร คำว่าบุคคลผู้ไม่มีศรัทธานี้ เป็นความเสื่อม
คำว่าบุคคลไม่มีหิริ …
ผู้ไม่มีโอตตัปปะ …
ผู้เกียจคร้าน …
ผู้มีปัญญาทราม …
ผู้มักโกรธ …
ผู้ผูกโกรธ …
ผู้มีความปรารถนาลามก …
ผู้มีมิตรชั่ว …
ผู้เป็นมิจฉาทิฐินี้ เป็นความเสื่อม ฯ

ดูกรสารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย
มีหิริ มีโอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
กลางคืนหรือกลางวันของผู้นั้นย่อมผ่านพ้นไป
ผู้นั้นพึงหวังได้ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่หวังได้ความเสื่อมเลย
ดูกรสารีบุตร
เปรียบเหมือนกลางคืนหรือกลางวันของพระจันทร์ในปักษ์ข้างขึ้นย่อมผ่านพ้นไป
พระจันทร์นั้นย่อมเจริญด้วยวรรณะ ย่อมเจริญด้วยมณฑล
ย่อมเจริญด้วยแสงสว่าง ย่อมเจริญด้วยด้านยาวและกว้าง ฉันใด
ดูกรสารีบุตร ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย …
ผู้นั้นพึงหวังได้ซึ่งความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
ไม่หวังได้ความเสื่อมเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรสารีบุตร
คำว่าบุคคลผู้มีศรัทธานี้ ไม่ใช่ความเสื่อม
คำว่าบุคคลผู้มีหิริ …
ผู้มีโอตตัปปะ …
ผู้ปรารภความเพียร …
ผู้มีปัญญา …
ผู้ไม่มักโกรธ …
ผู้ไม่ผูกโกรธ …
ผู้มีความปรารถนาน้อย …
ผู้มีคนดีเป็นมิตร …
ผู้เป็นสัมมาทิฐินี้ ไม่ใช่ความเสื่อม ฯ


กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโคธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว
ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา
ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย

พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[๑๕๙๗] ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม
ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน
อยู่ครอบครองเรือน
ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด ที่พระองค์ทรงแสดงไว้
ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉันและหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล
หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.

พ. ดูกรพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว
โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.

= อธิบาย =

“โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว”

คำว่า โสดาปัตติผล
ได้แก่ โสดาบัน

คำว่า ท่านพยากรณ์แล้ว
ได้แก่ การกระทำของตน(พระนางโคธา)

คำว่า ตรัสรู้
ได้แก่ พระอรหันต์

คำว่า จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า(อนาคต)
ได้แก่ หากไม่ได้ในชาติปัจจุบัน ก็ได้ในชาติต่อๆไป


ธรรมทินนสูตร
ธรรมทินนอุบาสกพยากรณ์โสดาปัตติผล
[๑๖๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี
ครั้งนั้น อุบาสกชื่อว่า ธรรมทินนะ พร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ คน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้อใดจะพึงมีประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตรัสสอน
โปรดทรงพร่ำสอนข้อนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ
ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พระสูตรเหล่าใดที่พระตถาคตตรัสแล้ว
อันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง
เราจักเข้าถึงพระสูตรเหล่านั้นตลอดกาลเป็นนิตย์อยู่
ดูกรธรรมทินนะ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

[๑๖๒๖] ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายยังครองเรือน
นอนกกลูกอยู่ยังทาจันทน์แคว้นกาสี
ยังใช้มาลาของหอมและเครื่องลูบไล้
ยังยินดีทองและเงินอยู่
จะเข้าถึงพระสูตรที่พระตถาคตตรัสแล้ว
อันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตตะ
ประกอบด้วยความว่าง ตลอดนิตยกาลอยู่ มิใช่กระทำได้โดยง่าย
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมอันยิ่งแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ผู้ตั้งอยู่แล้วในสิกขาบท ๕ เถิด.

พ. ดูกรธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ
ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
จักเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว
ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ดูกรธรรมทินนะท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ทั้งหลาย
และข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.

พ. ดูกรธรรมทินนะ เป็นลาภของท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลอันท่านทั้งหลายพยากรณ์แล้ว.

อธิบาย

“พระสูตรเหล่าใดที่พระตถาคตตรัสแล้ว
อันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง
เราจักเข้าถึงพระสูตรเหล่านั้นตลอดกาลเป็นนิตย์อยู่”

ได้แก่ การสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม

คำว่า ประกอบด้วยความว่าง
ได้แก่ ว่างจากตัวตน เรา เขา ของเรา ของเขา
เมื่อปฏิบัติตาม
ทำให้ละละฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่ เบาบางลงและทำให้สิ้นสุดลงไปได้ตามลำดับ


๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
อุบายเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉานั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาสครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ดูกรอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ได้เห็นพระอริยะ
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว
ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้

อริยสาวกนั้น
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉาพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้น
มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้
อันสีลัพพตปรามาสย่อมครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.
อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้
อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะพร้อมทั้งอนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้
อันพยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.


๕. พันธนสูตร
ว่าด้วยเครื่องจองจำคือขันธ์ ๕
[๓๐๔] พระนครสาวัตถี.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้
ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฯลฯ
ไม่ได้รับคำแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน
เห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป
ย่อมตามเห็นเวทนา …
ตามเห็นสัญญา …
ตามเห็นสังขาร …
ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน
เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตนหรือเห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ถูกเครื่องจำ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จำไว้แล้ว
เป็นผู้ถูกเครื่องจำทั้งภายในทั้งภายนอกจำไว้แล้ว
เป็นผู้มองไม่เห็นฝั่งนี้ เป็นผู้มองไม่เห็นฝั่งโน้น ย่อมแก่ทั้งๆ ที่ถูกจำ
ย่อมตายทั้งๆ ที่ถูกจำ ย่อมไปจากโลกนี้สู่โลกหน้าทั้งๆ ที่ถูกจำ.

[๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายฯลฯ
ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป.
ย่อมไม่พิจารณาเห็นเวทนา …
สัญญา …
สังขาร …
วิญญาณโดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ไม่เป็นผู้ถูกเครื่องจำ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จำไว้
ไม่เป็นผู้ถูกเครื่องจำทั้งภายในภายนอกจำไว้
เป็นผู้มองเห็นฝั่งนี้ เป็นผู้มองเห็นฝั่งโน้น
เรากล่าวว่า ภิกษุนั้นพ้นแล้วจากทุกข์.


“ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ”
ละอภิชฌานและโทมนัส
อาศัยการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตบรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
มีเกิดขึ้นขณะทำกาละ

มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ในนิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่าวัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์
เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่
ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่าดูกรวัปปะ
บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ
เขาฆ่าตัวนี้ กลับไปฆ่าตัวอื่น เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
ไปตามบุคคลในสัมปรายภพ หรือไม่
วัปปศากยราชตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น
บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด
อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพอันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะสนทนากับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ค้างอยู่เพียงนี้เท่านั้น
ครั้งนั้นแล เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น
เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้
ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูกรโมคคัลลานะ
บัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร
และเธอทั้งหลายพูดอะไรค้างกันไว้ในระหว่าง
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ได้กล่าวกะวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า ดูกรวัปปะ
บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ
เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
ไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่
เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว
วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด
อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ
อันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์สนทนากับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ค้างอยู่เพียงนี้แล
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า ดูกรวัปปะ
ถ้าท่านจะพึงยินยอมข้อที่ควรยินยอม และคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อเรา
และท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเราข้อใด
ท่านพึงซักถามในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร
ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ดังนี้ไซร้
เราพึงสนทนากันในเรื่องนี้ได้

วัปปศากยราชกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์จักยินยอมข้อที่ควรยินยอมและจักคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อพระผู้มีพระภาค
อนึ่ง ข้าพระองค์ไม่รู้ความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคข้อใด
ข้าพระองค์จักซักถามพระผู้มีพระภาคในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร
ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ขอเราจงสนทนากันในเรื่องนี้เถิด พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุ
ให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุ
ให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย
เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุ
ให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย
นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ …
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุ
ให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ
เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ฟังเสียงด้วยหู…
สูดกลิ่นด้วยจมูก…
ลิ้มรสด้วยลิ้น…
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา
เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด
ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด
ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ
เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ฟังเสียงด้วยหู…
สูดกลิ่นด้วยจมูก…
ลิ้มรสด้วยลิ้น…
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
บุรุษต้องการกำไร เลี้ยงลูกม้าไว้ขาย (ถ้าลูกม้าตายหมด)
เขาพึงขาดทุน ซ้ำยังต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากใจยิ่งขึ้นไป แม้ฉันใด
ข้าพระองค์หวังกำไรเข้าคบหานิครณถ์ผู้โง่ ต้องขาดทุน
ทั้งต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากใจยิ่งขึ้นไป ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ข้าพระองค์นี้จักโปรยความเลื่อมใสในพวกนิครณถ์
ผู้โง่เขลาเสียในที่ลมพัดจัด หรือลอยเสียในแม่น้ำ อันมีกระแสเชี่ยว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่าคนผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

ไม่บรรลุอรหัตตผล

๗. ทิทธสูตร
ว่าด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญเปรียบเหมือนลูกศรอาบยาพิษ
[๑๖๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ … เขตกรุงสาวัตถี …
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการบรรลุธรรม
บุคคลยิงลูกศรอาบยาพิษถูกใคร
ลาภสักการะและความสรรเสริญ
ย่อมติดตามพระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตตผล

ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้


๗. ทิฏฐิสูตร
[๕๕๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย
ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ

[๕๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อะไรแทงใครด้วยลูกศรคือทิฐิ ลาภสักการะและชื่อเสียง
ย่อมตามถึงพระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล

คำว่า “ลูกศร” นี้เป็น
ชื่อของลาภสักการะและชื่อเสียง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ


๕. เอฬกสูตร
[๕๔๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย
ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ

[๕๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แมลงฉู่ฉี่กินขี้เต็มท้อง และข้างหน้ายังมีกองขี้ใหญ่
มันพึงดูหมิ่นแมลงฉู่ฉี่เหล่าอื่นว่า เรากินขี้เต็มท้องแล้ว
และเรายังมีกองขี้ใหญ่อยู่ข้างหน้าอีกฉันใด

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
อันลาภสักการะและชื่อเสียงครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว ก็ฉันนั้น
เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ฉันอยู่ ณ ที่นั้น
พอแก่ความต้องการแล้ว และทายกนิมนต์เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น

แม้บิณฑบาตของเธอจะเต็มแล้ว
เธอไปอารามแล้ว อวดอ้างที่ท่ามกลางหมู่ภิกษุว่า ผมฉันพอแก่ความต้องการแล้ว
ทายกยังนิมนต์เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น
บิณฑบาตของผมก็เต็ม
และยังจะได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอีก

ส่วนภิกษุเหล่าอื่นนี้มีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย
จึงไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
เธออันลาภสักการะและชื่อเสียงครอบงำย่ำยีจิตแล้ว
ย่อมดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่นผู้มีศีลเป็นที่รัก

ข้อนั้นของโมฆบุรุษนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ


๓. กุมมสูตร
[๕๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค … ได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย
ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ

[๕๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในห้วงน้ำแห่งหนึ่ง
มีตระกูลเต่าใหญ่อยู่อาศัยมานาน
ครั้งหนึ่ง เต่าตัวหนึ่งเข้าไปหาเต่าอีกตัวหนึ่งพูดว่าพ่อเต่า
เจ้าอย่าได้ไปยังประเทศนั้นนะ ฯ

เต่าตัวนั้นได้ไปยังประเทศนั้นแล้ว
ถูกนายพรานยิงด้วยลูกดอก
ลำดับนั้น เต่าตัวที่ถูกยิงเข้าไปหาเต่าตัวนั้น
เต่าตัวนั้นได้เห็นเต่าตัวที่ถูกยิงกำลังมาแต่ไกล
จึงถามว่า พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ไปยังประเทศนั้นหรือ ฯ
เต่าตัวที่ถูกยิงตอบว่า พ่อเต่า ฉันได้ไปยังประเทศนั้นมาแล้ว ฯ
เต่าตัวนั้นถามว่า พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ถูกทุบถูกตีดอกหรือ ฯ
เต่าตัวที่ถูกยิงตอบว่า ฉันไม่ได้ถูกทุบถูกตี แต่ฉันมีเชือกเส้นหนึ่งติดหลังมานี้ ฯ
เต่าตัวนั้นกล่าวว่า พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ถูกทุบถูกตีก็ดีละ
พ่อเต่า บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้าได้รับทุกข์
ถึงความพินาศ เพราะเชือกเส้นนี้แหละ
ไปเดี๋ยวนี้ เจ้าไม่ใช่พวกของเราแล้ว ฯ

[๕๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คำว่า “พราน” นี้เป็นชื่อของมารใจบาป
คำว่า “ลูกดอก” เป็นชื่อของลาภ สักการะ
และชื่อเสียง คำว่า “เชือก” นี้ เป็นชื่อของนันทิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุบางรูปยินดี พอใจ ลาภ สักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ
เพราะลาภ สักการะและชื่อเสียง ดุจลูกดอก ถูกมารทำได้ตามความพอใจ
ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ


๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร
[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก
และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้บัดนี้สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ

[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป
ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือเมื่อหมู่สัตว์เลวลง
พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น
ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า
สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก
ตราบใดตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป
และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด
เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป
ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก
ตราบใดตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป
และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น
ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด
พระสัทธรรมก็ฉันนั้น

สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป
เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด
เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ

[๕๓๓] ดูกรกัสสป
ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้
ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้
ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก
เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป
เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น
พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ

[๕๓๔] ดูกรกัสสป
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้
ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

[๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม
เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้
มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑
เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น
ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

จิตตสังขารและสังขารนิมิต

สภาวะของเจ้านาย

10/09/66
ตื่นตี ๕ เดิน ๑ ชม. นั่ง ๒ ชม. ๑๕ นาที
เมื่อวาน หลังปฏิบัติรอบเช้า เขาให้ดูนาฬิก การนอนแย่
จึงบอกเขาว่า ให้ตื่นตี ๕
หากตื่นตี ๔ นาฬิกาจะบอกแบบนั้นแหละ นอนน้อย
เพราะกำลังสมาธิของเขายังไม่มากพอ

หากมีสมาธิดี นอน ๓ ชม. ก็พอแล้ว
เพราะนาฬิกาจะบอกว่าการนอนปกติ

เช้านี้เขาจึงตื่นตี ๕ ตามที่เราบอก
พอเขาทำกรรมฐานเสร็จ ให้ดูนาฬิกา
นาฬิกาบอกว่านอนปกติ

ที่เคยเขียนว่าสภาวะของเขาประเภทผาดโผน
เกิดจากมีปิติกล้า และมีตัวรู้หรือการพิจรณาเกิดขึ้นด้วย

ตัวรู้จะบอกว่าให้ทำแบบนี้ๆ เขาจึงลองทำตาม
เมื่อทำตาม จะรู้สึกว่าเวทนากล้าที่มีอยู่น้อยลง

เช้านี้ มีเวทนากล้าเกิดขึ้นอีก
ตัวรู้จะบอกว่าให้ทำแบบนี้ๆ เขาทำตาม
หลังจากทำกรรมฐาน เล่าให้ฟังว่า เมื่อทำตามในสิ่งทีบอก
จะรู้สึกกายเบา ใจเบา เวทนาจะซ่าแล้วหายไป

เราบอกว่า จึงบอกไงให้อาศัยการสังเกตุสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ส่วนตัวรู้ ก็คือมนสิการหรือการพิจรณาที่มีเกิดขึ้นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
บางคนจะเรียกว่า จิตตสังขาร

สำหรับเราจะไม่มีสภาวะแบบนี้มีเกิดขึ้น
จะรู้ว่าจิตมีหลายตัว มีหลายแบบ
เป็นเรื่องของเวทนา ๓ ที่มีเกิดขึ้นทั้งๆที่ไม่รู้ปริยัติก็ตาม คือรู้ในจิต

เวลาเวทนากล้ามีเกิดขึ้น จะใช้ความอดทน อดกลั้น
แรกๆมีขยับตัว ยิ่งขยับยิ่งปวด ปวดกว่าเดิมขึ้นอีก
จึงใช้วิธีปักหลักสู้เวทนากล้า กำหนดตามจริง
ไม่ย้ายอารมณ์ ไม่ใช้คำบริกรรม รู้ตามความเป็นอย่างเดียว

ปัจจุบัน ถามว่ายังมีเวทนาทางกายมีไหม
คำตอบ มีอยู่ แต่ไม่สนใจ
เพราะรู้ด้วยตนว่าตราบใดยังมีผัสสะ เวทนาย่อมมี เป็นเรื่องปกติ
เวทนาทำอะไรไม่ได้หรอก เพราะรู้ตามความเป็นจริงด้วยตน

เขาบอกว่า พระพุทธเจ้าทรงเคยปฏิบัติให้ความอดทนอดกลั้นมาก่อน
กว่าพระองค์จะทรงตรัสรู้ด้วยตัวพระองค์เอง

เราบอกว่า ใช่
ด้วยเหตุนี้เราถึงบอกว่าการรับมือกับเวทนากล้ามีหลายแบบ

บางคนเลือกอดทนอดกลั้น กำหนดตามจริง เรียกว่าวิปัสสนา
อาจจะแสนสาหัส แต่เวลาได้ผล สำหรับเรา คุ้มนะ
อาจจะเจอหลายครั้ง เมื่อจิตคุ้นเคย
เวลาเวทนากล้ามีเกิดขึ้นอีก กายและจิตจะแยกออกจากกัน
ไม่ต้องเป็นทุกข์ที่เกิดจากเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้นอีก
สภาวะจะก้าวหน้า ไม่จบแช่กับเวทนากล้า

บางคนเลือกใช้คำบริกรรมมาช่วย เรียกว่าสมถะ
เหมือนคนป่วย ที่ยังรักษาไม่หาย

บางคนเลือกใช้ทั้งวิปัสสนา(ใช้กำหนดตามจริง)และสมถะ(ใช้คำบริกรรม)
เวทนากล้ามีเกิดขึ้น แรกๆใช้กำหนดตามจริง(วิปัสสนา)
เมื่อมีความอดทนไม่มากพอ จะมาใช้คำบริกรรมมาแทน
พอเวทนากล้าทุเลาลง กลับมาใช้กำหนดตามจริง

บางคนมีของเก่ามาในรูปแบบของสัญญา มารู้แบบของความคิด
จะมาสอนว่าให้ทำแบบนี้ๆ เรียกว่าจิตตสังขาร
“สัญญาและเวทนา เป็นจิตตสังขาร
เพราะสัญญาและเวทนาเป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต
ฉะนั้นสัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร”

เช่นสภาวะของเจ้านายที่เป็นอยู่
หากสามารถรับมือกับเวทนาได้ ตัวสภาวะจะไปข้างหน้า เข้าสู่อรูปฌาน
ให้เสพจนคุ้นเคย สมาธิไม่เสื่อม มีแสงสว่างเจิดจ้ากับใจที่รู้อยู่
เมื่อเป็นแบบนี้ ค่อยมาปรับอินทรีย์อีกครั้ง
ด้วยการเดินมากกว่าเดิม จากเดิน ๑ ชม. มาเป็น ๑ ชม.ครึ่ง
เมื่อมานั่ง จิตเป็นสมาธิจะมีแสงสว่างเจิดจ้ากับใจที่รู้อยู่ ยังไม่รู้กายที่นั่งอยู่
ให้เพิ่มเวลาการเดินไปอีกจาก ๑ ชม.ครึ่งเป็น ๒ ชม.
ทำเหมือนเดิม สังเกตุขณะนั่ง จะมีแสงสว่างเจิดจ้ากับกายที่นั่งอยู่
นั่นหมายถึงจิตกลับไปที่รูปฌานอีกครั้ง
ซึ่งเป็นสภาวะสัมมาสมาธิที่มีเกิดขึ้นตามจริง

เมื่อมีเวทนากล้ามีเกิดขึ้น จะได้มรรคผลตามจริง ก็ตรงนี้
แต่หากโคตรภูญาณไม่มีเกิดขึ้น อันนี้ไม่เป็นไร

เมื่อผ่านเวทนากล้าได้อีกครั้ง จะเข้าไปสู่อรูปฌานอีกครั้ง
เวลาได้มรรคผลตามจริง จะมาในรูปของสังขารนิมิต

จะมีสภาวะที่มีเกิดขึ้นเหมือนมีเกิดขึ้นในชีวิต ทั้งๆที่นั่งทำกรรมฐานอยู่
ตรงนี้จะเป็นเรื่องสัญญา เรื่องในอดีต ความกลัวที่ฝังใจอยู่
เช่นกลัวจมน้ำ นิมิตจะปรากฏว่าตนกำลังจมน้ำ พยายามจะหายใจให้ได้
เมื่อรู้ว่าไม่รอด เกิดการปลงตก ตายก็ตาย
โคตรภูญาณจะมีเกิดขึ้นโดยตัวของตัวสภาวะเอง

รอบบ่าย บ่ายสามถึงหกโมงครึ่งเย็น เดิน ๑ ชม. นั่ง ๒ ชม.
เขาเล่าสภาวะให้ฟังจะรู้ชัดเรื่องเวทนากับจิตได้
เวทนาทางกายเกิดจากเส้นแข็ง แล้วการพิจรณาบอกว่าให้ทำแบบนี้ๆ แล้วเขาเชื่อ ทำตาม
ทำให้เห็นว่าเวทนาที่มีเกิดขึ้น เวลาเป็นตะคริว หากเกร็ง จะปวดมาก
หากเข้าใจเวทนาว่ายิ่งเกร็งยิ่งปวด จึงค่อยๆปล่อยวาง
จากตะคริวค่อยๆหายไปเอง

แล้วเห็นความมืด ทั้งที่นั่งหลับตา จะเห็นความมืดชัดมาก
เราบอกว่าเหมือนลืมตาดูกระจกในที่มืดใช่ป่ะ
เขาบอกว่าใช่ แบบนั้นเลย
เราบอกว่าตั้งใจปฏิบัติไปต่อ สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะทำให้เข้าใจสภาวะที่มีเกิดขึ้นในตน
เขาบอกว่าตอนนี้จากเวทนาหนักๆ เริ่มเบาลง ทำให้กายเบา ใจเบา นั่งได้นานกว่าเดิม
เวทนาเวลามีเกิดขึ้นจะรู้สึกซ่าๆแล้วหายไป
เราถามว่าอาการเป็นแบบไหน
เขาบอกว่าเวลาเกิดที่ขา เวทนากล้า เหมือนแก้วที่ร้าว แล้วแตกออก ซ่า เวทนาหายไป
เราถามว่าเกิดบ่อยมั๊ย
เขาบอกว่าไม่บ่อย นานๆเกิด

สภาวะของเจ้านาย เมื่อวาน 09/09/2566
รอบเช้า เจ้านายตื่นตี ๔ เดิน ๑ ชม. นั่ง ๒ ชม.ครึ่ง
รอบบ่าย บ่าย ๓ ถึง ๖ โมงเย็น เดิน ๑ ชม. นั่ง ๒ ชม.
ก่อนนอน สามทุ่ม ถึงเที่ยงคืน เดิน ๑ ชม. ๒ ชม.

ปัญญา

สิ่งที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
ชีวิตจะเป็นอย่างไร
ขึ้นอยู่กับการกระทำของตน
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะๆๆๆ

การทำกรรมฐานก็เช่นกัน
สิ่งที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
สภาวะที่มีเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
ขึ้นอยู่กับการกระทำของตน
“อินทรีย์ ๕”


คำว่าปัญญา
สิ่งเหล่านี้มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

๑. การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ และปฏิบัติตาม
ทำให้ปัญญาสัมมาทิฏฐิมีเกิดขึ้นตามจริง แม้จะไม่รู้ปริยัติก่อนหน้าก็ตาม

๒. เมื่อปฏิบัติตาม ทำให้ปัญญาไตรลักษณ์มีเกิดขึ้นตามจริง
เมื่อเสพเนืองๆ ทำให้จิตเกิดการปล่อยวางต่อผัสสะ เวทนา ที่มีเกิดขึ้น
ทำให้จิตเป็นสมาธิ โดยตัวของสภาวะเอง
อัปปณิหิตสมาธิ
สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ

เมื่อจิตเป็นสมาธิ มักจะรู้ชัด”ความว่าง”
ทำให้เกิดความศรัทธามากขึ้น
ทำให้สนใจทำกรรมฐาน

ธรรมทินนสูตร
ธรรมทินนอุบาสกพยากรณ์โสดาปัตติผล
[๑๖๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี
ครั้งนั้น อุบาสกชื่อว่า ธรรมทินนะ พร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้อใดจะพึงมีประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตรัสสอน โปรดทรงพร่ำสอนข้อนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ
ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พระสูตรเหล่าใดที่พระตถาคตตรัสแล้ว
อันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง
เราจักเข้าถึงพระสูตรเหล่านั้นตลอดกาลเป็นนิตย์อยู่
ดูกรธรรมทินนะ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

[๑๖๒๖] ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายยังครองเรือน
นอนกกลูกอยู่ยังทาจันทน์แคว้นกาสี
ยังใช้มาลาของหอมและเครื่องลูบไล้
ยังยินดีทองและเงินอยู่
จะเข้าถึงพระสูตรที่พระตถาคตตรัสแล้ว อันลึกซึ้ง มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตตะ
ประกอบด้วยความว่าง ตลอดนิตยกาลอยู่ มิใช่กระทำได้โดยง่าย
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมอันยิ่งแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่แล้วในสิกขาบท ๕ เถิด.

พ. ดูกรธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ
ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
จักเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ดูกรธรรมทินนะท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ทั้งหลาย
และข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.

พ. ดูกรธรรมทินนะ เป็นลาภของท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายได้ดีแล้ว โสดาปัตติผลอันท่านทั้งหลายพยากรณ์แล้ว.

อธิบาย

คำว่า มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยความว่าง
ได้แก่ การสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ผลของการปฏิบัติ ทำให้เข้าสู่ความว่าง
ว่างจากตัวตน เรา เขา
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น ได้แก่ การละโมหะ ที่มีอยู่ เบาบางลง
ทำให้ละสักกายทิฏฐิ
ทำให้ละมิจฉาทิฏฐิ


สิ่งนี้มีเกิดขึ้นขณะขณะทำกรรมฐาน
คำว่า ปัญญา
๑. เป็นผู้มีศิล
ที่เกิดจากการสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ และปฏิบัติตาม
ทำให้ปัญญาสัมมาทิฏฐิมีเกิดขึ้นตามจริง แม้จะไม่รู้ปริยัติก่อนหน้าก็ตาม
จึงมาเป็นพระสูตรนี้ที่พระองค์ทรงตรัสไว้

๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ

เมื่อปฏิบัติ
สภาวะเหล่านี้จะมีเกิดขึ้นตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
คำว่า ปัญญา

ได้แก่
๑. สัมปชัญญะ มีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิในสัมมาสมาธิเท่านั้น
๒. ไตรลักษณ์ มาในรูปแบบของเวทนากล้าที่มีเกิดขึ้น

อาตัปปสูตร
[๔๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลควรทำความเพียรเครื่องเผากิเลสด้วยเหตุ ๓ ประการ
๓ ประการเป็นไฉน
คือเพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิด ๑
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิด ๑
เพื่ออดกลั้นทุกขเวทนาอันมีในสรีระ ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว
กล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าชอบใจ อาจนำเอาชีวิตไป ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุทำความเพียรเครื่องเผากิเลส
เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งยังไม่เกิด
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นกุศลซึ่งยังไม่เกิด
เพื่ออดกลั้นทุกขเวทนาอันมีในสรีระซึ่งเกิดขึ้นแล้ว
กล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าชอบใจ อาจนำเอาชีวิตไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
มีปัญญาเครื่องรักษาตน
มีสติเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ฯ

อธิบาย

คำว่า สติ
ได้แก่ สตินทรีย์
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นในสติปัฏฐาน ๔ เกิดตามจริง
๑. มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

๒. มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ขณะจิตเป็นสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ

พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเรียกว่ายถาภูตญาณทัสสนะ
การกำหนดสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง
“เพื่ออดกลั้นทุกขเวทนาอันมีในสรีระ ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว
กล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าชอบใจ อาจนำเอาชีวิตไป”

๓. มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้น

สัญญา สังขาร

เช้านี้หลังเจ้านายทำกรมฐาน
เขาบอกว่าวันนี้มีพิจรณาเรื่องขันธ์ ๕
มีสิ่งที่ทำให้เกิดความสงสัย
ได้มีคำถามว่า เมื่อสัญญามีเกิดขึ้น ทำให้สังขารมีเกิดขึ้นไหม
ถ้าไม่มีสัญญา จะไม่มีสังขารเกิดขึ้นไหม

คำว่าสัญญา ได้แก่ ความจำ
คือสิ่งที่เคยฟัง อ่าน ทำให้เกิดความจำ

ส่วนสังขารหรือการปรุงแต่งจะมีเกิดขึ้นไหม
ขึ้นอยู่กับความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งฟังมา อ่านมา

สิ่งที่สิ่งฟังมา อ่านมา เรียกว่าธรรม
แล้วนำมาพิจรณา เรียกว่ามนสิการ

หากอาศัยการฟัง การอ่าน เพียงอย่างเดียว
จะไม่สามารถจะแทงตลอดในตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆได้
ต้องอาศัยการทำความเพียร
และการสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษและปฏิบัติตาม
ส่วนจะได้เจอบุคคลเหล่านี้
ขึ้นอยู่กับการกระทำของตน
เพราะมีเรื่องของกรรมและผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย

แล้วนำพระสูตรเรื่องขันธ์ ๕
มหาภูตรูป ๔ แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้รูปขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เวทนาขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้สัญญาขันธ์ปรากฏ.
ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้สังขารขันธ์ปรากฏ.
นามรูปเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้วิญญาณขันธ์ปรากฏ.
และพระสูตรนี้

สมุทยสูตร
ว่าด้วยการเกิดดับแห่งสติปัฏฐาน ๔
[๘๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งสติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟัง
ก็ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร?
ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดแห่งอาหาร
ความดับแห่งกายย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร

ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดแห่งผัสสะ
ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ
ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป
ความดับแห่งจิตย่อมมี เพราะความดับแห่งนามรูป

ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี เพราะความเกิดแห่งมนสิการ
ความดับแห่งธรรมย่อมมี เพราะความดับแห่งมนสิการ.

คือตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่
ขันธ์ ๕ ก็ยังคงมีเกิดขึ้นปกติ
ส่วนสังขารจะมีเกิดขึ้นหรือไม่
ขึ้นอยู่กับความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่มีเกิดขึ้น(ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕)
นำตัวตนที่มีอยู่(สักกายะ)เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)

ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ
[๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างใดหนอ

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีเวทนา ย่อมเห็นเวทนาในตน ย่อมเห็นตนในเวทนา
ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีสัญญา ย่อมเห็นสัญญาในตน ย่อมเห็นตนในสัญญา
ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีสังขาร ย่อมเห็นสังขารในตน ย่อมเห็นตนในสังขาร
ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ
[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป
ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีเวทนา ไม่เห็นเวทนาในตน หรือไม่เห็นตนในเวทนา
ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในตน หรือไม่เห็นตนในสัญญา
ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีสังขาร ไม่เห็นสังขารมีในตน หรือไม่เห็นตนในสังขาร
ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.

สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ

ปุจฉา-วิสุชนา

“บุคคลที่สดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรุษ สัปบุรุษ แล้วปฏิบัติตาม
ไตรลักษณ์จะมีเกิดขึ้นตามจริง
ย่อมทำให้จิตเกิดความการปล่อยวางจากผัสสะที่มีเกิดขึ้น
เมื่อกระทำแบบนี้เนืองๆ
จิตเป็นสมาธิอัตโนมัติ
สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ
อัปปณิหิตสมาธิ
ทำให้อุเบกขามีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ราคะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ เบาบางลง”

คำถาม คำพูดนี้นำมาจากที่ไหน
คำตอบ มาจากการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
อายตนสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔
[๑๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?
คือ ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน?
ควรจะกล่าวว่า อายตนะภายใน ๖

อายตนะภายใน ๖ เป็นไฉน?
คือ อายตนะคือตา ฯลฯ อายตนะคือใจ
นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ.

[๑๖๘๖] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน?
ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ
ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

[๑๖๘๗] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน?
ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ
ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

[๑๖๘๘] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน?
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

เป็นสภาวะของสัปบุรุษ

คำถาม สัปบุรุษคือใคร
คำตอบ เป็นสภาวะของพระอนาคามี
เมื่อตรัสรู้(อรหัตผล) จะเป็นพระอรหันต์ประเภทปัญญาวิมุตติ
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามลำดับ
ทรงตรัสเรียกว่า ปุริสบุคคล

อรหัตมรรค ดับภวสาวะ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
อรหัตผล ดับอวิชชาสวะ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

คำว่า
“สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ
อัปปณิหิตสมาธิ”
กับคำว่า
“สุญญตวิโมกข์
อนิมิตตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์”

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้น เป็นคนละตัวกัน

คำถามว่า สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ
สามารถทำให้สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
มีเกิดขึ้นได้ไหม

คำตอบ ไม่ได้
สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
สามารถมีเกิดขึ้นในรูปฌานที่เป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น

สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ
ทำให้โมหะเบาบางลง
ทำให้สักกายทิฏฐิที่มีอยู่ เบาบางลง
ทำให้ละมิจฉาทิฏฐิลงไปได้
ทำให้ราคะ โทสะ ที่มีอยู่ เบาบางลง


บางครั้งการเขียนรายละเอียดสภาวะที่มีเกิดขึ้นของคำเรียกบางตัว
เหมาะสำหรับบุคคลท่มีนิวรณ์มากๆ
คนประเภทนี้ขี้สงสัย ตามมาด้วยคำถามนานา
ไม่คิดจะสนใจปฏิบัติ จะเอาแค่ความรู้ซึ่งยังเป็นการสะสมสัญญาไว้

ตามมาก็คือนำไปพูดต่อๆกัน ทั้งๆตนนั้นยังไม่เข้าถึงธรรมนั้นๆ
เช่น สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ
ถ้ายังไม่รู้ไม่เห็น
ทำให้สัญญาวิปลาสมีเกิดขึ้น
ทำให้ทิฏฐิวิปลาสมีเกิดขึ้น
จึงมาเป็นวาทะเช่นนี้
ที่เกิดจากความสำคัญผิดในผัสสะที่มีเกิดขึ้น

สมาธิ 3 (ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น )
1. สุญญตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ )
2. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ )
3. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ )


ทำให้เกิดความหลุดพ้น3คือ
วิโมกข์ 3 (ความหลุดพ้น, ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น )
1. สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้น ที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ ) = อาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส.
2. อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ ) = อาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต.
3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตาแล้วถอนความปรารถนาเสียได้ ) = อาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ.

วิโมกข์ 3
อัปปณิหิตวิโมกข์ มีเกิดขึ้นขณะโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ปรากฏตามจริง
สุญญตวิโมกข์ มีเกิดขึ้นขณะอนาคามิมรรค อนาคามิผล ปรากฏตามจริง
อนิมิตตวิโมกข์ มีเกิดขึ้นขณะอรหัตมรรค อรหัตผล ปรากฏตามจริง
สภาวะที่มีเกิดขึ้น เป็นสภาวะไตรลักษณ์ที่มีเกิดขึ้นตามจริง
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้ายโดยตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นเอง
ผู้ปฏิบัติก็ไม่รู้หรอก
ผู้ที่ได้สดับธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ จึงจะเข้าใจในคำเรียกเหล่านี้
เพราะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
วิชชา ๑
วิชชา ๒
วิชชา ๓

นิรามิส

ประโยชน์ของการสดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรุษ สัปบุรุษ
อ่านเนืองๆ ฟังเนืองๆ
ยังศรัทธาให้มีเกิดขึ้นและปฏิบัติตาม

๓. อิณสูตร
[๓๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความเป็นคนจน เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ย่อมกู้ยืม
แม้การกู้ยืมก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ฯ

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ กู้ยืมแล้วย่อมรับใช้ดอกเบี้ย
แม้การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของผู้บริโภคกามในโลก ฯ

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ รับใช้ดอกเบี้ยแล้ว
ไม่ใช้ดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมทวงเขา
แม้การทวงก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ฯ

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ทวงไม่ให้
เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมติดตามเขา
แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ฯ

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ติดตามทันไม่ให้ทรัพย์
เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมจองจำเขา
แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ฯ

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
แม้ความเป็นคนจนก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
แม้การกู้ยืมก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
แม้การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
แม้การทวงก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ด้วยประการฉะนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลบางคนไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม
ไม่มีหิริในกุศลธรรม
ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม
ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม
ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม
บุคคลนี้เรียกว่า เป็นคนจนเข็ญใจยากไร้
ในวินัยของพระอริยเจ้าฉันนั้นเหมือนกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล
เมื่อไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม
ไม่มีหิริในกุศลธรรม
ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม
ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม
ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
เรากล่าวการประพฤติทุจริตของเขาว่า เป็นการกู้ยืม
เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก
เพราะเหตุแห่งการปกปิดกายทุจริตนั้น
ย่อมปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา
ย่อมดำริ ย่อมกล่าววาจา
ย่อมพยายามด้วยกายว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา
เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก
เพราะเหตุแห่งการปกปิดวจีทุจริตนั้น ฯลฯ

เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก
เพราะเหตุแห่งการปกปิดมโนทุจริตนั้น
ย่อมปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา
ย่อมดำริ ย่อมกล่าววาจา
ย่อมพยายามด้วยกายว่าชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา
เรากล่าวเหตุการปกปิดทุจริตของเขานั้นว่า เป็นการรับใช้ดอกเบี้ย

เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รักได้กล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ก็ท่านผู้มีอายุรูปนี้
เป็นผู้กระทำอย่างนี้ เป็นผู้ประพฤติอย่างนี้
เรากล่าวการถูกว่ากล่าวของเขาว่า เป็นการทวงดอกเบี้ย
อกุศลวิตกที่เป็นบาปประกอบด้วยความเดือดร้อน ย่อมครอบงำเขา

ผู้อยู่ป่า ผู้อยู่โคนไม้ หรือผู้อยู่ในเรือนว่าง
เรากล่าวการถูกอกุศลวิตก
ครอบงำนี้ของเขาว่า เจ้าหนี้ติดตามเขา
คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล

ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
เมื่อตายไปแล้ว ย่อมถูกจองจำ ในเรือนจำ คือ นรก
หรือในเรือนจำ คือ กำเนิดดิรัจฉาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นเรือนจำอื่นเพียงแห่งเดียว
ซึ่งร้ายกาจ เป็นทุกข์
กระทำอันตรายแก่การบรรลุนิพพาน
ซึ่งเป็นธรรมเกษมจากโยคะ
หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ อย่างนี้
เหมือนเรือนจำ คือ นรก หรือเรือนจำ คือ กำเนิดดิรัจฉานเลย ฯ

ความเป็นคนจน และการกู้ยืม
เรียกว่าเป็นทุกข์ในโลก
คนจนกู้ยืมเลี้ยงชีวิตย่อมเดือดร้อน
เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมติดตามเขา เพราะไม่ใช้หนี้นั้น
เขาย่อมเข้าถึงแม้การจองจำ
ก็การจองจำนั้น เป็นทุกข์ของชนทั้งหลาย
ผู้ปรารถนาการได้กาม ในวินัยของพระอริยเจ้า

ผู้ใดไม่มีศรัทธา
ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ พอกพูนบาปกรรม
กระทำกายทุจริต วจีทุจริตและมโนทุจริต
ย่อมปรารถนา ย่อมดำริว่า คนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา
พอกพูนบาปกรรมในที่นั้นๆ อยู่ บ่อยๆ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
เราตถาคตย่อมกล่าวว่า เป็นทุกข์
เหมือนอย่างนั้น เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม
ทราบความชั่วของตนอยู่ เป็นคนจน มีหนี้สิน
เลี้ยงชีวิตอยู่ย่อมเดือดร้อน ลำดับนั้น

ความดำริที่มีในใจ เป็นทุกข์เกิดขึ้นเพราะความเดือดร้อนของเขา
ย่อมติดตามเขาที่บ้าน หรือที่ป่า
เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม ทราบความชั่วของตนอยู่
ย่อมเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉานบางอย่าง หรือถูกจองจำในนรก
ก็การจองจำนั้นเป็นทุกข์ ที่นักปราชญ์หลุดพ้นไปได้

บุคคลผู้ยังใจให้เลื่อมใส
ให้ทานด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลาย ที่ได้มาโดยชอบธรรม
ย่อมเป็นผู้ยึดถือชัยชนะไว้ได้ในโลก
ทั้งสองของผู้มีศรัทธาอยู่ครองเรือน
คือ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ
การบริจาคของคฤหัสถ์ดังกล่าวมานั้น
ย่อมเจริญบุญ ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีใจประกอบด้วยหิริ มีโอตตัปปะ มีปัญญา
และสำรวมในศีล ในวินัยของพระอริยเจ้า
ผู้นั้นแลเราเรียกว่ามีชีวิตเป็นสุข ในวินัยของพระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน
เขาได้ความสุขที่ไม่มีอามิส ยังอุเบกขา ให้ดำรงมั่น
ละนิวรณ์ ๕ ประการ เป็นผู้ปรารภความเพียรเป็นนิตย์
บรรลุฌานทั้งหลาย มีเอกัคคตาจิตปรากฏ มีปัญญารักษาตัว มีสติ
จิตของเขาย่อมหลุดพ้นโดยชอบ
เพราะทราบเหตุในนิพพาน
เป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริง
เพราะไม่ถือมั่นโดยประการทั้งปวง

หากว่าเขาผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบ
คงที่อยู่ในนิพพาน
เป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบไซร้
ญาณนั้นแลเป็นญาณชั้นเยี่ยม
ญาณนั้นเป็นสุขไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่า ญาณนั้นไม่มีโศก หมดมัวหมอง
เป็นญาณเกษมสูงสุดกว่าความไม่มีหนี้ ฯ

อธิบาย

“เขาได้ความสุขที่ไม่มีอามิส ยังอุเบกขา ให้ดำรงมั่น”

เมื่ออ่านรายละเอียดตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นในแต่ละขณะๆๆ
เราหมายในข้อความตรงนี้
เป็นสภาวะของบุคคลที่ได้สดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรุษ สัปบุรุษ
เมื่อได้อ่าน ฟัง ท่องจำจนขึ้นใจ ไม่ลืม
แล้วพิจรณาในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ทำให้โยนิโสมนสิการมีเกิดขึ้น
ทำให้ศรัทธามีเกิดขึ้น
ทำให้เกิดการปฏิบัติตามและผลของการปฏิบัติตาม

“บุคคลผู้ยังใจให้เลื่อมใส
ให้ทานด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลาย ที่ได้มาโดยชอบธรรม
ย่อมเป็นผู้ยึดถือชัยชนะไว้ได้ในโลก
ทั้งสองของผู้มีศรัทธาอยู่ครองเรือน
คือ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ
การบริจาคของคฤหัสถ์ดังกล่าวมานั้น
ย่อมเจริญบุญ

ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีใจประกอบด้วยหิริ มีโอตตัปปะ มีปัญญา
และสำรวมในศีล ในวินัยของพระอริยเจ้า
ผู้นั้นแลเราเรียกว่ามีชีวิตเป็นสุข ในวินัยของพระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน
เขาได้ความสุขที่ไม่มีอามิส ยังอุเบกขา ให้ดำรงมั่น”

แล้วนำไปตีความทำนองว่าเป็นตติยฌาน หรือจตุถฌาน
ซึ่งไม่ตรงสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง

บุคคลที่สดับธรรมจากพระอริยะ สัตุบุรุษ สัปบุรุษ แล้วปฏิบัติตาม
ไตรลักษณ์จะมีเกิดขึ้นตามจริง
ย่อมทำให้จิตเกิดความการปล่อยวางจากผัสสะที่มีเกิดขึ้น
เมื่อกระทำแบบนี้เนืองๆ
จิตเป็นสมาธิอัตโนมัติ
สุญญตสมาธิ
อนิมิตตสมาธิ
อัปปณิหิตสมาธิ
ทำให้อุเบกขามีเกิดขึ้นตามจริง
ทำให้ราคะ โทสะ โมหะ ที่มีอยู่ เบาบางลง

คำว่า มีปัญญาในที่นี้
ปัญญาสัมมาทิฏฐิ
ปัญญาไตรลักษณ์

ต่อด้วย การทำกรรมฐาน
“ละนิวรณ์ ๕ ประการ
เป็นผู้ปรารภความเพียรเป็นนิตย์
บรรลุฌานทั้งหลาย
มีเอกัคคตาจิตปรากฏ
มีปัญญารักษาตัว มีสติ
จิตของเขาย่อมหลุดพ้นโดยชอบ
เพราะทราบเหตุในนิพพาน
เป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริง
เพราะไม่ถือมั่นโดยประการทั้งปวง”


นิรามิสสูตร
[๔๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปีติมีอามิสมีอยู่
ปีติไม่มีอามิสมีอยู่
ปีติที่ไม่มีอามิสกว่าปีติที่ไม่มีอามิสมีอยู่

สุขมีอามิสมีอยู่
สุขไม่มีอามิสมีอยู่
สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสมีอยู่

อุเบกขามีอามิสมีอยู่
อุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่
อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่

วิโมกข์มีอามิสมีอยู่
วิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่
วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่ ฯ

[๔๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติมีอามิสเป็นไฉน
กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล
ปีติเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้
เราเรียกว่า ปีติมีอามิส ฯ

[๔๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิส ฯ

[๔๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน
ปีติที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณา
เห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ
นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิส ฯ

[๔๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขมีอามิสเป็นไฉน
กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้
สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้
นี้เราเรียกว่า สุขมีอามิส ฯ

[๔๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขไม่มีอามิสเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯลฯ
เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิส ฯ

[๔๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสเป็นไฉน
สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณา
เห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ
นี้เราเรียกว่าสุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิส ฯ

[๔๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขามีอามิสเป็นไฉน
กามคุณ ๕เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน
คือรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล
อุเบกขาเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕เหล่านี้
เราเรียกว่า อุเบกขามีอามิส ฯ

[๔๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
นี้เราเรียกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส

[๔๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิสเป็นไฉน
อุเบกขาเกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณา
เห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจาก ราคะ จากโทสะ จากโมหะ
นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส ฯ

[๔๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์มีอามิสเป็นไฉน
วิโมกข์ที่ปฏิสังยุตด้วยรูป
ชื่อว่าวิโมกข์มีอามิส
วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส ฯ

[๔๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสเป็นไฉน
วิโมกข์เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณา
เห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ
นี้เราเรียกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิส ฯ

Previous Older Entries

กันยายน 2023
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930  

คลังเก็บ