แก่นพรหมจรรย์

แก่นพรหมจรรย์
ได้แก่ วิมุตติญาณทัสสนะ
แจ้งอริยสัจ ๔ ขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง
และวิธีการปฏิบัติ


อักขณสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีประการเดียว
ประการเดียวเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรมและธรรมอันตถาคตทรงแสดง
เป็นธรรมนำความสงบมาให้
เป็นไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้

พระสุคตเจ้าทรงประกาศแล้ว
และบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบททั้งมีปัญญา ไม่บ้าใบ้
สามารถเพื่อจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการเดียว ฯ

ชนเหล่าใด เกิดในมนุษยโลกแล้ว
เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรม ไม่เข้าถึงขณะ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าล่วงขณะ
ชนเป็นอันมาก กล่าวเวลาที่เสียไปว่า กระทำอันตรายแก่ตน

พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในกาลบางครั้งบางคราว
การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๑
การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑
การแสดงสัทธรรม ๑
ที่จะพร้อมกันเข้าได้หาได้ยากในโลก

ชนผู้ใคร่ต่อประโยชน์ จึงควรพยายามในกาลดังกล่าวมานั้น
ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้ ขณะ
อย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย
เพราะบุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงไป
พากันยัดเยียดในนรก ย่อมเศร้าโศกอยู่

หากเขาจะไม่สำเร็จอริยมรรค อันเป็นธรรมตรงต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้
เขาผู้มีประโยชน์อันล่วงเสียแล้ว จักเดือดร้อนสิ้นกาลนาน
เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยให้ประโยชน์ล่วงไป เดือดร้อนอยู่ ฉะนั้น
คนผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรม
จักเสวยแต่สงสาร คือ ชาติและมรณะสิ้นกาลนาน

ส่วนชนเหล่าใดได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว
เมื่อพระตถาคตประกาศสัทธรรม ได้กระทำแล้ว จักกระทำ
หรือกระทำอยู่ ตามพระดำรัสของพระศาสดา
ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ประสบขณะ
คือ การประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก

ชนเหล่าใดดำเนินไปตามมรรคา ที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้ว
สำรวมในศีลสังวรที่พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้ว
คุ้มครองอินทรีย์ มีสติทุกเมื่อ ไม่ชุ่มด้วยกิเลส
ตัดอนุสัยทั้งปวงอันแล่นไปตามกระแสบ่วงมาร
ชนเหล่านั้นแล บรรลุความสิ้นอาสวะถึงฝั่ง คือ นิพพานในโลกแล้ว ฯ


๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ


สัมมาทิฏฐิ
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่


๙. สิกขาสูตร
[๒๒๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์
มีปัญญายิ่ง
มีวิมุตติเป็นสาระ
มีสติเป็นใหญ่อยู่เถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลาย
มีสิกขาเป็นอานิสงส์
มีปัญญายิ่ง
มีวิมุตติเป็นสาระ
มีสติเป็นใหญ่อยู่
พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
อรหัตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระอนาคามี ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
เรากล่าวมุนีผู้มีสิกขาบริบูรณ์
มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา
มีปัญญายิ่ง
มีปรกติเห็นที่สุด คือความสิ้นไปแห่งชาติ
ผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุดนั้นแล ว่าผู้ละมาร ผู้ถึงฝั่งแห่งชรา

เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงเป็นผู้ยินดีในฌาน มีจิตตั้งมั่นแล้วในกาลทุกเมื่อ
มีความเพียร
มีปรกติเห็นที่สุด คือ ความสิ้นไปแห่งชาติ
ครอบงำมารพร้อมด้วยเสนาได้แล้ว
เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

= อธิบาย =

คำว่า ผู้มีสิกขาบริบูรณ์
ได้แก่ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑

คำว่า มีปัญญายิ่ง
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔ ขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง

คำว่า มีวิมุตติเป็นสาระ
ได้แก่ มรรคผลปรากฏตามจริง
โสดาปัตติผล แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
สกทาคามิผล แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
อนาคามิผล แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
อรหัตผล แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง

.

ตรงนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงผู้ที่ได้อรหัตผลตามจริง
“เรากล่าวมุนีผู้มีสิกขาบริบูรณ์
มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา
มีปัญญายิ่ง
มีปรกติเห็นที่สุด คือความสิ้นไปแห่งชาติ
ผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุดนั้นแล ว่าผู้ละมาร ผู้ถึงฝั่งแห่งชรา”

= อธิบาย =

คำว่า ผู้มีสิกขาบริบูรณ์
ได้แก่ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

คำว่า มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา
ได้แก่ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ไม่เสื่อม
คือแจ้งแล้วแจ้งเลย ไม่มีความเสื่อม


ดังที่พระอานนท์นำมาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

นิคัณฐสูตร
[๕๑๔] ๗๕. สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี
ครั้งนั้นแล เจ้าอภัยลิจฉวีกับเจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวี ได้พากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์ยังที่อยู่
อภิวาทท่านพระอานนท์แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วเจ้าอภัยลิจฉวีได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
นิครณฐนาฏบุตร เป็นคนรู้เห็นธรรมทุกอย่าง ย่อมปฏิญญาญาณทัสสนะไว้อย่างไม่มีส่วนเหลือว่า
สำหรับเราจะเดิน จะยืน จะหลับและตื่นก็ตาม ญาณทัสสนะก็ปรากฏชั่วกาลนิรันดร
เขาบัญญัติว่า กรรมเก่าหมดไปเพราะความเพียรเผากิเลส
ฆ่าเหตุได้เพราะไม่ทำกรรมใหม่ ด้วยประการฉะนี้
จึงเป็นอันว่า เพราะกรรมสิ้นไป
ทุกข์จึงหมดไป เพราะทุกข์หมดไป
เวทนาจึงสิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป
ทุกข์ทั้งสิ้นจึงจักเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
การล่วงทุกข์ย่อมมีได้ด้วยความหมดจด
ที่ให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งบุคคลจะพึงเห็นเองนี้ ด้วยประการฉะนี้
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้อย่างไร

ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรเจ้าอภัย
ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ ๓ อย่างแล
ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ ๓ อย่างแล
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อการล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง
ความหมดจด ๓ อย่าง เป็นไฉน คือ

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไป
โดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ

๒. ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล้ว
สงัดจากกาม ฯลฯ
เข้าจตุตถฌานอยู่
เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไป
โดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ

๓. ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีล
ถึงพร้อมด้วยสมาธิอย่างนี้แล้ว
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
เธอไม่ทำกรรมใหม่ ด้วยสัมผัสถูกต้องกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไป
โดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ

ดูกรเจ้าอภัย ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมโดยไม่เหลือ ๓ อย่างนี้แล
อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง

เมื่อท่านพระอานนท์ได้กล่าวอย่างนี้แล้ว
เจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวีได้พูดกะเจ้าอภัยลิจฉวีว่า ดูกรอภัยเพื่อนรัก
ทำไมท่านจึงไม่ชื่นชมอนุโมทนาคำสุภาษิตของท่านพระอานนท์โดยความเป็นคำสุภาษิตเล่า

เจ้าอภัยลิจฉวีตอบว่า เพื่อนรัก
ไฉนเราจักไม่ชื่นชมอนุโมทนาคำสุภาษิตของท่านพระอานนท์โดยความเป็นคำสุภาษิตเล่า
ผู้ใดไม่ชื่นชมอนุโมทนาคำสุภาษิตของท่านพระอานนท์โดยความเป็นคำสุภาษิต ความคิดของผู้นั้นพึงเสื่อม ฯ

คำว่า มีปัญญายิ่ง
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔ ขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง

“มีปรกติเห็นที่สุด คือความสิ้นไปแห่งชาติ”

คำว่า ความสิ้นไปแห่งชาติ
ได้แก่ ดับกายกรรม วจีกรรม
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

.

ตรงนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระภิกษุ
หากยังไม่ได้มรรคผลตามจริง ที่ยังต้องทำความเพียร

“เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงเป็นผู้ยินดีในฌาน มีจิตตั้งมั่นแล้วในกาลทุกเมื่อ
มีความเพียร
มีปรกติเห็นที่สุด คือ ความสิ้นไปแห่งชาติ
ครอบงำมารพร้อมด้วยเสนาได้แล้ว
เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ ฯ”

= อธิบาย =

“จงเป็นผู้ยินดีในฌาน มีจิตตั้งมั่นแล้วในกาลทุกเมื่อ

ได้แก่ ทำกรรมฐาน
สมถะ(ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
ใช้คำบริกรรมต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนืองๆในฌาน 1 2 3 4 5 6 7 8

วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
กำหนดต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนืองๆในฌาน 1 2 3 4 5 6 7 8

คำว่า มีความเพียร
ได้แก่ ปฏิบัติต่อเนื่องจนกระทั่งได้มรรคผลปรากฏตามจริง
โสดาปัตติผล แจ้งอริยสัจ ๔
สกทาคามิผล แจ้งอริยสัจ ถ
อนาคามิผล แจ้งอริยสัจ ๔
อรหัตผล แจ้งอริยสัจ ๔

“มีปรกติเห็นที่สุด คือ ความสิ้นไปแห่งชาติ”

คำว่า ชาติ
ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม

คำว่า ความสิ้นไปแห่งชาติ
ได้แก่ ไม่สร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก

“เดิมเขียนไว้แบบนี้
คำว่า ความสิ้นไปแห่งชาติ
ได้แก่ ดับกายกรรม วจีกรรม
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
การอธิบายแบบนี้ อาจจะไม่เข้าใจ
จึงไปเขียนอธิบายใหม่ จะเข้าใจง่ายกว่า
คือต้องแยกสภาวะออกจากกัน จะมองเห็นชัด”


อปริหานิสูตร
[๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเสื่อมรอบ ชื่อว่าย่อมประพฤติใกล้นิพพานทีเดียว
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ๑
เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑
เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ๑
เป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งมีความเพียรเครื่องตื่นอยู่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมระวังในพระปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมประพฤติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์
ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ฟังเสียงด้วยหู …
ดมกลิ่นด้วยจมูก …
ลิ้มรสด้วยลิ้น …
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ชื่อว่ารักษามนินทรีย์
ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว
ย่อมกลืนกินซึ่งอาหารมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา
มิใช่เพื่อประเทืองผิว มิใช่เพื่อจะตกแต่ง
เพียงเพื่อร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป
เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์
ด้วยหวังว่า จักกำจัดเวทนาเก่าและจักไม่ยังเวทนาใหม่ให้บังเกิดขึ้น
ความเป็นไป ความที่ร่างกายไม่มีโทษ และความอยู่สำราญจักมีแก่เรา
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ
ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้น
ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้น
ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี
ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า
มีสติสัมปชัญญะ มนสิการความสำคัญในอันจะลุกขึ้น
ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
ลุกขึ้นแล้วย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้น
ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
ภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเสื่อมรอบ ชื่อว่าย่อมประพฤติใกล้นิพพานทีเดียว ฯ

ภิกษุผู้ดำรงอยู่ในศีล
สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย
รู้ประมาณในโภชนะ
และย่อมประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่
ภิกษุผู้มีปรกติพากเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เกียจคร้านตลอดวันและคืน
บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อถึงความเกษมจากโยคะ
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท หรือมีปรกติเห็นภัยในความประมาท
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ชื่อว่าประพฤติใกล้นิพพานทีเดียว


๑๐. ชาคริยสูตร
[๒๒๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุพึงเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น
มีสติสัมปชัญญะ
มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใส
และพึงเป็นผู้เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย
สมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐานนั้นเนืองๆ เถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุมีความเพียรเป็นเครื่องตื่น
มีสติสัมปชัญญะ
มีจิตตั้งมั่น เบิกบานผ่องใส
เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย
สมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐานนั้นเนืองๆ
พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระอนาคามี ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
เธอทั้งหลายตื่นอยู่ จงฟังคำนี้
เธอเหล่าใดผู้หลับแล้ว
เธอเหล่านั้นจงตื่น
ความเป็นผู้ตื่นจากความหลับเป็นคุณประเสริฐ เพราะภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่

ผู้ใดตื่นอยู่มีสติสัมปชัญญะ
มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน และผ่องใส
พิจารณาธรรมอยู่โดยชอบโดยกาลอันควร
ผู้นั้นมีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้นแล้ว พึงกำจัดความมืดเสียได้
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุพึงคบธรรมเครื่องเป็นผู้ตื่น
ภิกษุผู้มีความเพียร
มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน
มีปรกติได้ฌาน
ตัดกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วยชาติและชราได้แล้ว
พึงถูกต้องญาณอันเป็นเครื่องตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยมในอัตภาพนี้แล ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

= อธิบาย =

“พึงเป็นผู้เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย”
ได้แก่ สีลปาริสุทธิ

“ผู้นั้นมีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้นแล้ว”

คำว่า ผู้นั้นมีสมาธิ
ในที่นี้ได้แก่ สัมมาสมาธิ

คำว่า ธรรมเอกผุด
ได้แก่ สตินทรีย์


๘. สัลลานสูตร
[๒๒๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี
ยินดีแล้วในความหลีกเร้น
ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ มีฌานไม่เสื่อม
ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น
ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ มีฌานไม่เสื่อม
ประกอบด้วยวิปัสสนา
พอกพูนสุญญาคารอยู่
พึงหวังได้ผล ๒ อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระอนาคามี ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ชนเหล่าใดมีจิตสงบแล้ว
มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน
มีสติ
มีฌาน
ไม่มีความเพ่งเล็งในกามทั้งหลาย
ย่อมเห็นแจ้งธรรมโดยชอบ
เป็นผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาท
มีปรกติเห็นภัยในความประมาท
ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อมรอบ
ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานเทียว

= อธิบาย =

“ยินดีแล้วในความหลีกเร้น
ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ มีฌานไม่เสื่อม
ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด”

คำว่า ยินดีแล้วในความหลีกเร้น
ได้แก่ ทำกรรมฐาน

คำว่า ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนืองๆ
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง
สมถะ(ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
บริกรรมต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในฌาน 1 2 3 4 5 6 7 8

วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง
วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
กำหนดต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในฌาน 1 2 3 4 5 6 7 8

คำว่า มีฌานไม่เสื่อม
ได้แก่ ไม่พูดคุย ทำให้กำลังสมาธิที่มีอยู่จะไม่เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ที่เกิดจากการพูดคุย ให้ตั้งใจปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
“จงเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น”

คำว่า ประกอบด้วยวิปัสสนา
ได้แก่ เวทนากล้า ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง

คำว่า พอกพูนสุญญาคารอยู่
ได้แก่ กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ไม่นำตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
คือปราศจากตัวตน เรา เขา เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น


๖. อากังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
[๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์
มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์อยู่เถิด
จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด
จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.

[๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ
และเป็นผู้ควรยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายเถิดดังนี้
ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเทวดาหรือมนุษย์เหล่าใด
สักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับ ทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงอยู่
ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใสของญาติและสาโลหิตเหล่านั้น
พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีและความยินดีได้
อนึ่ง ความไม่ยินดี อย่าพึงครอบงำเราได้เลย
เราพึงครอบงำย่ำยี ความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้
อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่าพึงครอบงำเราได้เลย
เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัวและความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้นเพราะจิตยิ่ง
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนาพึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว
เป็นธรรมไม่มีรูปสงบระงับอยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาคาร.

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นโสดาบันเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓
พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นพระสกทาคามี
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓
เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง
พึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเป็นอุปปาติกสัตว์
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ
คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้
ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้
พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้
ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงได้ยินเสียงทั้ง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ
หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่
หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต
หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ
หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่างประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ
พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง
ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง
ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า
ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาถึงเข้าอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้

เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงเป็นผู้มีศีลอันถึงพร้อม มีปาติโมกข์อันถึงพร้อมแล้วอยู่เถิด
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้
คำนั้น อันเราอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้กล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.

= อธิบาย =

สัมมาสมาธิเมื่อมีเกิดขึ้น ตัวสภาวะต่างๆจะดำเนินต่อเนื่องโดยตัวสภาวะของมันเอง
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมไว้ว่า

“ภิกษุเหล่านั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
ประกอบความสงบใจในภายใน
ไม่เหินห่างจากฌาน
ประกอบด้วยวิปัสสนา
เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด”

ข้อที่ 1 พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
ได้แก่ สีลปาริสุทธิ
เริ่มจากการสดับ(การฟัง) การศึกษา สุตตะ

ข้อที่ 2 หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ได้แก่ ทำกรรมฐาน
สมถะ(ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
เดินจงกรม ต่อด้วยการนั่ง
เมื่อจิตเป็นสมาธิ จะเป็นสัมมาสมาธิโดยอัตโนมัติ
ทำให้ไม่ต้องปรับอินทรีย์ มีแต่เพิ่มเติมให้นั่งมากขึ้น
หมายถึง เดิน 60 นั่ง 60

เมื่อนั่งครบเวลา ให้นั่งต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต้องสนใจเรื่องเวลา
เวทนากล้าจะปรากฏ
หากเวทนากล้าไม่เกิด ถือเสียว่าได้สมาธิมีเพิ่ม คือมีแต่ได้กับได้ ไม่มีเสีย
แต่คนส่วนมากจะไม่รู้ตรงนี้ มักจะตามเวลาที่กำหนดไว้
บางคนทำตามคือหมดเวลาที่ตั้งไว้ จะนั่งต่อ เมื่อเจอเวทนากล้าปรากฏ จึงเลิกนั่ง
เกิดจากความกลัว ไม่สามารถผ่านสภาวะนี้ไปได้ สภาวะจะจมแช่อยู่แค่นี้ไม่ไปไหน

บางคนไม่ชอบเดิน จะนั่งอย่างเดียว
จะสมถะ(มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
หรือวิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ก็ต้องปรับอินทรีย์
หากไม่มีการปรับอินทรีย์ สมาธิที่มีเกิดขึ้นยังเป็นมิจฉาสมาธิ
เวลาจิตเป็นสมาธิ จะติดนิมิต ติดเรื่องแปลกๆที่มีเกิดขึ้น ไม่ก็ดิ่ง ไม่รู้สึกตัว

ข้อ 3 ไม่ทำฌานให้เหินห่าง
ได้แก่ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนืองๆในฌาน 1 2 3 4 5 6 7 8

ข้อ 4 ประกอบด้วยวิปัสสนา
เวทนากล้า ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง

ข้อ 5 พอกพูนสุญญาคาร
กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ไม่นำตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
คือปราศจากตัวตน เรา เขา เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น

ภพชาติของการเกิด

การสดับ(ฟัง)เนืองๆ การอ่าน การศึกษา
จึงมาเป็น สุตตะ(ข้อที่ต้องเล่าให้จำได้) มีเกิดขึ้นตามจริง

อักขณสูตร
[๑๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ย่อมกล่าวว่า โลกได้ขณะจึงทำกิจๆ แต่เขาไม่รู้ขณะหรือมิใช่ขณะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลมิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการนี้
๘ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม และธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดง
นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว
แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงนรกเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑ ฯ

อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นในโลก ฯลฯ
เป็นผู้จำแนกธรรม และธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดง …
แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๒ ฯ

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้เข้าถึงปิตติวิสัยเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๓ ฯ

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้เข้าถึงเทพนิกายผู้มีอายุยืน ชั้นใดชั้นหนึ่งเสีย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔ ฯ

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบทและอยู่ในพวกมิลักขะ ไม่รู้ดีรู้ชอบ
อันเป็นสถานที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปมา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๕ ฯ

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท
แต่เขาเป็นมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า
ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล
การบวงสรวงไม่มีผล
ผลวิบากแห่งกรรมดี
กรรมชั่วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี บิดาไม่มี
สัตว์ทั้งหลายที่ผุดเกิดขึ้นไม่มี
สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๖ ฯ

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท
แต่เขามีปัญญาทราม บ้าใบ้ ไม่สามารถรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗ ฯ

อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติแล้วในโลก เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ธรรมอันนำความสงบมาให้
เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ อันพระสุคตเจ้าทรงประกาศแล้ว
แต่พระตถาคตมิได้แสดง
ถึงบุคคลผู้นี้จะเกิดในมัชฌิมชนบทและมีปัญญา ไม่บ้าใบ้
ทั้งสามารถจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๘
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลอันมิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีประการเดียว
ประการเดียวเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมและธรรมอันตถาคตทรงแสดง
เป็นธรรมนำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้
พระสุคตเจ้าทรงประกาศแล้ว
และบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท ทั้งมีปัญญา ไม่บ้าใบ้
สามารถเพื่อจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการเดียว ฯ

ชนเหล่าใด เกิดในมนุษยโลกแล้ว
เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรม ไม่เข้าถึงขณะ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าล่วงขณะ

ชนเป็นอันมาก กล่าวเวลาที่เสียไปว่า กระทำอันตรายแก่ตน
พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในกาลบางครั้งบางคราว
การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๑
การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑
การแสดงสัทธรรม ๑
ที่จะพร้อมกันเข้าได้หาได้ยากในโลก

ชนผู้ใคร่ต่อประโยชน์ จึงควรพยายามในกาลดังกล่าวมานั้น
ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้ ขณะ
อย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย

เพราะบุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงไป พากันยัดเยียดในนรก ย่อมเศร้าโศกอยู่
หากเขาจะไม่สำเร็จอริยมรรค อันเป็นธรรมตรงต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้
เขาผู้มีประโยชน์อันล่วงเสียแล้ว จักเดือดร้อนสิ้นกาลนาน
เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยให้ประโยชน์ล่วงไป เดือดร้อนอยู่ ฉะนั้น
คนผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรม
จักเสวยแต่สงสาร คือ ชาติและมรณะสิ้นกาลนาน

ส่วนชนเหล่าใดได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว
เมื่อพระตถาคตประกาศสัทธรรม ได้กระทำแล้ว
จักกระทำ หรือกระทำอยู่ ตามพระดำรัสของพระศาสดา
ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ประสบขณะ
คือ การประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก

ชนเหล่าใดดำเนินไปตามมรรคา ที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้ว
สำรวมในศีลสังวรที่พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
ทรงแสดงแล้ว คุ้มครองอินทรีย์ มีสติทุกเมื่อ ไม่ชุ่มด้วยกิเลส
ตัดอนุสัยทั้งปวงอันแล่นไปตามกระแสบ่วงมาร
ชนเหล่านั้นแล บรรลุความสิ้นอาสวะถึงฝั่ง คือ นิพพานในโลกแล้ว ฯ


พระพุทธเจ้าทรงตรัสเกี่ยวกับภพชาติของการเกิด
และวิมุตติญาณทัสสนะมีเกิดขึ้นขณะทำกาละ

1.
คหปติวรรคที่ ๓


2.
อุคคสูตรที่ ๒


3.
นิฏฐาสูตร


4.
วิชชา 2
วิชชา 3

๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

5.

5.
วิมุตติญาณทัสสนะ
แจ้งวิมุตติปาริสุทธิที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ครั้งที่ ๑(วิชชา ๑)
ครั้งที่ ๒(วิชชา ๒)
ครั้งที่ ๓(วิชชา ๓)
แจ้งอริยสัจ ๔
แจ้งขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕


คหปติวรรคที่ ๓
อุคคสูตรที่ ๑
[๑๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตครั้นได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ฯ

ครั้งนั้น เวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่นิเวศน์ของอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี
ครั้นแล้วจึงนั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ ลำดับนั้นอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวลาสาลีได้เข้าไปหาภิกษุนั้น ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีว่า ดูกรคฤหบดี
พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ
ดูกรคฤหบดี ธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน ฯ

อุคคคฤหบดีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมก็ไม่ทราบเลยว่า พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์กระผม ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน
แต่ขอท่านได้โปรดฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการของกระผมที่มีอยู่ จงใส่ใจให้ดี กระผมจักเรียนถวาย
ภิกษุนั้นรับคำอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีแล้ว
อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ในคราวที่กระผมได้เห็นพระผู้มีพระภาคแต่ไกลเป็นครั้งแรก พร้อมกับการเห็นนั้นเอง
จิตของกระผมเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาโปรดกระผม
คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง และอานิสงส์ในเนกขัมมะ
ในคราวที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบกระผมว่า มีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ บันเทิง ผ่องใสแล้ว
จึงทรงประกาศสามุกังสิกาธรรมเทศนาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
เปรียบเหมือนผ้าที่บริสุทธิ์ไม่หมองดำ จะพึงรับน้ำย้อมได้ดี แม้ฉันใด
ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
เกิดขึ้นแล้วแก่กระผม ณ ที่นั่งนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว
รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งซึ้งถึงธรรมแล้ว
ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว
ปราศจากความเคลือบแคลงแล้ว
ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา
ได้ถึงพระพุทธเจ้าพระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะแล้ว และสมาทานสิกขาบทอันมีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ แล้ว ณ ที่นั่งนั้นแล
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๒ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมีปชาบดีรุ่นสาวอยู่ ๔ คน กระผมได้เข้าไปหาปชาบดีเหล่านั้นแล้ว
ได้กล่าวกะเธอเหล่านั้นว่า ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย
ฉันสมาทานสิกขาบทอันมีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ ผู้ใดปรารถนา
ผู้นั้นจงใช้โภคะเหล่านี้และทำบุญได้ หรือจะกลับไปสู่ตระกูลญาติของตัวก็ได้ หรือประสงค์ชายอื่น ฉันก็จะมอบให้แก่เขา
เมื่อกระผมกล่าวอย่างนี้แล้ว ปชาบดีคนแรกได้พูดกะกระผมว่าขอท่านได้กรุณามอบดิฉันให้แก่ชายชื่อนี้เจ้าค่ะ
กระผมก็ให้เชิญชายผู้นั้นมา เอามือซ้ายจับปชาบดี มือขวาจับเต้าน้ำ หลั่งน้ำมอบให้ชายคนนั้น
ก็เมื่อบริจาคปชาบดีสาวเป็นทาน กระผมไม่รู้สึกว่าจิตแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเลย
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๓ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในตระกูลของกระผมมีโภคทรัพย์อยู่มาก
และโภคทรัพย์เหล่านั้นกระผมแจกจ่ายทั่วไปถึงผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๔ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมเข้าไปหาภิกษุรูปใด
กระผมก็เข้าไปหาด้วยความเคารพทีเดียว
ไม่ใช่เข้าไปหาด้วยความไม่เคารพ
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๕ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หากท่านผู้มีอายุนั้นแสดงธรรมแก่กระผม
กระผมก็ฟังโดยความเคารพแท้ๆ ไม่ใช่ฟังโดยความไม่เคารพ
หากท่านผู้มีอายุนั้นไม่แสดงธรรมแก่กระผม กระผมก็แสดงธรรมแก่ท่านนั้น
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๖ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่น่าอัศจรรย์ที่เทวดาทั้งหลายเข้าไปหากระผม
แล้วบอกว่า ดูกรคฤหบดี ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
เมื่อเทวดาทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว
กระผมจึงพูดเทวดาเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายพึงบอกอย่างนี้หรือไม่พึงบอกอย่างนี้ก็ตาม
แท้ที่จริง ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
แต่กระผมก็ไม่รู้สึกเลยว่า ความฟูใจจะมีมาแต่เหตุนั้น
ข้อที่เทวดาทั้งหลายมาหากระผม หรือกระผมได้ปราศรัยกับเทวดาทั้งหลาย
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๗ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมไม่พิจารณาเห็นสังโยชน์ไรๆ ในโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วนั้นว่า ยังละไม่ได้ในตน
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๘ ของกระผมที่มีอยู่
ข้าแต่ท่านผู้เจริญธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ของกระผมที่มีอยู่นี้แล
กระผมก็ไม่รู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์กระผมว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน ฯ

ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีแล้ว ลุกจากที่นั่งหลีกไป ภายหลังภัต
กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลคำสนทนาปราศรัยกับอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ถูกแล้วๆ อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี
เมื่อจะพยากรณ์ พึงพยากรณ์ตามนั้นโดยชอบ ดูกรภิกษุ เราพยากรณ์อุคคคฤหบดี
ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล
และเธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้ ฯ


อุคคสูตรที่ ๒
[๑๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บ้านหัตถีคาม ในแคว้นวัชชี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคต ครั้นได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ฯ

ครั้งนั้น เวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม
ครั้นแล้วจึงนั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ลำดับนั้น อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามได้เข้าไปหาภิกษุนั้น ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วภิกษุนั้นได้กล่าวกะอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามว่า ดูกรคฤหบดี
พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ
ดูกรคฤหบดี ธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน ฯ

อุคคคฤหบดีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
กระผมไม่ทราบเลยว่า พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์กระผมว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา
๘ ประการเป็นไฉน
แต่ขอท่านได้โปรดฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้ที่มีอยู่
จงใส่ใจให้ดี กระผมจักเรียนถวาย ภิกษุนั้นรับคำอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามแล้ว ฯ

อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในคราวที่กระผมเที่ยวอยู่ในสวนนาควัน
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคแต่ไกลเป็นครั้งแรก พร้อมกับการเห็นนั้นเอง จิตของกระผมก็เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค เมาสุราอยู่ก็หายเมา
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๑ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาโปรดกระผม
คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง และอานิสงส์ในเนกขัมมะ
ในคราวที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบว่า กระผมมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ บันเทิง ผ่องใสแล้ว
จึงทรงประกาศสามุกังสิกาธรรมเทศนาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
เปรียบเหมือนผ้าที่บริสุทธิ์ ไม่หมองดำ จะพึงรับน้ำย้อมได้ดี แม้ฉันใด
ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแล้วแก่กระผม
ณ ที่นั่งนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแจ้งแล้ว หยั่งซึ้งถึงธรรมแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว
ปราศจากความเคลือบแคลงแล้ว ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในสัตถุศาสน์
ได้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ สมาทานสิกขาบทอันมีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ แล้ว ณ ที่นั่งนั้นนั่นแล
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๒ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมได้มีปชาบดีรุ่นสาวอยู่ ๔ คน ได้เข้าไปหาปชาบดีเหล่านั้น
แล้วได้กล่าวกะเธอเหล่านั้นว่า ดูกรน้องหญิงทั้งหลาย ฉันสมาทานสิกขาบทอันมีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕
ผู้ใดปรารถนา ผู้นั้นจงใช้โภคะเหล่านี้และทำบุญได้ หรือจะไปสู่ตระกูลญาติของตัวก็ได้ หรือประสงค์ชายอื่น ฉันก็จะมอบให้แก่เขา
เมื่อกระผมกล่าวอย่างนี้แล้ว ปชาบดีคนแรกได้พูดกะกระผมว่าขอท่านได้กรุณามอบดิฉันให้แก่ชายชื่อนี้เจ้าค่ะ
กระผมให้เชิญชายผู้นั้นมา เอามือซ้ายจับปชาบดี มือขวาจับเต้าน้ำ หลั่งน้ำมอบให้ชายคนนั้น
ก็เมื่อบริจาคปชาบดีสาวเป็นทาน กระผมไม่รู้สึกว่าจิตแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเลย
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๔ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในตระกูลของกระผมมีโภคทรัพย์อยู่มาก
และโภคทรัพย์เหล่านั้นกระผมได้แจกจ่ายทั่วไปกับท่านผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๔ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมเข้าไปหาภิกษุรูปใด กระผมก็เข้าไปด้วยความเคารพทีเดียว ไม่ใช่เข้าไปหาด้วยความไม่เคารพ
หากท่านผู้มีอายุนั้นแสดงธรรมแก่กระผม กระผมก็ฟังโดยเคารพแท้ๆ ไม่ใช่ฟังโดยไม่เคารพ
หากท่านผู้มีอายุนั้นไม่แสดงธรรมแก่กระผม กระผมก็แสดงธรรมแก่ท่านผู้มีอายุนั้น
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๕ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่น่าอัศจรรย์ที่
เมื่อกระผมนิมนต์สงฆ์แล้วเทวดาทั้งหลายเข้ามาบอกว่า ดูกรคฤหบดี
ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต
รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต
รูปโน้นเป็นกายสักขี
รูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ
รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต
รูปโน้นเป็นธัมมานุสารี
รูปโน้นเป็นสัทธานุสารี
รูปโน้นเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
รูปโน้นเป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอังคาสสงฆ์อยู่ก็ไม่รู้สึกว่า ยังจิตให้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า จะถวายแก่ท่านรูปนี้น้อย หรือจะถวายแก่ท่านรูปนี้มาก
แท้ที่จริง กระผมมีจิตเสมอกัน
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๖ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่น่าอัศจรรย์ที่เทวดาทั้งหลายเข้ามาหากระผมแล้วบอกว่า ดูกรคฤหบดี
ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
เมื่อเทวดาทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว
กระผมจึงพูดกะเทวดาเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านจะพึงบอกอย่างนี้หรือไม่พึงบอกอย่างนี้ก็ตาม
แท้ที่จริง ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
แต่กระผมก็ไม่รู้สึกเลยว่า ความฟูใจจะมีมาแต่เหตุนั้น
เทวดาทั้งหลายเข้ามาหากระผม
หรือกระผมได้ปราศรัยกับเทวดาทั้งหลาย
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๗ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็หากว่ากระผมจะพึงทำกาละก่อนพระผู้มีพระภาค
ก็ไม่น่าอัศจรรย์ที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า สังโยชน์อันเป็นเครื่องประกอบให้อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามพึงกลับมาสู่โลกนี้อีกไม่มี
นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๘ ของกระผมที่มีอยู่ ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แลของกระผมที่มีอยู่
แต่กระผมก็ไม่รู้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์กระผมว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน ฯ

ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามแล้ว ลุกจากที่นั่งแล้วหลีกไป
ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลคำสนทนาปราศรัยกับอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามนั้นทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ถูกแล้วๆ อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม
เมื่อจะพยากรณ์ พึงพยากรณ์ตามนั้นโดยชอบ

ดูกรภิกษุ เราพยากรณ์อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล
และเธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้ ฯ


นิฏฐาสูตร
[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ
บุคคล ๕ จำพวกที่สมบูรณ์ด้วยทิฐิเชื่อมั่นในโลกนี้
อีก ๕ จำพวกละโลกนี้ไปแล้ว จึงเชื่อมั่น

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อมั่นในโลกนี้
คือ
พระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ ๑
พระโสดาบันผู้โกลังโกละ ๑
พระโสดาบันผู้เอกพีชี ๑
พระสกทาคามี ๑
พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้เชื่อมั่นในโลกนี้ ฯ

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น
คือ
พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ ๕ จำพวกเหล่านี้นั้น เชื่อมั่นในโลกนี้
บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ ละโลกนี้ไปแล้วจึงเชื่อมั่น ฯ


วิชชา ๒ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
วิชชา ๓ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุและอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

๗. นิพพานธาตุสูตร
ว่าด้วยนิพพานธาตุ
[๔๔] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว
พระสูตรนี้ พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้
นิพพานธาตุ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ
ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความสิ้นไปแห่งราคะ
ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่งโมหะ
ของภิกษุนั้น
นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย
มีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต
ผู้มีจักษุ ผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว
ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว

อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส
เพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ

ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง)
เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า
ชื่อว่าอนุปาทิเสส

ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส
เพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

= อธิบาย =

“สอุปาทิเสส
ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ”

คำว่า สิ้นภวสังโยชน์แล้ว
ได้แก่ ละภวตัณหา(ละรูปภพ อรูปภพ) เป็นสมุจเฉท

“เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว”

คำว่า อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ได้แก่ สมาธินทรีย์ ไม่เสื่อม

“อนุปาทิเสส
ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส
เพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด”

คำว่า มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
ได้แก่ ละกามภพ ละรูปภพ ละอรูปภพ เป็นสมุจเฉท


วิมุตติญาณทัสสนะ(มีเกิดขึ้นขณะทำกาละ)


มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย
ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
อันบุคคลพึงหวังได้ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ…เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
เธอมีสติ หลงลืม
เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ…เวทัลละ
ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ
คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
เธอมีสติหลงลืม
เมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง
บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท
เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้น
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล
พึงได้ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย
หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ…บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรม ในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อน
เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด
นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์
เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า
เขาไม่พึงมีความสงสัย
หรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ
ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ … บทแห่งธรรมทั้งหลาย
ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย
แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท
แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้
หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน
เธอกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์
เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์
สติบังเกิดขึ้นช้า
แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน
เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง
สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้น
อย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้
หรือ เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ
ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการนี้
แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ


= อธิบาย =

“พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี”

คำว่า พระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
ได้แก่ ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องเล่าให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ(ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ยังไม่ได้โสดาปัตติผลตามจริง(บรรลุช้า)
เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

คำว่า พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
ได้แก่ ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องเล่าให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ(ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ได้โสดาปัตติผลตามจริง(บรรลุเร็ว)
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต(ทุกขาปฏิปทา)
ยังไม่ได้อนาคามิผลตามจริง

เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี

คำว่า พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ได้แก่ ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องเล่าให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ(ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ได้โสดาปัตติผลตามจริง(บรรลุเร็ว)
มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน(สุขาปฏิปาทา)
ยังไม่ได้อนาคามิผลตามจริง

เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี

คำว่า พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ได้แก่ ได้แก่ ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องเล่าให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
มีปัญญา(แจ้งอริยสัจ ๔)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ(ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ได้อนาคามิผลผล(วิชชา ๒)ตามจริง(บรรลุเร็ว)
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต(สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา)
ยังไม่ได้อรหัตผล(วิชชา ๓)ตามจริง

เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

คำว่า พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ได้แก่ ได้แก่ ผู้ได้สดับ สุตตะ(ข้อที่ต้องเล่าให้จำได้)
มีศิล(สีลปาริสุทธิ)
มีปัญญา(แจ้งอริยสัจ ๔)
ทำกรรมฐาน
เจริญสมถะ(ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์)
วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
ทำต่อเนื่อง จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ
ได้อนาคามิผล(วิชชา ๒)ตามจริง(บรรลุเร็ว)
มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน(ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา)

ยังไม่ได้อรหัตผล(วิชชา ๓)ตามจริง
เมื่อทำกาละ
เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

หมวดจิตตปาริสุทธิ

หมวดจิตตปาริสุทธิ

สมถะ(ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์)

กามเหสสูตรที่ ๑
[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุอากาสานัญจายตนะ …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ


วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)

กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ


สมถะและวิปัสสนา
๖. อากังเขยยสูตร
ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง
ประกอบด้วยวิปัสสนา
พอกพูนสุญญาคาร

ข้อที่ 1 พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
ได้แก่ สีลปาริสุทธิ
เริ่มจากการสดับ(การฟัง) การศึกษา สุตตะ

ข้อที่ 2 หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ได้แก่ ทำกรรมฐาน
สมถะ(มีบัญญัติเป็นอารมณ์) วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)

ข้อ 3 ไม่ทำฌานให้เหินห่าง
ได้แก่ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในฌาน 1 2 3 4 5 6 7 8

ข้อ 4 ประกอบด้วยวิปัสสนา
เวทนากล้า ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง

ข้อ 5 พอกพูนสุญญาคาร
กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ไม่นำตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
คือปราศจากตัวตน เรา เขา เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น

กามเหสสูตรที่ ๓
[๒๔๙] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสองๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ


ปฏิปทาวรรคที่ ๒

[๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง
โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ฉับพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ

[๑๖๓]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
เธอเข้าไปอาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม …
แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า
เธอย่อมได้บรรลุคุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้
บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาอยู่
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า
เธอย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ

[๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ การปฏิบัติไม่อดทน ๑
การปฏิบัติอดทน ๑
การปฏิบัติข่มใจ ๑
การปฏิบัติระงับ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ย่อมทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหู …
ดมกลิ่นด้วยจมูก …
ลิ้มรสด้วยลิ้น …
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิตไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติข่มใจ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก …
วิหิงสาวิตก …
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ

[๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ การปฏิบัติไม่อดทน ๑
การปฏิบัติอดทน ๑
การปฏิบัติข่มใจ ๑
การปฏิบัติระงับ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่อดทน
ต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย
ต่อถ้อยคำอันหยาบคาย ร้ายแรง
เป็นผู้ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาทางกายอันเกิดขึ้นแล้ว กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่าชื่นใจ ไม่น่าพอใจ อาจปลงชีวิตเสียได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติไม่อดทน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุ …
ฟังเสียงด้วยหู …
สูดกลิ่นด้วยจมูก …
ลิ้มรสด้วยลิ้น …
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย …
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติข่มใจ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก…
วิหิงสาวิตก …
ธรรมอันเป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ

[๑๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในปฏิปทา ๔ ประการนั้น
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา บัณฑิตกล่าวว่า เลวโดยส่วนทั้งสองทีเดียว
คือ กล่าวว่าเลวแม้ด้วยการปฏิบัติลำบาก กล่าวว่าเลวแม้ด้วยการรู้ช้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเลวโดยส่วนทั้งสองทีเดียว
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา บัณฑิตกล่าวว่าเลวเพราะปฏิบัติลำบาก

สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา บัณฑิตกล่าวว่าเลวเพราะรู้ได้ช้า
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา บัณฑิตกล่าวว่าประณีตโดยส่วนทั้งสองทีเดียว
คือ กล่าวว่าประณีตแม้ด้วยการปฏิบัติสะดวก
กล่าวว่าประณีตแม้ด้วยการรู้ได้เร็ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าประณีตโดยส่วนทั้งสองทีเดียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ

[๑๖๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน คือ
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑
ดูกรท่านผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ฯลฯ
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัยทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ

[๑๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่
ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านผู้มีอายุสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ …
ดูกรท่านผู้มีอายุ บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้ …
ดูกรท่านผู้มีอายุ บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัยสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ

[๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสสังขารปรินิพพายี
จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรงในปัจจุบันเทียว
บางคนเมื่อกายแตก
จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี
บางคนเป็นอสังขารปรินิพพายี
จะปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรงในปัจจุบัน
บางคนเมื่อกายแตก จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่
คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา
ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ
สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์
สตินทรีย์
สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์
ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า
เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันเทียว เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม ฯลฯ
อินทรีย์ ๕ ประการคือ
สัทธินทรีย์ …
ปัญญินทรีย์ …
ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอเมื่อกายแตก จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
บรรลุทุติยฌานฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน
เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ ศรัทธา … ปัญญา
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือสัทธินทรีย์ … ปัญญินทรีย์
ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า
เธอเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
บรรลุทุติยฌานฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ
สัทธินทรีย์ …
ปัญญินทรีย์
ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอเมื่อกายแตก จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว

ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง
หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้
มรรค ๔ เป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด


อากังขวรรคที่ ๓
อากังขสูตร

[๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์อยู่เถิด
จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด
จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ ในสิกขาบททั้งหลายเถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก ที่ชอบใจที่เคารพ และที่ยกย่องของสพรหมจารีทั้งหลายไซร้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน
ไม่เหินห่างจากฌาน
ประกอบด้วยวิปัสสนา
เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด

ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลายไซร้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน
ไม่เหินห่างจากฌาน
ประกอบด้วยวิปัสสนา
เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด

ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของชนเหล่าใด
ขอสักการะของชนเหล่านั้นพึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากไซร้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย…
เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด

ถ้าภิกษุพึงหวังว่า ญาติสาโลหิตเหล่าใด ผู้ละไปแล้ว กระทำกาละแล้ว มีจิตเลื่อมใส ย่อมตามระลึกถึง
ขอการระลึกถึงแห่งญาติสาโลหิตเหล่านั้นพึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากไซร้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย …
เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด

ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรบิณฑบาต
เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ไซร้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ ในศีลทั้งหลาย …
เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด

ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย
เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เสือกคลาน
ถ้อยคำอันหยาบช้า
พึงเป็นผู้อดกลั้นต่อทุกขเวทนาอันมีในสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว
กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันไม่ชื่นใจ ไม่พอใจ อันนำชีวิตไปไซร้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้เป็นผู้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย …
เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด

ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดี และความยินดี
และขอความไม่ยินดีและความยินดีไม่พึงครอบงำเรา
เราพึงครอบงำความไม่ยินดี และความยินดีอันเกิดขึ้นแล้วอยู่ไซร้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย …
เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด

ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ครอบงำภัยและความหวาดเสียว
และขออภัยและความหวาดเสียวไม่พึงครอบงำเราได้
เราพึงเป็นผู้ครอบงำภัยและความหวาดเสียวที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ไซร้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย …
เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด

ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔
อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันไซร้
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย …
เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด

ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะไม่ได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ไซร้
ภิกษุเหล่านั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
ประกอบความสงบใจในภายใน
ไม่เหินห่างจากฌาน
ประกอบด้วยวิปัสสนา
เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า
เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์อยู่เถิด
จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด
จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้
เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

= อธิบาย =

“ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่ทำฌานให้เหินห่าง
ประกอบด้วยวิปัสสนา
พอกพูนสุญญาคาร”

ข้อที่ 1 พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
ได้แก่ สีลปาริสุทธิ
เริ่มจากการสดับ(การฟัง) การศึกษา สุตตะ(ข้อที่ต้องเล่าให้จำได้)

ข้อที่ 2 หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ได้แก่ ทำกรรมฐาน
สมถะ(มีบัญญัติเป็นอารมณ์) วิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)

ข้อ 3 ไม่ทำฌานให้เหินห่าง
ได้แก่ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในฌาน 1 2 3 4 5 6 7 8

ข้อ 4 ประกอบด้วยวิปัสสนา
เวทนากล้า ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง

ข้อ 5 พอกพูนสุญญาคาร
กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ไม่นำตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
คือปราศจากตัวตน เรา เขา เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้น

การทำกรรมฐาน
เดินจงกรม ต่อด้วยการนั่ง
เมื่อจิตเป็นสมาธิ จะเป็นสัมมาสมาธิโดยอัตโนมัติ
ทำให้ไม่ต้องปรับอินทรีย์ มีแต่เพิ่มเติมให้นั่งมากขึ้น
หมายถึง เดิน 60 นั่ง 60
เมื่อนั่งครบเวลา ให้นั่งต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต้องสนใจเรื่องเวลา
เวทนากล้าจะปรากฏ
หากเวทนากล้าไม่เกิด ถือเสียว่าได้สมาธิมีเพิ่ม คือมีแต่ได้กับได้ ไม่มีเสีย
แต่คนส่วนมากจะไม่รู้ตรงนี้ มักจะตามเวลาที่กำหนดไว้

บางคนทำตามคือหมดเวลาที่ตั้งไว้ จะนั่งต่อ
เมื่อเจอเวทนากล้าปรากฏ จึงเลิกนั่ง เกิดจากความกลัว
ไม่สามารถผ่านสภาวะนี้ไปได้ สภาวะจะจมแช่อยู่แค่นี้ไม่ไปไหน

บางคนไม่ชอบเดิน จะนั่งอย่างเดียว
จะสมถะ(มีบัญญัติเป็นอารมณ์)หรือวิปัสสนา(มีรูปนามเป็นอารมณ์)
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ก็ต้องปรับอินทรีย์

หากไม่มีการปรับอินทรีย์ สมาธิที่มีเกิดขึ้นยังเป็นมิจฉาสมาธิ
เวลาจิตเป็นสมาธิ จะติดนิมิต ติดเรื่องแปลกๆที่มีเกิดขึ้น ไม่ก็ดิ่ง ไม่รู้สึกตัว

พูดเรื่องโอภาส
โอภาสมีเกิดขึ้นขณะจิตเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน
โดยเฉพาะอรูปฌาน จะมีสภาวะสองสิ่งปรากฏ
คือ แสงสว่าง และใจที่รู้อยู่
หลายๆคนเข้าใจว่านี่เป็นสัมมาสมาธิ
จริงๆและจะมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
เมื่อเข้าถึงอรูปฌาน จะมีสภาวะเกิดขึ้นเหมือนกัน ไม่แตกต่างเลย

ความแตกต่างระหว่างมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
ตรงตัวสัมปชัญญะ

มิจฉาสมาธิ จะขาดความรู้สึกตัว จมแช่อยู่กับโอภาส
ส่วนสัมมาสมาธิ จะไม่จมแช่อยู่กับอรูปฌาน
จะสลับไปมารูปฌานบ้าง รู้ชัดในสติปัฏฐาน ๔
ไม่ก็อรูปฌานปรากฏ
จะรู้ชัดความเกิด กำลังเกิด และความดับในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
นี่คือความแตกต่างของระหว่างสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ

เมื่อปฏิบัติได้อรูปฌาน มีโอภาสกับใจที่รู้อยู่
ต้องปรับอินทรีย์

เคยนั่งเท่าไหร่ ก็ให้เดินก่อนนั่ง ใช้เวลาเท่ากัน
หากตัวสัมปชัญญะยังไม่มีเกิดขึ้น ต้องเพิ่มเวลาการเดินให้มากกว่านั่ง
อาจจะเดิน 2-4 ชม. จนกระทั่งเห็นความเกิดและความดับขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
แล้วตัวสภาวะจะดำเนินไปเอง ไม่ต้องไปทำอะไรอีก แค่อาศัยทำต่อเนื่อง ไม่หยุดทำ

อวิชชาและโมหะ

อวิชชา
ได้แก่
ไม่แจ้งอริยสัจ ๔
ไม่แจ้งเรื่องขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕

ผัสสะ
สักกายทิฏฐิ

คำว่า สักกายทิฏฐิ
ได้แก่ เห็นเป็นตัวตน เรา เขา
ผัสสะมากระทบ เห็นเป็นตัวตน เรา เขา

๖. สักกายทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งสักกายทิฏฐิ
[๓๕๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ.
เมื่อเวทนามีอยู่ …
เมื่อสัญญามีอยู่ …
เมื่อสังขารมีอยู่
เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ.

๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ
[๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างใดหนอ

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีรูป
ย่อมเห็นรูปในตน
ย่อมเห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีเวทนา
ย่อมเห็นเวทนาในตน
ย่อมเห็นตนในเวทนา

ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีสัญญา
ย่อมเห็นสัญญาในตน
ย่อมเห็นตนในสัญญา

ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีสังขาร
ย่อมเห็นสังขารในตน
ย่อมเห็นตนในสังขาร

ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ
ย่อมเห็นวิญญาณในตน
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ
[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีรูป
ไม่เห็นรูปในตน
หรือไม่เห็นตนในรูป

ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีเวทนา
ไม่เห็นเวทนาในตน
หรือไม่เห็นตนในเวทนา

ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีสัญญา
ไม่เห็นสัญญาในตน
หรือไม่เห็นตนในสัญญา

ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีสังขาร
ไม่เห็นสังขารมีในตน
หรือไม่เห็นตนในสังขาร

ย่อมไม่เห็นวิญญาณ
โดยความเป็นตน
ไม่เห็นตนมีวิญญาณ
ไม่เห็นวิญญาณในตน
หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.

= อธิบาย =

วิธีการละสักกายทิฏฐิ
๑. การฟัง
๒. การศึกษา
๓. การสนทนา
๔. ละด้วยศิล
๕. ละด้วยสมาธิ
๖. ละด้วยปัญญา
๗. มรรคผลที่มีเกิดขึ้นตามจริง(สุมจเฉท)
มีเกิดขึ้นครั้งแรกในโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
สภาวะที่มีเกิดขึ้น(เวทนากล้า) แล้วสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ
ทำให้แจ่มแจ้งอุปาทานขันธ์ ๕ และสักกายทิฏฐิที่มีเกิดขึ้นตามจริง


โมหะ

อทุกขอสุขเวทนา
โมหะ ความหลง มิจฉาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี
บิดาไม่มี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้เป็นมิจฉาทิฐิ ฯ

= อธิบาย =

วิธีการละโมหะ
๑. การฟัง
๒. การศึกษา
๓. การสนทนา
๔. ละด้วยศิล

วิธีการปฏิบัติเพื่อละโมหะ(ความหลง)

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้
ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม

ควรรู้จักคำว่า กัลยาณมิตร ตัวแรก
หมายถึง กลุ่มนี้ ผู้ได้สดับแล้ว

ถ้าใครที่มีคุณสมบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
บุคคลนั้นเป็นกัลยาณมิตร
คือผู้นั้นทำได้ก่อน แล้วจึงชักชวนให้คนอื่นกระทำตาม
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้

ข้อแรกคุณสมบัติของกัลยาณมิตร เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายชื่อมหาจัตตารีสกะ
สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ ความเห็นว่า
ทานที่ให้แล้วมีผล
ยัญที่บูชาแล้วมีผล
การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วมีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามีคุณ
บิดามีคุณ
สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ
ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก
นี้เป็นสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ


ข้อที่สอง ชักชวนสร้างกุศล

ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี
บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้
ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว
จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรม
อันกำจัดกิเลสและเธอทั้งปวง
จงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น

ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด ผู้เห็นประโยชน์
พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น
ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย

อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย
ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย
พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก

ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด
ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น
ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท
เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ
ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี
ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำ
และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้
คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

จริงอยู่สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ
ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ทั้งผู้ที่มั่นคง
ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง
ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
และไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่
พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก
พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง
พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์
ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด
คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง

สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว
อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้
ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว

บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
ว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว
แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท
ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ

= อธิบาย =

คำว่า ได้บรรลุธรรมไปแล้ว
ได้แก่ สิ้นสงสัย

คำว่า ทั้งผู้ที่มั่นคง
ได้แก่ พระโสดาบัน

คำว่า ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ได้แก่ ยังละตัณหาไม่ได้

“จริงอยู่สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน”
ได้แก่ มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้


โยนิโสมนสิการ

“ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส ครอบงำแล้ว
ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ท่วมทับแล้ว”

นี่คือประโยชน์ของการสดับและการศึกษา
พร้อมๆกับการรักษาศิลและทำกรรมฐาน

หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้
ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เบื้องหน้าแต่ตายไป
เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสัตว์เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เบื้องหน้าแต่ตายไป เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

อุปาทาน ๔

ก็ว่าแล้ว เมื่อวานเขียนๆ ดูแปลกๆ
กลางดึกจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตมีพิจรณาที่ละส่วนๆๆๆ
สุดท้ายทิฏฐุปาทาน ก็ปรากฏตามจริง
บัญญัติปกปิด ทำให้มองไม่เห็น
ก่อนโน้นๆๆๆๆๆ มองไม่เห็น เหมือนจะขัดข้อง
ก็กำหนดตามจริง รอเวลา
เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม ตัวรู้จะผุดขึ้นมาเอง

คำว่า ตัวรู้
หมายถึง สตินทรีย์


๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยมูลแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
[๑๘๔] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีอะไรเป็นมูลเหตุ พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีฉันทะเป็นมูลเหตุ ฯลฯ

ภิ. อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น
หรือว่าอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ พระเจ้าข้า?

พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ ๕ ก็อันนั้น หามิได้
และอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็หามิได้
แต่ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นเป็นตัวอุปาทาน


อุปาทาน ๔

กามุปาทาน
คำว่า กามุปาทาน
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ได้แก่
กามตัณหา (สกทาคามิผล ละได้)
ภวตัณหา (อนาคามิผล ละได้) พระอรหันต์ปัจจุบัน(อรหัตมรรค)
วิภวตัณหา (อรหัตผล ละได้) พระอรหันต์ที่ได้วิชชา ๓

ทิฏฐุปาทาน
คำว่า ทิฏฐุปาทาน
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า ทิฏฐิปาริสุทธิ
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔ มี ๔ รอบ ๑๖ ประการ
โสดาปัตติผล
สกทาคามิผล
อนาคามิผล
อรหัตผล

สีลัพพตุปาทาน
คำว่า สีลัพพตุปาทาน
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

สีลปาริสุทธิ
คำว่าสีลปาริสุทธิ
ปราศจากตัณหาและทิฏฐิ (โสดาบัน ละได้)

อัตตวาทุปาทาน
คำว่า อัตตวาทุปาทาน(วาทะอัตตา)
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
ได้แก่
สักกายทิฏฐิ (โสดาปัตติผล จึงละได้)
อัตตานุทิฏฐิ (อนาคามิผล จึงละได้) พระอรหันต์ปัจจุบัน

๑. พรหมชาลสูตร
ทิฏฐิ ๖๒ คือ
๑. สัสสตวาทะ
(วาทะว่าอัตตาและโลกเที่ยง) ๔

๒. เอกัจจสัสสติกวาทะ
(วาทะว่าอัตตาและโลกเที่ยงบางอย่าง) ๔

๓. อันตานันติกวาทะ
(วาทะว่าอัตตาและโลกไม่มีที่สุด) ๔

๔. อมราวิกเขปิกวาทะ
(วาทะที่ลี้หลบเลี่ยงไม่แน่นอน) ๔

๕. อธิจจสมุปปันนิกวาทะ
(วาทะว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัย) ๒

๖. สัญญีวาทะ
(วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญา) ๑๖

๗. อสัญญีวาทะ
(วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วไม่มีสัญญา) ๘

๘. เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ
(วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ๘

๙. อุจเฉทวาทะ
(วาทะว่าอัตตาหลังจากตายแล้วขาดสูญ) ๗

๑๐. ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ
(วาทะว่ามีสภาพบางอย่างเป็นนิพพานปัจจุบัน) ๕

เมษายน 2022
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930  

คลังเก็บ