วิธีทำให้สมาธิเกิด

การทำให้สมาธิเกิด มีหลายวิธี ซึ่งมีอยู่ในอิทธิบาท ๔

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ฉันทสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ

เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร

ฉันทะนี้ด้วย ฉันทสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาท
ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร.

ฉันทสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดขึ้นจาก ทำตามสัปปายะที่ถูกจริตของตัวเอง ทำตามอิริยาบทที่ตัวเองถนัด ไม่จำเป็นจะต้องนั่งในท่าขัดสมาธิเสมอไป ในอิริยาบทอื่นๆก็สามารถทำให้เกิดสมาธิได้

อิริยาปโถ-อิริยาบถ

แม้ในอิริยาบถ ๔ บางคนมีอิริยาบถเดินเป็นที่สบาย บางคนมีอริยาบทนอน อิริยาบทยืนหรืออิริยาบทนั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่สบาย เพราะฉะนั้น โยคีบุคคลพึงทดลองอิริยาบถนั้นๆอย่างละ ๓ วัน เหมือนกับทดลองที่อยู่

ในอิริยาบถใด จิตยังไม่ตั้งมั่น ย่อมตั้งมั่น หรือจิตที่ตั้งมั่นแล้ว ย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น พึงทราบว่าอิริยาบทนั้น ชื่อว่าเป็นอิริยาบถเป็นที่สบาย อิริยาบถอื่นๆนอกจากนี้ ไม่ใช่เป็นอิริยาบทที่สบาย

โภชนะ-อาหาร

อาหารที่มีรสหวาน ย่อมเป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน ที่มีรสเปรี้ยว ย่อมเป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน

แม้อากาศเย็นก็เป็นที่สบาย สำหรับบุคคลบางคน อากาศร้อนเป็นที่สบาย สำหรับบุคคลบางคน

เพราะฉะนั้น เมื่อโยคีบุคคลส้องเสพอาหารหรืออากาศชนิดใด จึงมีความผาสุกสบาย หรือจิตที่ยังไม่ตั้งมั่นย่อมตั้งมั่น หรือจิตที่ตั้งมั่นแล้ว ย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น

อาหารชนิดนั้นและอากาศชนิดนั้น ชื่อว่าเป็นที่สบาย อาหารและอากาศชนิดอื่น นอกจากนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่สบาย

อาวาส-ที่อยู่

เมื่อโยคีบุคคลอยู่ ณ ที่ใด นิมิตหมายเกิดขึ้นด้วย ย่อมถาวรมั่นคงด้วยสติ ย่อมตั้งมั่นในนิมิตนั้น จิตก็เป็นสมาธิ ที่อยู่เช่นนี้ชื่อว่า ที่อยู่เป็นที่สบาย เพราะฉะนั้น ในวัดใดที่มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน ในวัดเช่นนั้น

โยคีบุคคลพึงอาศัยทดลองดู แห่งละ ๓ วัน ณ แห่งใดทำให้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ ก็พึงอยู่ ณ ที่แห่งนั้นเถิด จริงอยู่ เพราะเหตุได้ที่อยู่เป็นที่สบาย

วิริยสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิตนี้ เรียกว่า วิริยสมาธิ
เธอยังฉันทะให้เกิด ฯลฯ เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
วิริยะนี้ด้วย วิริยสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร.

วิริยสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดจากความเพียรพยายามทำให้เกิดขึ้น ได้แก่ กรรมฐาน ๔๐ กอง

จิตตสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยจิตแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า จิตตสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด ฯลฯ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร

จิตนี้ด้วย จิตตสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร.

จิตตสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดจากการกำหนดต้นจิต

วิมังสาสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิตนี้เรียกว่า วิมังสาสมาธิ

เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย

เพื่อความเจริญยิ่งๆขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่าปธานสังขาร วิมังสานี้ด้วย วิมังสาสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้
นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.

วิมังสาสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดจากการนำเรื่องธรรมะต่างๆมาพิจรณา เช่น ขันธ์ ๕ ปฏิจจสมุปปบาทฯลฯ

เหตุของแต่ละคนแตกต่างกันไป แนวทางการปฏิบัติจึงมีข้อปลีกย่อยแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัยของบุคคลนั้น ใช่ว่าปฏิบัติแบบเดียวกันจะได้ผลหรือสภาวะเหมือนกัน

สมาธิทุกคนน่ะมีอยู่แล้ว เพียงแต่วิธีที่จะนำสมาธิที่มีอยู่นั้นออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร หากจับจุดได้ถูก การทำจิตให้ตั้งมั่นหรือทำให้เป็นสมาธิไม่ใช่เรื่องยาก

การหลีกเว้นและการคบหา

โดยหลีกเว้นบุคคลผู้ไม่มีสมาธิ

การหลีกเว้นเสียอย่างห่างไกล ซึ่งบุคคลทั้งหลายจำพวกที่ไม่เคยก้าวขึ้นสู่เนกขัมมปฏิปทา คือ ไม่เคยปฏิบัติปฏิปมาที่ให้ออกจากกาม มัวแต่วิ่งวุ่นอยู่ในกิจการเป็นอันมาก มีใจฟุ้งเฟ้อไปในกิจการนั้นๆ ชื่อว่า หลีกเว้นคนผู้ไม่มีสมาธิ

โดยคบหาบุคคลผู้มีสมาธิ

การเข้าไปคบหาสมาคมกับบุคลลทั้งหลาย จำพวกที่ปฏิบัติเนกขัมมปฏิปทา ได้สำเร็จสมาธิโดยกาลอันควรตลอดกาล ชื่อว่า สมาคมกับบุคคลผู้มีสมาธิ

โดยน้อมจิตไปในสมาธินั้น

ความน้อมจิตไปในอันที่จะทำสมาธิให้บังเกิดขึ้น คือ ความหนักในสมาธิ ความน้อมไปในสมาธิ ความทุ่มเทไปในสมาธิ ชื่อว่า น้อมจิตไปในสมาธินั้น โยคีบุคคลพึงทำอัปปนาโกศลให้เกิดขึ้นโดยบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้

ต้องทำให้ชำนาญด้วยวสี ๕

ก็แหละโยคีบุคคลผู้แรกทำกัมมัฏฐาน ซึ่งได้บรรลุปฐมฌาน แม้กระทั่งฌานอื่นๆตามเหตุปัจจัยที่เคยกระทำมา ต้องฝึกเข้าฌานให้มากๆ แต่อย่าพิจรณาองค์ฌานให้มาก

เพราะเมื่อพิจรณามาก องค์ฌานทั้งหลายก้จะปรากฏเป็นสภาวะที่หยาบมีกำลังน้อย และเพราะเหตุปรากฏด้วยอาการอย่างนั้น องค์ฌานเหล่านั้นก็จะถึงซึ่งความเป็นปัจจัยแก่ความขวนขวายเพื่อภาวนาเบื้องสูงไปเสีย

เมื่อเธอสาละวนขวนขวายอยู่ในฌานที่ยังไม่คล่องแคล่ว เธอจะเสื่อมจากฌานปฐมฌานหรือฌานที่เกิดตามเหตุปัจจัยที่เคยทำไว้ ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุซึ่งทุติยฌานหรือแม้กระทั่งฌานอื่นๆนั้นด้วย

เปรียบเหมือนแม่โคโง่ไม่ชำนาญภูเขา

ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างแม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขา ตัวที่โง่ไม่ชำนาญไม่รู้เขตที่หากิน ไม่ฉลาดเพื่อท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่ราบเรียบ

แม่โคนั้น จะพึงคิดอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอเราจะพึงไปทิศที่ยังไม่เคยไป จะพึงได้กัดกินหญ้าที่ยังไม่เคยกัดกิน จะพึงได้ดื่มน้ำที่ยังไม่เคย

ครั้นแล้วมันยังไม่ทันได้เหยียบเท้าหน้าไว้ให้ได้ทีเสียก่อน แล้วยกเท้าหลังขึ้น มันก็จะไม่พึงไปทิศที่ตนไม่เคยไป ไม่พึงได้กัดกินหญ้าที่ตนยังไม่เคยกัดกิน และไม่พึงได้ดื่มน้ำที่ตนยังไม่เคยดื่ม

มิหนำซ้ำ มันยังไม่พึงกลับคืนมาโดยสวัสดียังสถานที่เดิมที่มันยืนคิดอยู่ว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงไปถึงทิศที่ยังไม่เคยไป จะพึงได้กัดกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน จะพึงได้ดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม ฉะนี้ด้วย ข้อนั้นเพราะมีอะไรเป็นเหตุเล่า?

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุว่า แม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขานั้น มันโง่ มันไม่ชำนาญ มันไม่รู้จักเขตที่หากิน มันไม่ฉลาดเพื่อที่จะท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่เรียบราบโดยแท้ ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ก็ฉันเดียวกันนั่นเทียว คือ เป็นคนโง่ เพราะ ไม่ได้ส้องเสพสมถนิมิต เป็นคนไม่ชำนาญ เพราะไม่ทำสมาธิให้เจริญขึ้นซึ่งปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากความสงัดอยู่

เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ได้ส้องเสพนิมิต (เครื่องหมายหรือสภาวะ คนละอย่างกับนิมิตแสง สี เสียง ภาพ) นั้น ไม่ทำให้นิมิตนั้นให้เจริญขึ้น ไม่ทำให้มากๆเข้า ไม่ทำให้ตั้งอยู่ด้วยดี

ถึงเธอจะมีความคิดอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงบรรลุซึ่งทุติยฌานอันเป็นภายใน ประกอบด้วยความเลื่อมใสแห่งใจ มีภาวะที่ให้ธรรมอันประเสริฐเกิดขึ้น

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไปแล้ว มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เธอก็ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุซึ่งทุติยฌาน …. นั้นได้

ถึงเธอจะมีความคิดขึ้นอย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอ เราจะพึงบรรลุถึงซึ่งปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่ความสงัดอยู่

เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดแล้วแน่นอนจากอกุศลกรรมทั้งหลาย เธอก็ไม่สามารถเพื่อที่จะบรรลุซึ่งปฐมฌาน ….. นั้นได้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้พลัดตกเสียแล้วจากฌานทั้ง ๒ เป็นผู้เสื่อมสูญแล้ว จากฌานทั้ง ๒ เปรียบเหมือนแม่โคที่ชอบเที่ยวไปตามภูเขา ซึ่งเป็นสัตว์โง่ไม่ชำนาญ ไม่รู้จักขอบเขตที่หากิน ไม่ฉลาดเพื่อท่องเที่ยวไปตามภูเขาอันไม่ราบเรียบนั้น

เพราะเหตุฉะนี้ อันโยคีบุคคลนั้น จำเป็นต้องเป็นผู้สั่งสมวสี คือ ความสามารถด้วยอาการ ๕ อย่าง ในปฐมฌานนั้นนั่นเทียวเสียก่อน

เหตุของการปล่อยวาง

ทุกข์ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ จะรู้ชัดในสภาวะทุกข์จนถึงที่สุดแล้วเบื่อ สุดท้ายจิตปล่อยวางลงไปเอง เป็นเหตุให้ปัญญาเกิด จึงเห็นตามความเป็นจริงว่า ทุกข์ก็ไม่เที่ยง

สุข เมื่อกำหนดรู้สุข จะรู้ชัดในสภาวะสุขถึงที่สุดแล้วเบื่อ สุดท้ายจิตจะปล่อยวางลงไปเอง เป็นเหตุให้ปัญญาเกิด จึงเห็นตามความเป็นจริงว่า สุขก็ไม่เที่ยง

เบื่อ เมื่อกำหนดรู้เบื่อ จะรู้ชัดในสภาวะเบื่อจนถึงที่สุด แม้ไม่มีเหตุอันใดก็เกิดเองเป็นเอง เบื่อสุดจะเบื่ออยู่ภายใน สุดท้ายจิตจะปล่อยวางลงไปเอง เป็นเหตุให้ปัญญาเกิด จึงเห็นตามความเป็นจริงว่า เบื่อก็ไม่เที่ยง

ทุกข์ก็ไม่เที่ยง สุขก็ไม่เที่ยง เบื่อก็ไม่เที่ยง เห็นตามความจริงๆได้เนืองๆเช่นนี้ จิตจึงเกิดความเบื่อหน่ายคลายหนัด เพราะเห็นโทษของการเกิด จิตมุ่งพระนิพพานคือการสร้างเหตุของการไม่เกิดอีกต่อไป

การปฏิบัติหรือทำทุกวันนี้ จึงไม่ได้ทำเพราะความอยากอีกต่อไป แม้กระทั่งคำบัญญัติต่างๆที่เรียกว่าอะไรๆ ไม่สามารถทำให้จิตเกิดการกระเพื่อมอีกต่อไป ที่ทำเพราะรู้ รู้แล้วจึงทำ ทำเหมือนกับการใช้ชีวิตประจำวันในทุกๆวัน ทำเป็นเรื่องปกติ

เหมือนที่ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ แต่การทำเพื่อหาเลี้ยงชีพทางโลก ทำเท่าไหร่ก็ไม่จบ เพราะฝั่งอยู่ตรงไหนก็มองไม่เห็น

การปฏิบัติหรือการทำเช่นนี้ เพียงรู้ชัดอยู่ในกายและจิตหรือรูปนามเนืองๆ ก็หาเลี้ยงชีพเหมือนกัน เลี้ยงชีพที่ทำแล้วจบ เพราะเห็นฝั่งแล้ว จึงไม่ต้องหาอะไรอีกต่อไป

การปล่อยวางมีทั้งภายนอกและภายใน

ปล่อยวางภายนอก

ได้แก่ ปล่อยวางในสิ่งที่เกิดขึ้น คือ ผัสสะต่างๆที่มากระทบ

ผัสสะ

ผัสสะที่เกิดขึ้น หรือสิ่งที่มากระทบ ล้วนมีเหตุปัจจัย เมื่อยังมีเหตุอยู่ ย่อมมีผลมาแสดงให้เกิดขึ้นในรูปของผัสสะ เป็นเหตุให้ก่อให้เกิดความรู้สึกชอบ,ชังในสิ่งที่เกิดขึ้น หากไม่มีเหตุร่วมกันจะไม่มีความรู้สึกใดๆเกิดขึ้น

ตราบใดที่ยังมีกิเลส ย่อมมีความชอบ, ชัง การปล่อยวาง คือ ทำใจให้แยบคาย ได้แก่ มนสิการไว้ในใจพอประมาณ รู้สึกอย่างไร รู้ไปตามนั้น อย่าก่อให้เกิดการกระทำใดๆออกมา

เหตุมี ผลย่อมมี

หากก่อให้เกิดการกระทำใดๆออกมา ไม่ว่าจะทางชอบ, ชัง ตามความรู้สึกขณะนั้นๆ ล้วนมีผลให้ได้รับทั้งสิ้น ทำอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น เหตุตรงนี้ล้วนเป็นต้นเหตุของการเกิดในครั้งต่อๆไป

หากไม่ได้ก่อให้เกิดการกระทำออกมา แต่มีความรู้สึกนึกคิดอยู่ในใจ เมื่อยังมีเหตุ ย่อมมีผลอย่างแน่นอน มากน้อยอยู่ที่การยึดติดในความคิด เพียงแต่ผลที่ได้รับตรงนี้ไม่มากเท่ากับการได้สร้างเหตุออกไป

ปล่อยวางภายใน

ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เพียงหมั่นรู้ลงไปในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในจิต ยอมรับไปตามความเป็นจริงต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ ตราบใดที่ยังมีกิเลส ย่อมมีการให้ค่า ถ้ามีให้ค่า จงยอมรับว่าให้ค่า

ทุกอย่างล้วนมีเหตุ ให้ค่าแล้วยึดติดก็เกิดจากเหตุ ให้ค่าแล้วไม่ยึดติดก็เกิดจากเหตุ เพียงหมั่นรู้ชัดอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรมบ่อยๆ การให้ค่าจะลดน้อยลงไปเอง จนกระทั่งเห็นตามความเป็นจริงในที่สุด

มีเหตุ ย่อมมีผล

เมื่อปล่อยวางลงไปบ่อยๆได้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริงมากขึ้น คือ ความไม่เที่ยง เป็นเหตุให้การคาดเดาที่มีอยู่ลดน้อยลงไป ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นเหตุให้ก่อให้เกิดการกระทำใดๆออกมา ย่อมลดน้อยลงไป

เป็นเหตุให้นับวันรู้ชัดอยู่ในกายและจิตมากขึ้น ปัญญาย่อมเกิดขึ้นเนืองๆ เป้นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดตามสภาวะ ตามความเป็นจริง ไม่ใช่เกิดจากการน้อมเอาคิดเอาเพื่อให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด สุดท้ายจิตปล่อยวางลงไปเอง

สภาวะ

สภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายในมีไว้ให้กำหนดรู้ ไม่ว่าจะรู้สึกอย่างไร กำหนดรู้ไปตามนั้น มนสิการไว้ในใจ เพียงทำต่อเนื่อง หมั่นรู้ชัดในกายและจิต สภาวะจะดำเนินไปตามสภาวะเอง การปฏิบัติจึงสะดวกสบายเป็นไปตามเหตุ

ปฏิบัติแล้วทุกข์, สุข

ทุกข์, สุข เพราะความไม่รู้ ถึงแม้รู้แล้วก็ยังทุกข์, สุข เพราะยังยึดติดในสภาวะ ยังมีการให้ค่าต่อสภาวะว่าดี,ไม่ดี บางครั้งยึดติดในบัญญัติเรียกนั่นเรียกนี่ ย่อมมีทุกข์บ้าง สุขบ้าง ตามการให้ค่า

บางวันดีระเบิดระเบ้อ บางวันห่วยแบบสุดๆ เหตุเกิดจากไปจดจ้องสภาวะ ว่าจะต้องเป็นแบบนั้น เป็นแบบนี้ พอไม่ได้ดั่งใจบ้าง ได้ดั่งใจบ้าง ตามแต่จะให้ค่าต่อสภาวะที่เกิดขึ้น จึงประสพกับทุกข์, สุขเนืองๆ

เพียงกำหนดรู้

ทุกข์ก็ให้รู้ สุขก็ให้รู้ รู้สึกอย่างไรก็ให้รู้ ยอมรับไปตามความเป็นจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต รู้ไปตามนั้น รู้ได้บ่อยๆจะเห็นแต่ความไม่เที่ยง จิตจะปล่อยวางลงไปเอง โดยไม่ต้องไปคิดพิจรณาเพื่อให้เกิดการปล่อยวาง

เหตุมี ผลย่อมมี บางคนชอบคิด อยากจะคิดก็คิดไป อุบายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน รู้แค่ว่า สภาวะทั้งหมดนี้ ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมา รู้เพียงแค่นี้ แล้วหมั่นรู้ในกายและจิต รู้เท่านี้มันก็จบ หากยังไม่รู้ย่อมแสวงหาต่อไป

บันทึก

แท้จริงแล้ว ชีวิตไม่ได้มีอะไรเลย มีแต่การกระทำเดิมๆซ้ำๆ แตกต่างแค่เหตุการณ์ แค่บุคคลที่มีวิบากร่วมกับเราเท่านั้นเอง ที่เหลือ ไม่มีความแตกต่างเลย หลงใช้ชีวิตเวียนวนโดยไม่รู้ว่าหลง

นี่แหละเหตุของการเกิด การก่อให้เกิดภพชาติไปด้วยความหลง พอมารู้เห็นความจริงของชีวิตที่เป็นอยู่จริง ตามสภาวะของชีวิต จิตจึงเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัดเพราะเหตุนี้

ต่อให้มีครอบครัวที่ดี มีชีวิตที่ดีแบบสุดๆ รวยแสนรวยแค่ไหน ให้รวยล้นฟ้าจนไม่มีที่จะเก็บเงิน ทำทานมากเท่าไหร่ เงินไม่ยอมหมด แล้วเป็นยังไง ชีวิตยังคงเวียนวนเหมือนเดิม นี่แหละความหลง ความไม่รู้ กิเลสบดบังจิต

จิตที่มืดบอด ปัญญาไม่เกิด จึงมองไม่เห็นตามความเป็นจริง พอรู้แล้ว เห็นแล้วว่า ความเป็นจริงของชีวิตคืออะไร ยิ่งเห็นชัดมากเท่าไหร่ ยิ่งเกิดความเบื่อหน่ายยิ่งกว่าสิ่งใด ความเพียรจึงเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องมีความอยากที่จะทำ

ความอยากมี อยากได้เป็นอะไรๆในบัญญัติที่นำมาเรียกๆกันนั้นไม่มีในจิต ตราบใดที่ยังมีกิเลส ตราบนั้นยังต้องมีการเกิด ตราบใดที่ยังต้องมีการระวัง นั่นหมายถึงยังมีเหตุ เพราะผลยังคงให้ได้รับอยู่ หากหมดเหตุแล้วจริงๆ ไม่ต้องคอยระวัง

๒๒- ๒๔ กย.๕๔

๒๒ กย.๕๔

เมื่อคืน ก่อนจะหลับ จิตเป็นสมาธิขึ้นมาเอง สภาวะหลังๆ จิตจะเป็นสมาธิบ่อยมากกว่าเมื่อก่อน แม้กระทั่งเวลานอน จิตจะเป็นสมาธิก่อนนอน จนกระทั่งหลับไปเอง

เช้า ระหว่างเดินทาง ขณะที่นั่งอยู่ในรถ จิตเป็นสมาธิต่อเนื่อง รู้สึกตัวเป็นระยะๆ

เมื่อคืนได้ดูคลิปของพระภิกษุรูปหนึ่งแสดงอากัปกิริยา ถ้าเป็นเราในสมัยก่อนคงจะรู้สึกปริ๊ดว่าเป็นพระ ทำแบบนี้ได้ยังไง แต่เมื่อคืนนี้ดูจิตตัวเองไปด้วย ดูการกระทำของพระไปด้วย มองเห็นความขบขันในจิต ต่อสิ่งที่ท่านแสดงออกทั้งหมด

ดูไปสักพัก เห็นข้อความ “สมีเอก” เราก็ว่าเป็นพระท่านนี้เองรึ คือ ด้วยความบังเอิญ เคยดูคลิปที่ท่านสอนเรื่องเดินจงกรม แล้วท่านทำท่าทางประกอบและวิจารณ์ของสายพองหนอ ยุบหนอ ซึ่งก็เหมือนๆที่เคยอ่านๆเจอในที่อื่นๆ เป็นคนอื่นวิจารณ์

พอระลึกขึ้นมาได้ ถึงบางอ้อเลย อ๋อ!!!! เพราะเหตุมี ผลย่อมมี เป็นแบบนี้นี่เอง ซึ่งไม่แตกต่างกับท่านอื่นๆที่ชอบวิจารณ์แนวทางปฏิบัติอื่นๆว่าผิด แล้วบอกว่า ของตัวเองนั้นถูก เรื่องกรรมหรือการกระทำนี่ ไม่มีข้อยกเว้น ใครทำอย่างไร ได้อย่างนั้น

แต่เหตุการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องจากเหตุที่ไปว่ากล่าวติติงแนวทางการปฏิบัติแบบอื่นๆโดยตรง แต่เกิดจากเหตุที่แต่ละคนกระทำมาในอดีต และที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่ในปัจจุบันอีก แม้กระทั่งคนอื่นๆก็เช่นเดียวกัน

ยังมีนะมองนอกตัว แต่มองด้วยความเข้าใจ ไม่ได้เพ่งโทษ เพราะยังมีเหตุ จิตจึงมีกระเพื่อม ถึงแม้จะมองแบบขำๆก็ตาม หากไม่มีเหตุ ย่อมไม่รู้สึกอะไร

รอบแรก เดินกับยืน ๒ ชม. นั่งที่พื้นและที่โซฟา ๑ ชม. ๔๐ นาที

รอบ ๒ เดินกับยืน ๓ ชม. นั่งที่โซฟา ๑ ชม.

๒๓ กย.

เช้า ระหว่างเดินทาง จิตยังคงเป็นสมาธิ จนถึงที่ทำงาน

ยังคงเจอสภาวะเบื่อ พักนี้เจอสภาวะนี้บ่อยมากกว่าสภาวะอื่นๆ ได้แต่ดู ไม่รู้สึกชอบหรือชังหรือมีความรู้สึกใดๆกับสภาวะที่เกิดขึ้น

ไม่ปรารถนาการเกิดในชาติต่อๆไปอีก เพราะแท้จริงแล้ว ชีวิตไม่ได้มีอะไรเลย มีแต่การกระทำเดิมๆซ้ำๆ แตกต่างแค่เหตุการณ์ แค่บุคคลที่มีวิบากร่วมกับเราเท่านั้นเอง ที่เหลือ ไม่มีความแตกต่างเลย หลงใช้ชีวิตเวียนวนโดยไม่รู้ว่าหลง

นี่แหละเหตุของการเกิด การก่อให้เกิดภพชาติไปด้วยความหลง พอมารู้เห็นความจริงของชีวิตที่เป็นอยู่จริง ตามสภาวะของชีวิต จิตจึงเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัดเพราะเหตุนี้

ต่อให้มีครอบครัวที่ดี มีชีวิตที่ดีแบบสุดๆ รวยแสนรวยแค่ไหน ให้รวยล้นฟ้าจนไม่มีที่จะเก็บเงิน ทำทานมากเท่าไหร่ เงินไม่ยอมหมด แล้วเป็นยังไง ชีวิตยังคงเวียนวนเหมือนเดิม นี่แหละความหลง ความไม่รู้ กิเลสบดบังจิต

จิตที่มืดบอด ปัญญาไม่เกิด จึงมองไม่เห็นตามความเป็นจริง พอรู้แล้ว เห็นแล้วว่า ความเป็นจริงของชีวิตคืออะไร ยิ่งเห็นชัดมากเท่าไหร่ ยิ่งเกิดความเบื่อหน่ายยิ่งกว่าสิ่งใด ความเพียรจึงเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องมีความอยากที่จะทำ

ความอยากมี อยากได้เป็นอะไรๆในบัญญัติที่นำมาเรียกๆกันนั้นไม่มีในจิต ตราบใดที่ยังมีกิเลส ตราบนั้นยังต้องมีการเกิด ตราบใดที่ยังต้องมีการระวัง นั่นหมายถึงยังมีเหตุ เพราะผลยังคงให้ได้รับอยู่ หากหมดเหตุแล้วจริงๆ ไม่ต้องคอยระวัง

รอบแรก เดินกับยืน ๑/๒ ชม. นั่งที่โซฟา ๑ ชม. ๔๐ นาที

รอบ ๒ เดินกับยืน ๑ ชม. นั่งที่พื้น ๑ ชม.

รอบ ๓ เดินกับยืน ๒ ชม. นั่งที่โซฟา ๔๕ นาที

ทุกข์ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ จะรู้ชัดในสภาวะทุกข์จนถึงที่สุดแล้วเบื่อ สุดท้ายจิตปล่อยวางลงไปเอง เป็นเหตุให้ปัญญาเกิด จึงเห็นตามความเป็นจริงว่า ทุกข์ก็ไม่เที่ยง

สุข เมื่อกำหนดรู้สุข จะรู้ชัดในสภาวะสุขถึงที่สุดแล้วเบื่อ สุดท้ายจิตจะปล่อยวางลงไปเอง เป็นเหตุให้ปัญญาเกิด จึงเห็นตามความเป็นจริงว่า สุขก็ไม่เที่ยง

เบื่อ เมื่อกำหนดรู้เบื่อ จะรู้ชัดในสภาวะเบื่อจนถึงที่สุด แม้ไม่มีเหตุอันใดก็เกิดเองเป็นเอง เบื่อสุดจะเบื่ออยู่ภายใน สุดท้ายจิตจะปล่อยวางลงไปเอง เป็นเหตุให้ปัญญาเกิด จึงเห็นตามความเป็นจริงว่า เบื่อก็ไม่เที่ยง

ทุกข์ก็ไม่เที่ยง สุขก็ไม่เที่ยง เบื่อก็ไม่เที่ยง เห็นตามความจริงๆได้เนืองๆเช่นนี้ จิตจึงเกิดความเบื่อหน่ายคลายหนัด เพราะเห็นโทษของการเกิด จิตมุ่งพระนิพพานคือการสร้างเหตุของการไม่เกิดอีกต่อไป

การปฏิบัติหรือทำทุกวันนี้ จึงไม่ได้ทำเพราะความอยากอีกต่อไป แม้กระทั่งคำบัญญัติต่างๆที่เรียกว่าอะไรๆ ไม่สามารถทำให้จิตเกิดการกระเพื่อมอีกต่อไป ที่ทำเพราะรู้ รู้แล้วจึงทำ ทำเหมือนกับการใช้ชีวิตประจำวันในทุกๆวัน ทำเป็นเรื่องปกติ

เหมือนที่ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ แต่การทำเพื่อหาเลี้ยงชีพทางโลก ทำเท่าไหร่ก็ไม่จบ เพราะฝั่งอยู่ตรงไหนก็มองไม่เห็น

การปฏิบัติหรือการทำเช่นนี้ เพียงรู้ชัดอยู่ในกายและจิตหรือรูปนามเนืองๆ ก็หาเลี้ยงชีพเหมือนกัน เลี้ยงชีพที่ทำแล้วจบ เพราะเห็นฝั่งแล้ว จึงไม่ต้องหาอะไรอีกต่อไป

รอบ ๔ เดินกับยืน ๑/๒ ชม. นั่งที่โซฟา ๑/๒ ชม.

๒๔ กย.

รู้ชัดในจิตที่ขณะที่เริ่มเป็นสมาธิมากขึ้น

ทุกวันนี้เวลานอน จิตจะเป็นสมาธิก่อนนอนทุกขึ้น เพียงหลับตาลงจิตจะเป็นสมาธิทันที บางครั้งมีโอภภาสเกิดร่วม สว่างมากน้อยแต่ละครั้งไม่เท่ากัน

ที่สังเกตุเห็นได้ชัดคืออาการของจิตเวลาเป็นสมาธิ มีอาการรู้ชัดลงไปในเวลาเกิดชัดมากขึ้น เหมือนอาการรู้ชัดในฝ่าเท้า ที่มีอาการเสียวาบๆในฝ่าเท้าทุกๆครั้งที่เดิน ในจิตก็รู้ชัดแบบนั้นเช่นกัน

รอบแรก เดินกับยืน ๒๐ นาที นั่งที่โซฟา ๓ ชม.
ทุกๆครั้งที่จิตได้พักในสมาธิแบบเต็มอิ่ม จิตสดชื่น เบิกบาน สภาวะเช่นนี้จะมีตัวปัญญาเกิด ครั้งนี้ก็เช่นกัน จิตแจ่มใสมากๆ จิตไม่ไปครุ่นคิดทางโลกแบบก่อนๆ มีแต่คิดพิจรณาเรื่องธรรมะ

รอบที่ ๒ เดินกับยืน ๒ ชม. นั่งที่โซฟา ๑ ชม.

มีโอภาสเกิดตลอด สว่างมากๆ แต่ยังรู้ชัดในกายและจิตได้ต่อเนื่องพร้อมๆกับโอภาสที่เกิดร่วมด้วย จิตอิ่มในธรรมะมากๆ รอบนี้จิตทบทวนสภาวะธรรม ระลึกถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้บอกกล่าวมาตลอด “การปล่อยวาง”

การปล่อยวางมีทั้งภายนอกและภายใน

ปล่อยวางภายนอก

ได้แก่ ปล่อยวางในสิ่งที่เกิดขึ้น คือ ผัสสะต่างๆที่มากระทบ

ผัสสะ

ผัสสะที่เกิดขึ้น ล้วนมีเหตุปัจจัย เมื่อยังมีเหตุอยู่ ย่อมมีผลมาแสดงให้เกิดขึ้นในรูปของผัสสะ เป็นเหตุให้ก่อให้เกิดความรู้สึกชอบ,ชังในสิ่งที่เกิดขึ้น หากไม่มีเหตุร่วมกันจะไม่มีความรู้สึกใดๆเกิดขึ้น

ตราบใดที่ยังมีกิเลส ย่อมมีความชอบ, ชัง การปล่อยวาง คือ ทำใจให้แยบคาย ได้แก่ มนสิการไว้ในใจพอประมาณ รู้สึกอย่างไร รู้ไปตามนั้น อย่าก่อให้เกิดการกระทำใดๆออกมา

เหตุมี ผลย่อมมี

หากก่อให้เกิดการกระทำใดๆออกมา ไม่ว่าจะทางชอบ, ชัง ตามความรู้สึกขณะนั้นๆ ล้วนมีผลให้ได้รับทั้งสิ้น ทำอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น เหตุตรงนี้ล้วนเป็นต้นเหตุของการเกิดในครั้งต่อๆไป

หากไม่ได้ก่อให้เกิดการกระทำออกมา แต่มีความรู้สึกนึกคิดอยู่ในใจ เมื่อยังมีเหตุ ย่อมมีผลอย่างแน่นอน มากน้อยอยู่ที่การยึดติดในความคิด เพียงแต่ผลที่ได้รับตรงนี้ไม่มากเท่ากับการได้สร้างเหตุออกไป

ปล่อยวางภายใน

ได้แก่ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เพียงหมั่นรู้ลงไปในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในจิต ยอมรับไปตามความเป็นจริงต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ ตราบใดที่ยังมีกิเลส ย่อมมีการให้ค่า ถ้ามีให้ค่า จงยอมรับว่าให้ค่า

ทุกอย่างล้วนมีเหตุ ให้ค่าแล้วยึดติดก็เกิดจากเหตุ ให้ค่าแล้วไม่ยึดติดก็เกิดจากเหตุ เพียงหมั่นรู้ชัดอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรมบ่อยๆ การให้ค่าจะลดน้อยลงไปเอง จนกระทั่งเห็นตามความเป็นจริงในที่สุด

มีเหตุ ย่อมมีผล

เมื่อปล่อยวางลงไปบ่อยๆได้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริงมากขึ้น คือ ความไม่เที่ยง เป็นเหตุให้การคาดเดาที่มีอยู่ลดน้อยลงไป ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นเหตุให้ก่อให้เกิดการกระทำใดๆออกมา ย่อมลดน้อยลงไป

เป็นเหตุให้นับวันรู้ชัดอยู่ในกายและจิตมากขึ้น ปัญญาย่อมเกิดขึ้นเนืองๆ เป้นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดตามสภาวะ ตามความเป็นจริง ไม่ใช่เกิดจากการน้อมเอาคิดเอาเพื่อให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด สุดท้ายจิตปล่อยวางลงไปเอง

สภาวะ

สภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายในมีไว้ให้กำหนดรู้ ไม่ว่าจะรู้สึกอย่างไร กำหนดรู้ไปตามนั้น มนสิการไว้ในใจ เพียงทำต่อเนื่อง หมั่นรู้ชัดในกายและจิต สภาวะจะดำเนินไปตามสภาวะเอง การปฏิบัติจึงสะดวกสบายเป็นไปตามเหตุ

ปฏิบัติแล้วทุกข์, สุข

ทุกข์, สุข เพราะความไม่รู้ ถึงแม้รู้แล้วก็ยังทุกข์, สุข เพราะยังยึดติดในสภาวะ ยังมีการให้ค่าต่อสภาวะว่าดี,ไม่ดี บางครั้งยึดติดในบัญญัติเรียกนั่นเรียกนี่ ย่อมมีทุกข์บ้าง สุขบ้าง ตามการให้ค่า

บางวันดีระเบิดระเบ้อ บางวันห่วยแบบสุดๆ เหตุเกิดจากไปจดจ้องสภาวะ ว่าจะต้องเป็นแบบนั้น เป็นแบบนี้ พอไม่ได้ดั่งใจบ้าง ได้ดั่งใจบ้าง ตามแต่จะให้ค่าต่อสภาวะที่เกิดขึ้น จึงประสพกับทุกข์, สุขเนืองๆ

เพียงกำหนดรู้

ทุกข์ก็ให้รู้ สุขก็ให้รู้ รู้สึกอย่างไรก็ให้รู้ ยอมรับไปตามความเป็นจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต รู้ไปตามนั้น รู้ได้บ่อยๆจะเห็นแต่ความไม่เที่ยง จิตจะปล่อยวางลงไปเอง โดยไม่ต้องไปคิดพิจรณาเพื่อให้เกิดการปล่อยวาง

เหตุมี ผลย่อมมี บางคนชอบคิด อยากจะคิดก็คิดไป อุบายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน รู้แค่ว่า สภาวะทั้งหมดนี้ ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมา รู้เพียงแค่นี้ แล้วหมั่นรู้ในกายและจิต รู้เท่านี้มันก็จบ หากยังไม่รู้ย่อมแสวงหาต่อไป

รอบ ๓ เดินกับยืน ๑ ชม. นั่งที่โซฟา

เท่าไหร่ถึงจะพอ

ด้วยอาชีพที่ทำอยู่ จึงมีคนมาปรึกษาเนืองๆ ครั้งนี้ก็เช่นกัน

คนที่มาสนทนาด้วย งานที่ทำอยู่ได้หยุดเสาร์-อาทิตย์ งานไม่ยุ่งยาก เงินเดือนหมื่นเท่าไหร่ ไม่ได้ถาม สามีเขาก็ทำงาน มีลูก ๒ คน กำลังเรียนทั้งคู่ ค่าใช้จ่ายคนเล็กค่อนข้างเยอะเพราะมีความพิการทางหู

ชีวิตของน้องเขาไม่แตกต่างจากคนอื่นๆที่เข้ามาปรึกษา เหมือนกันจริงๆ แตกต่างแค่องค์ประกอบของบุคคลและสภาพแวดล้อม ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่สร้างกันขึ้นมาด้วยความไม่รู้ที่ยังมีอยู่

เราถามเขาว่า มีเท่าไหร่ถึงจะพอ ถ้าตราบใดที่ยังไม่รู้จักพอ ชีวิตจะต้องดิ้นรนต่อไป เขาก็พูดเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆให้ฟัง คือ เข้าใจเขานะ เข้าใจถึงแม้ว่าไม่ต้องเล่าให้เราฟังเลยก็ได้ เพราะทุกคนล้วนไม่แตกต่างกัน

ตราบใดที่ยังพึ่งพาตัวเองยังไม่ได้ ยังไม่มีสติเป็นที่พึ่งของจิต ตราบนั้น จิตย่อมดิ้นรนต่อไป ได้มาเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักกับคำว่าพอ ต้องตะเกียกตะกายหาให้มากเท่าที่คิดว่ายังมีรายการใช้จ่ายออกไปอีก นี่แหละโทษของความไม่รู้

ไม่ใช่เรื่องใครถูก ใครผิดแต่อย่างใด ที่ยังมีบอกว่าถูก,ผิด ล้วนเป็นการกล่าวโทษนอกตัวทั้งสิ้น เพราะต้นเหตุทั้งหมดน่ะเกิดจากตัวเองทำขึ้นมาทั้งนั้น เพราะไม่รู้จึงทำ หากรู้แล้วจะเลือกทำเพื่อหยุด ไม่ใช่ทำเพื่อเพิ่ม

จะอั้นจะอี้ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง

ตำราต่างๆที่เขียนไว้ เป็นเพียงอุบายให้รู้จักคิดพิจรณา ซึ่งเหมือนๆในพระไตรปิฎก สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงถ่ายทอดทิ้งไว้ ทุกสิ่งล้วนเป็นอุบายในคำสอน

เพียงแต่ว่า อยู่ที่เหตุของแต่ละคนทำมา ใครจะรู้เห็นได้เช่นใด ตำราทั้งหลาย ล้วนเป็นเพียงแผนที่ ที่มีหลากหลาย ซึ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัยของผู้ที่ได้บันทึกเอาไว้เท่านั้นเอง แต่เพราะความไม่รู้ชัดในสภาวะเรื่องของเหตุ

จึงหลงยึดติดบัญญัติที่เขียนไว้ ว่าแบบนี้ถูก แบบนี้ผิด แบบนี้ใช่ แบบนี้ไม่ใช่ นี่แหละพิษของเหตุ พิษของความไม่รู้ เส้นทางจึงเหมือนวนเวียนอยู่ในเขาวงกต ภพชาติจึงเกิดขึ้นเนืองๆเพราะเหตุนี้

ได้แค่อาศัยเปลือกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามเหตุปัจจัยที่ทำไว้ แล้ววนกลับมาเริ่มต้นใหม่ เพียงมีสัญญาเพิ่มมากขึ้นในการรู้ สะสมสัญญาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเกิดปัญญารู้แจ้งแทงตลอด บางคนเมื่อเกิดมาจึงมีปัญญามากน้อยไม่เท่ากันเพราะเหตุนี้

นี่แหละเหตุ หากเคยสร้างเหตุร่วมกันมา ย่อมเชื่อกัน ส่วนจะเชื่อมากหรือน้อยแค่ไหน ก็อยู่ที่เหตุเหมือนกัน ส่วนที่ไม่เชื่อกัน เพราะไม่ได้สร้างเหตุร่วมกันมานั่นเอง ดูสมัยพุทธกาลเป็นตัวอย่าง ดูพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง

อะสัมโมหสัมปชัญญะ หมายความว่า มีความรู้อยู่ทุกขณะ ไม่หลงลืม

เมื่อจะกล่าวโดยละเอียดตามหลักฐานในพระไตรปิฎกแล้ว มีอยู่ ๒๒ อย่าง จะได้อธิบายข้อที่ ๑ กับ ข้อที่ ๒ ก่อน ดังนี้คือ

๑. อภิกฺกนฺเต เวลาจะก้าวไป ก็มีสติกำหนดรู้

๒. ปฏิกฺกนฺเต เวลาจะถอยกลับ ก็มีสติกำหนดรู้

ทั้ง ๒ ข้อนี้ มีอธิบายว่า ธรรมดาอันธพาลปุถุชน คือ บุคคลที่ยังบอด ยังโง่ ยังเขลาอยู่ เวลาก้าวไปหรือถอยกลับ ย่อมมีความลุ่มหลงสำคัญผิดคิดไปว่า “ตนก้าวไป” การก้าวไปตนให้เกิดบ้างดังนี้บ้าง

ย่อมมีความสำคัญผิดคิดไปว่า “เรากำลังก้าวไป” การก้าวไปเราให้เกิดขึ้นเองบ้างดังนี้บ้าง

ส่วนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ไม่มีความลุ่มหลงและไม่มีความสำคัญผิดคิดไปเช่นนั้น ย่อมมีความรู้ความเข้าใจอย่างนี้ว่า เมื่อจิตคิดจะไปเกิดขึ้น วาโยธาตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน พร้อมกับจิตนั่นเอง ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น

อันที่ก้าวไปนั้น ก้าวไปเพราะอำนาจแห่งการกระทำของจิตกับความแผ่กระพือไปของวาโยธาตุ เมื่อร่างกระดูกนั้นกำลังก้าวไปอยู่อย่างนี้ ในขณะที่ยกส้นเท้าขึ้นครั้งหนึ่งๆ ธาตุดินกับธาตุน้ำมีประมาณน้อย มีกำลังอ่อน

ส่วนธาตุไฟกับธาตุลมที่กำลังมาก มีกำลังกล้า จึงทำให้คล่องแคล่วเบาในการยกปลายเท้าขึ้น เสือกเท้าไป วางเท้าลงถูกพื้น กดส้นเท้า ธาตุไฟกับธาตุลม มีประมาณน้อย มีกำลังอ่อน ธาตุดินกับธาตุน้ำมีกำลังมาก

มีกำลังกล้า สภาวะคือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมมีกำลังอยู่ทุกขณะดังนี้คือ

๑. อุทฺธรเณ ปวตฺตา รูปารูปธมฺมา ในขณะที่ยกส้นเท้าขึ้นนั้น รูปนามที่เกิดขึ้นขณะนั้นดับลงไปแล้ว ยังไม่ทันถึงตอนยกปลายเท้าขึ้นเลย

๒. อติหรเณ ปวตฺตา รูปนามที่กำลังเกิดขึ้นในขณะที่ยกปลายเท้าก็ดับลงไปนั่นเอง ยังไม่ทันเสือกเท้าไปเลย

๓. วีรติหรเณ ปวตฺตา รูปนามที่กำลังเสือกเท้าไปก็ดับลงในขณะนั้น ยังไม่ทันถึงตอนเอาเท้าลงเลย

๔. โวสฺสชฺชเน ปวตฺตา รูปนามที่กำลังเกิดในขณะที่เอาเท้าลงก็ดับไปที่ตรงนั้น ในขณะนั้น ยังไม่ทันถึงตอนส้นเท้ากระทบพื้นเลย

๕. สนฺนิกฺเขปเน ปวตฺตา รูปนามที่กำลังกระทบกับพื้นก็ดับลงไปที่นั่นเอง ยังไม่ทันถึงตอนส้นเท้ากดกับพื้นเลย

๖. สนฺนิรุมฺภเน ปวตฺตา รูปนามที่กำลังกดกับพื้นก็ดับลงไปที่ตรงนั้น ยังไม่ทันถึงตอนยกส้นเท้าขึ้นเลย

เป็นอันว่า ในขณะที่ก้าวเท้าไปครั้งหนึ่งๆนั้น แบ่งเป็น ๖ ระยะ มีรูปนามเกิดดับติดต่อกันไปทุกขณะ ดุจงาที่ใส่ลงไปในกะทะร้อนๆ หรือ ดุจเกลือที่ใส่ลงไปในกะทะร้อนๆ แล้วแตกไปๆ หรือดุจฟองน้ำพยับแดด ฉะนั้น

ในการไปเป็นต้นนั้น ว่าโดยปรมัตถ์แล้วไม่มีใครไป เป็นการไปของธาตุทั้งหลาย เป็นการยืนของธาตุทั้งหลาย เป็นการนั่งของธาตุทั้งหลาย เป็นการนอนของธาตุทั้งหลาย เท่านั้น

ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา อะไรๆ เลยในการไปเป็นต้น ท่านเปรียบไว้ว่า มีการเกิดดับดุจความสัมพันธ์กันของคลื่นทะเล และดุจกระแสน้ำ ฉะนั้น ดังหลักฐานว่า

อญฺญํ อปฺปชฺชติ จิตฺตํ อญฺญํ จิตฺตํ นิรุชฺฌติ

อวีจิมนุสมฺพนฺโธ นทีโสโตว ปวตฺตติ.

จิตอื่นเกิดขึ้น จิตอื่นดับไปพร้อมกับรูปทั้งหลาย ในส่วนนั้นๆ มีความสัมพันธ์กันดุจคลื่นทะเล เป็นไปติดต่อกันดุจกระแสน้ำ ดังนี้

สภาวะเดินจงกรมที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ จริงๆแล้วเป็นสภาวะของการกำหนดต้นจิต กิจใดๆก็ตาม เมื่อมีสติรู้ตัวก่อนที่จะทำ มีสัมปชัญญะ มีความรู้สึกตัวขณะที่กำลังทำกิจนั้นๆอยู่ สภาวะคือ มีจิตจดจ่อรู้อยู่ในสิ่งที่กำลังทำอยู่

สมาธิย่อมมีการเกิดขึ้นร่วมด้วยเป็นเรื่องธรรมดา แม้ไม่ได้คิดพิจรณาอะไร ย่อมเห็นสภาวะตามความเป็นจริง ทุกๆการเคลื่อนเท้า จะมีสภาวะรู้เกิดขึ้นที่จิต การขาดออกจากกันของการเคลื่อนเท้า ขาดออกเป็นท่อนๆ

ซึ่งภาษาปริยัตินิยมเรียกว่า สันตติขาด ฆนบัญญัติแตก ซึ่งเป็นสภาวะของสติกับ สัมปชัญญทำงานร่วมกัน เป็นเหตุให้สมาธิ จึงเห็นได้เช่นนั้น สิ่งที่สำคัญจริงๆ ไม่ใช่การเห็นตรงนี้ แต่การทำต่อเนื่องต่างหาก

และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ การสร้างเหตุภายนอก ตัวผัสสะที่มากระทบ ตรงนี้แหละตัวสร้างภพสร้างชาติ วัฏฏสงสารยาวนานเพราะความไม่รู้ตรงนี้

ขณะที่ผัสสะที่เกิดขึ้น มีความความไม่ชอบใจ เพราะความหลง หรือความไม่รู้ยังมีอยู่ จึงตอบโต้ด้วยความไม่ชอบใจกับผัสสะนั้น

ขณะที่ผัสสะที่เกิดขึ้น มีความ ชอบใจ เพราะความหลงหรือความไม่รู้ยังมีอยู่ จึงตอบสนองด้วยความยินดีกับผัสสะนั้น

๑๙ – ๒๑ กย. ๕๔

๑๙ กย. ๕๔

เช้านี้ตื่นตอนตี ๕ ยืนรีดผ้าที่ยังไม่ได้รีด ขณะที่ยืนรีดผ้า รู้ชัดในกายดี ปีติ สุข เกิดตลอด

ระหว่างมานั่งรอรถบริษัท จิตเป็นสมาธิต่อ พอขึ้นบนรถ นั่งลง จิตเป็นสมาธิตลอด รู้สึกตัวบ้าง ไม่รู้สึกตัวบ้าง จนกระทั่งถึงที่ทำงาน

กำลังสังเกตุอยู่ว่า ใช่เพราะรีดผ้าตอนเช้าหรือเปล่า ที่เป็นเหตุให้ จิตเป็นสมาธิตลอดทางระหว่างเดินทาง ซึ่งปกติตอนเช้าๆจะไม่เกิดสมาธิต่อเนื่องแบบนี้ เคยเป้นมาแล้วครั้งก่อน มาครั้งนี้อีก

รอบแรก เดินกับยืน ๑ ชม. นั่งที่พื้นและที่โซฟา ๒ ชม. ๑๕ นาที

เดี๋ยวนี้สมาธิมีมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นสมาธิบ่อยๆ เมื่อเช้าเกิดสภาวะเบื่อก่อนจะนั่ง พอพักในสมาธิ จิตสดชื่น สภาวะเบื่อหายไป

รอบ ๒ เดินกับยืน ๑ ชม. นั่งที่โซฟา ๑ ชม. ๔๕ นาที

มีบางคนสงสัยว่า ต้องทำมากถึงจะได้ผลเหรอ แล้วถ้าทำน้อยๆล่ะ คือโอากสไม่ค่อยมี บางครั้งไม่อยากทำ แล้วแบบนี้จะได้ผลไหม

ขอตอบว่า การทำมากหรือทำน้อย ไม่ใช่ตัววัดผล แต่ขึ้นอยู่กับเหตุของแต่ละคนที่ทำมา และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่ การทำ ไม่ต้องไปคิดแทนคนอื่นๆว่าอยากมีเวลาที่ทำได้มากๆ ความอยากจะทำให้เกิดทุกข์ ทำแล้วทุกข์ ยิ่งไม่อยากทำ

ให้ทำตามสภาวะของตัวเอง ทำได้แค่ไหน ทำแค่นั้น อย่าไปฝืนธรรมชาติ แต่ถ้าอยากจะฝืน อันนี้ก็ห้ามกันไม่ได้จริงๆ เพียงแค่บอกให้ฟังว่า สิ่งใดที่ทำด้วยความอยาก ย่อมมีการคาดหวังผล พอไม่ได้ผลดั่งใจต้องการ ย่อมประสพแต่ความทุกข์ใจเนืองๆ

การทำมากแต่ทำแล้วไม่สามารถรู้ชัดอยู่ในรูปนาม(กายและจิต) ได้ กับ การทำน้อย แต่สามารถรู้ชัดอยู่ในรูปนาม(กายและจิต) ในกรณีเช่นนี้ การทำน้อยย่อมได้ผลดีกว่าทำมาก เนื่องจากไม่ว่าจะทำมากหรือน้อย หากสามารถรู้ชัดในรูปนามได้ ย่อมดี

ขึ้นชื่อว่า “ทำ” ไม่ว่าจะรู้ชัดในรูปนามได้หรือไม่ ย่อมดีกว่าการไม่ทำเลย ขอเพียงตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง จงรู้ไว้เถิดว่า การทำเพื่อตัดภพตัดชาติ อุปสรรคมันมากมาย จะพบแต่เหตุอยากให้เลิกทำ

รอบ ๓ เดินกับยืน ๑/๒ ชม. นั่งที่พื้น ๑ ชม.

๒๐ กย.

ไม่เที่ยง

ตื่นตี ๕ รีดผ้า เหตุที่รีดผ้าตอนเช้า เพราะขี้เกียจรีดกลางคืน ตอนเช้าอากาศจะเย็นๆ เหมาะสำหรับรีดผ้า เวลารีดผ้าจะรู้สึกร้อน ไอร้อนของเตารีดจะแผ่ออกมา

เรื่องสมาธิ ที่คิดว่าเกิดจากการรีดผ้าตอนเช้า เช้าวันนี้ จิตเป็นสมาธิขณะที่นั่งรถ แต่เกิดไม่ต่อเนื่อง ทำให้รู้ว่า สภาวะไม่เที่ยง เลยไม่ไปสนใจว่า เพราะรีดผ้าตอนเช้า ทำให้เกิดสมาธิขณะนั่งรถ

รอบแรก เดินกับยืน ๑/๒ ชม. นั่งที่พื้นและที่โซฟา ๑ ชม. ตอนนี้เจอแต่สภาวะเบื่อ แค่รู้ สุข สลับไปมา

รอบ ๒ เดินกับยืน ๒ ชม. นั่งที่โซฟา ๑ ๑/๒ ชม.

รอบ ๓ เดินกับยืน ๑ ชม. นั่งที่โซฟา ๕๐ นาที

ชีวิตที่น่าเบื่อหน่าย เห็นแต่เรื่องเดิมๆซ้ำๆ การเกิดก็แค่เปลี่ยนเปลือกใหม่ที่เป็นไปตามเหตุที่ทำเท่านั้นเอง แล้วก็เจอเรื่องเดิมๆซ้ำๆ เหมือนหนังที่ฉายวนไปวนมา แค่เปลี่ยนฉาก เปลี่ยนเปลือกภายนอก แต่ภายในยังเป็นจิตเดิม

เหตุเพราะเห็นโทษของการเกิด จึงทำให้เกิดความเพียรในการปฏิบัติ ทำทั้งๆที่บางครั้งไม่อยากทำ แต่ต้องทำ

๒๑ กย.

เบื่อหนออออ

ระหว่างเดินทางไปทำงาน ขณะที่นั่งอยู่ในรถ จิตเป็นสมาธิ รู้ชัดภายในบ้าง ไม่รู้ชัดบ้าง เสียงทีวีที่ดัง ยังคงเป็นเสียงสักแต่ว่าเสียง

รอบแรก เดินกับยืน ๑ ๑/๒ ชม. นั่งที่โซฟา ๑ ชม. ๔๕ นาที

จิตคิดพิจรณาเรื่องการฟังเทศน์ แล้วยังมีการเพ่งโทษอยู่ แต่วางได้ไวมากขึ้น ไม่ติดข้องอยู่นาน

ต่อมาคิดพิจรณาเรื่องของผู้ที่ยังมีการยึดติด เพ่งโทษเรื่องสมาธิ จิตมีคิดอยากจะเข้าไปสนทนากับผู้นั้นด้วย แต่จิตวางได้ไว ไม่คิดจะเข้าไปสนทนาด้วย เขาไม่แตกต่างจากเราในสมัยก่อนๆ

แม้กระทั่งเรื่องอัตตากับมานะ อัตตาเป็นสภาวะที่หยาบ ส่วนมานะเป็นสภาวะที่ละเอียดขึ้นไปอีก ผู้ที่ยังไม่รู้ ย่อมกล่าวว่า อัตตาเป็นตัวพี่ มานะเป็นตัวน้อง หากยังไม่รู้ชัดในสภาวะกิเลสที่แท้จริง ย่อมกล่าวเช่นนี้ เรื่องธรรมดา

เพราะตราบใด ที่ยังไม่รู้ชัดใน กาย เวทนา จิต ธรรมได้ต่อเนื่อง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงเป็นเหตุให้กล่าวกันเช่นนั้น มองเห็นแต่เหตุ จิตจึงปล่อยวาง ไม่คิดจะเข้าไปข้องเกี่ยว

ขนาดสภาวะนามรูปปริจเฉทญาณ ยังมีสภาวะตั้งแต่หยาบจนกระทั่งละเอียด กว่าจะรู้ กว่าจะเข้าใจ ต้องย่ำเดิมๆซ้ำๆจนกว่าจะรู้ชัดในสภาวะทั้งหมด ถ้ายังยึดติดกับบัญญัติ ยากที่จะรู้ชัดในสภาวะทั้งหมดได้ เพราะมีแต่การให้ค่ากับสภาวะที่เกิดขึ้น

สิ่งต่างๆเหล่านี้ที่รู้ชัดขึ้นมาได้ เกิดเนื่องจากทำเดิมๆซ้ำๆ สภาวะที่เกิดขึ้นจะเห็นตั้งแต่สภาวะหยาบ จนกระทั่งสภาวะที่ละเอียด

รอบ ๒ เดินกับยืน ๒ ชม. นั่งที่โซฟา ๑ ชม. ๔๕ นาที

๑๖- ๑๘ กย.๕๔

๑๖ กย.๕๔

ระหว่างเดินทางมาทำงาน จิตเป็นสมาธิตลอดขณะที่นั่งอยู่ในรถ รู้สึกตัวสลับกับไม่รู้สึกตัว

รอบแรก เดินกับยืน ๑ ๑/๒ ชม. นั่งที่พื้น ๕๐ นาที สมาธิแนบแน่นดี รู้ชัดอยู่ในรูป, นามได้ตลอด

สภาวะแต่ละวันในตอนนี้ที่เจอประจำสลับไปมาคือ เบื่อ แค่รู้ สุข ปัญญาเกิด จะรู้สลับไปมาแบบนี้ ความหงุดหงิดตอนนี้น้อยลงกว่าเมื่อก่อน สภาวะเบื่อเกิดขึ้นมากกว่าเมื่อก่อน เกิดนานมากขึ้น

เมื่อรู้ชัดในสภาวะว่าควรทำอย่างไร จึงไม่ทุกข์แบบก่อนๆ พักในสมาธิอย่างเดียว จนกว่าจิตจะพอใจ พักจนพอ จิตจะสดชื่น เบิกบาน บางครั้งสลับกับกิจกรรมอื่นๆ เป็นเหตุให้ปฏิบัติได้ต่อเนื่องเพราะเหตุนี้แหละ

ในดีมีเสีย ในเสียมีดี

ผลของการให้ค่าสภาวะว่าดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ยอมรับตามความเป็นจริงว่ายังมีให้ค่า เหตุจากตรงนี้ ทำให้เห็นสภาวะต่างๆละเอียดมากขึ้น จึงรู้วิธีปรับเปลี่ยนตัวเองให้อยู่ในสภาวะนั้นๆได้ โดยไม่ต้องไปรู้สึกหงุดหงิดหรือไม่ชอบใจ

ทุกข์น้อยลง

ตอนนี้คำว่าทุกข์ น้อยลงไปมากๆ สภาวะเบื่อที่เคยทำให้ทุกข์ ก็ไม่ไปทุกข์แบบก่อนๆ พอปรับสภาวะได้ สบายเลย ไม่ไปคิดว่าดีหรือไม่ดี เพราะสภาวะก็เป็นแบบนี้แหละ แค่อยู่กับสภาวะนั้นๆได้ ใจก็ไม่ทุกข์แล้ว

นี่แหละประโยชน์ของสมาธิหรือสมถะ หากไม่รู้จักพลิกแพลง ย่อมมองไม่เห็นประโยชน์ มีประโยชน์มากๆเวลาที่ทุกข์ ไม่ว่าจะทางโลกหรือทางธรรมก็ตาม ขอให้รู้จักวิธีการที่จะนำออกมาใช้เท่านั้นเอง

ถ้าพักในสมาธิบ่อยๆก็เบื่ออีก อะไรที่มากไปจะทำให้เบื่อได้ ก็มีตัวช่วยแบบอื่นๆมาสอดแทรก เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ เย็บผ้า อยู่ในอิริยาบทเดินกับยืนน่ะแหละ จนรู้สึกว่าจิตเป็นสมาธิ จึงจะพอ แล้วปฏิบัติต่อ

ต้องรู้จักจิตตัวเองให้แจ่มแจ้งว่า ชอบอะไรบ้าง อะไรที่ทำให้จิตจดจ่อรู้อยู่ในกายได้นาน ไม่ว่อกแว่กไปนอกกาย กิเลสก็มีประโยชน์ ถ้ารู้จักนำมาใช้ให้ถูกกับสภาวะ

รอบ ๒ เดินกับยืน ๔๕ นาที นั่งที่โซฟา ๑ ชม. ๑๐ นาที

รอบ ๓ เดินกับยืน ๑๕ นาที นั่งที่โซฟา ๓๐ นาที

รอบ ๔ เดินกับยืน ๒ ชม. นั่งที่โซฟา ๑ ชม.

๑๗ กย.

ยิ่งรู้ชัดมากเท่าไหร่ ยิ่งมีแต่ความเบื่อหน่ายเกิดขึ้นเนืองๆ

เจอสภาวะเบื่อบ่อยที่สุด บทจะเกิดก็เกิด แต่ทุกอย่างไม่เที่ยง

รอบแรกเดินกับยืน ๓๐ นาที นั่งที่โซฟา ๓ ชม.

รอบ ๒ เดินกับยืน ๑ ๑/๒ ชม. นั่งที่พื้นและโซฟา ๑ ชม. ๑๕ นาที

เวลานั่ง พอใกล้จะถึงเวลา ๑ ชม. จะมีจิตอีกตัวโผล่ขึ้นมาบอกว่า พอได้แล้ว เวลาที่เกิดสภาวะนี้ ส่วนมากสมาธิยังคงเกิดแนบแน่น พอมาเจอจิตตัวนี้ มันจะสะดุด เหมือนรถทีู่กแตะเบรคห้ามล้อแบบกระทันหัน

เกิดมานานแล้วนะสภาวะนี้ เพียงแต่เมื่อก่อนจะหงุดหงิดว่า ทำไมต้องเกิดสภาวะนี้ด้วย เป็นเพราะอะไร แล้วต้องทำจิตให้ตั้งมั่นใหม่ มันจะเป็นแบบนี้ทุกครั้ง

มาวันนี้ เรานั่งดูความรู้สึกที่เกิดขึ้น ตอนที่จิตอีกตัวโผล่ขึ้นมาบอกว่าพอได้แล้ว ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะหงุดหงิด แต่วันนี้ไม่ ยังมีสะดุด สมาธิยังคงมีค้างอยู่ แต่รู้ว่านั่งที่พื้นต่อไม่ได้ อารมณ์มันไม่ต่อเนื่อง

ลุกขึ้นไปนั่งที่โซฟาต่อ สมาธิเกิดต่อเนื่องทันที รู้ชัดในรูปนามได้ดีเหมือนเดิม

รอบ ๓ เดินกับยืน ๑ ชม. นั่งที่พื้น ๑ ชม.

ยิ่งทำต่อเนื่องทุกๆวัน ยิ่งรู้ชัดในสภาวะต่างๆมากขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งข้อการปิดข้อโต้แย้งในสภาวะต่างๆ เห็นชัดและรู้ชัดในสภาวะเหล่านั้นมากขึ้น สามารถนำมาอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ เช่น คำว่า ธรรมเอกผุด ที่เป็นสภาวะทุติยฌาน

เหตุเนื่องจากมีบางคนเข้าใจว่าสภาวะธรรมเอกผุด ได้แก่ ตัวปัญญาเกิด ซึ่งเรารู้ดีว่า ธรรมเอกผุด คือสภาวะของปีติ ได้แก่ ผรณาปีติ ที่จะเกิดเฉพาะในอัปปนาสมาธิเท่านั้น แต่ไม่สามรถนำเหตุผลมาอธิบายปิดข้อเห็นต่างตรงนี้ได้

เมื่อก่อนรู้อยู่แล้วว่า สภาวะธรรมเอกผุด คือ ปีติที่เกิดในทุติยฌาน ได้แก่ ผรณาปีติ ไม่ใช่อาการตัวใหญ่ตัวโต แต่เป็นความเย็นที่เกิดขึ้นแผ่ซ่านไปทั่วกาย ผรณาปีตินี้จะเกิดในอัปปนาสมาธิเท่านั้น

ถ้าต้องการจะรู้ว่าสภาวะผรณาปีตินั้นมีอาการอย่างไร ให้เข้าไปนั่งในตู้เย็น ความเย็นในผรณาปีติ จะเกิดขึ้นภายในกายก่อน แล้วแผ่ขายความเย็นไปทั่วกาย

วันนี้จิตคิดพิจรณาเรื่องสภาวะของฌานต่างๆ เป็นเหตุให้สามารถอธิบายได้ว่า ธรรมเอกผุดไม่ใช่ตัวปัญญาเกิดขึ้น เหตุเพราะ ในสภาวะของฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ จะมีสภาวะ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ได้แก่ เป็นสมาธิที่มีสติ สัมปชัญญะประกอบอยู่

เป็นเหตุให้สามรถรู้ชัดอยู่ในรูป, นาม คือ มีจิตตั้งมั่น รู้ชัดอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม เรียกสั้นๆว่ากายและจิตหรือรูปนามนั่นเอง

เมื่อสามารถรู้ชัดในกาย เวทนา จิต ธรรมได้ ย่อมรู้ชัดในความคิดที่เกิดขึ้นด้วย ขณะที่มีความคิดเกิด ไม่มีความรำคาญแต่อย่างไร ถ้าไม่มีสมาธิ เวลามีความคิดเกิดจะฟุ้งซ่านและรำคาญ

ฉะนั้น ในทุติยฌาน ที่มีธรรมเอกผุด จึงไม่ใช่สภาวะตัวปัญญาเกิดแต่อย่างใด เหตุเพราะตัวปัญญาก็คือความคิดนั่นเอง ธรรมเอกผุดได้แก่ สภาวะผรณาปีติเกิด ซึ่งผรณาปีติจะเกิดขึ้นได้เฉพาะในทุติยฌานเท่านั้น

๑๘ กย.

วันนี้ทำงานบ้าน มีสมาธิเกิดทั้งวัน มีนัดกินข้าวกับน้องนอกบ้าน เมื่อไปเดินที่ห้าง จิตเป้นสมาธิตลอดขณะที่เกำลังเดิน แม้กระทั่งเวลากินและคุย

ขากลับ มีการประกวด DANCE ขณะที่ยืนดู จิตเป้นสมาธิขึ้นมาเอง เลยกลับบ้าน ไม่ดูต่อ เมื่อกลับถึงบ้าน สมาธิยังคงเกิดต่อเนื่อง เลยนั่งสมาธิต่อได้อีกหลายครั้ง จนกระทั่งนอน จิตยังคงเป้นสมาธิจนกระทั่งหลับไปจริงๆ

เริ่มต้นฝึกสมาธิใหม่

การปฏิบัติต้องรู้ชัดในอารมณ์ที่เกิดขึ้น และควรรู้วิธีรักษาจิต

หลายๆคนที่มาปรึกษา ส่วนมากที่เราให้เริ่มเรื่องสมาธิใหม่เพราะเหตุนี้ ต้องรู้ชัดในจิตของตัวเองว่า นั่งในอิริยาบทไหนในบรรยากาศหรืออากาศแบบไหน ที่สมาธิเกิดได้ง่ายและมีกำลังมากที่สุด คือดิ่ง

ตอนนี้อาจจะยังมองไม่เห็นประโยชน์ในสิ่งที่เราให้ทำเพิ่ม แต่ต่อไปเขาต้องได้ใช้อย่างแน่นอน เพราะสภาวะเบื่อจะต้องเจอทุกคน ไม่ใช่เบื่อแบบธรรมดาๆ ต้องบอกว่าเบื่อจนไม่มีที่จะอยู่ เป็นเหตุให้ไม่อยากปฏิบัติ แต่ต้องทำแล้วเพราะรู้ว่าทำเพราะอะไร

เมื่อไม่อยากทำ แต่พยายามที่จะทำ กลายเป็นฝืนใจทำ ไม่ใช่ทำแบบปกติ นี่เจอทุกข์อีกแล้ว ฉะนั้นต้องมีที่ให้จิตชอบ มีที่ให้จิตพัก สมาธิเป็นที่พักจิตที่ดีที่สุดยิ่งกว่าสิ่งอื่นๆ แต่ต้องดูจังหวะ รู้ชัดในจิตของตัวเองให้ได้ก่อน รู้ชัดในสภาวะของสมาธิก่อน

บางคนรู้ชัดในสภาวะเวลาสมาธิเกิด แต่ไม่รู้ชัดในวิธีที่จะทำให้สมาธิเกิดได้ง่าย ไม่รู้ชัดในวิธีที่จะทำให้จิตเกิดสมาธิได้แนบแน่น เกิดสมาธิได้มากๆแบบไม่มีประมาณ จึงให้ฝึกสมาธิใหม่เพราะเหตุนี้ ฝึกเพื่อให้เกิดความชำนาญ ให้มีวสีรู้ชัดในการเข้าออกสมาธิ

เมื่อชำนาญแล้ว เอาไว้ใช้ในเวลาเกิดสภาวะเบื่อ ในสภาวะนี้ต้องใช้สมาธิที่มีกำลังมากๆ จึงจะช่วยกดข่มสภาวะที่เป็นอยู่ได้ เป็นเหตุให้ไม่ต้องทุกข์กับสภาวะที่เกิดขึ้น แม้กระทั่งการปฏิบัติก็ไม่ฝืนใจทำ จะทำสลับไปมาแบบนี้

เบื่อมาก ปล่อยจิตเข้าพักในสมาธิ จะทำทั้งวันก็ไม่เป็นไร เพราะสภาวะเบื่อบางครั้งจะเกิดขึ้นทั้งวัน พักจิตไปจนกว่าจะหายเบื่อ

จิตพอได้พักเต็มที่จะมีสภาวะสดใส สดชื่น เบิกบาน โปร่ง โล่งเบาสบาย สุขไม่มีประมาณ แล้วตัวปัญญาจะเกิด ที่นี้พอมาปฏิบัติจะทำได้อย่างสะดวกสบายไม่ต้องฝืนใจทำ ไม่ต้องไปบังคับกดข่มจิตเพื่อให้ทำแต่อย่างใด

กิเลส

สมาธิก็เป็นกิเลส ทั้งๆที่สมาธิไม่ได้เป็นกิเลส แต่กลับกลายเป็นกิเลสเพราะความไม่รู้ เกิดการยึดติดในสมาธิ ยึดติดความสงบ สุข ในสภาวะที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลของจิตเป็นสมาธิ

เมื่อรู้ว่าสมาธิเป้นกิเลสได้เพราะเหตุใด ต้องรู้จักนำกิเลสมาใช้ให้ถูกที่ ถูกทาง กิเลสก็พลิกสถานะการณ์ให้สภาวะที่เป็นอยู่เป็นต่อไปทันที สภาวะจะก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ รู้ชัดในจิตมากขึ้น เห็นรายละเอียดต่างๆของสภาวะชัดมากขึ้น

รู้ชัดในรูป, นาม (กาย, เวทนา, จิต, ธรรม)

มีบางคนรู้ชัดในรูปนาม แต่ไม่รู้หรอกว่าสภาวะของตัวเองเป็นอย่างไร เมื่อเจอสภาวะเดิมๆซ้ำๆ ย่อมเกิดอาการเบื่อ นี่เป็นเรื่องปกติของความไม่รู้ ถึงแม้รู้แล้วยังเบื่อเลย เพราะยังไม่รู้จักวิธีรักษาจิต ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรต่อไป

สร้างเหตุยังไง รับผลเช่นนั้น

สภาวะที่เกิดขึ้นของแต่ละคนก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่ไม่รู้ชัดในสภาวะ เมื่อเจอสภาวะเบื่อเช่นนี้ อาจจะบอกว่า นี่นิพพิทาญาณเกิดขึ้นแล้ว เสร็จเลย เสร็จกิเลส เสร็จกิเลสเพราะไม่รู้ชัดในสภาวะ ที่นี้ก็วุ่นวาย หาทางแก้ไขสภาวะ ทั้งๆที่จริงแล้วสภาวะเป็นไปตามเหตุของตัวสภาวะเอง

ญาณ ๑๖

เรื่องของญาณ ๑๖ ในดีมีเสีย ในเสียมีดี มีไว้ให้ศึกษา มีไว้ให้รู้ ไม่ใช่มีไว้ให้ยึด ซึ่งเกิดจากการตีความว่าสภาวะแต่ละญาณจะต้องเป็นเช่นนั้น เช่นนี้ ให้ดูเรื่องเหตุ ให้ดูการกระทำ ดูอารมณ์ยามผัสสะที่เกิดขึ้น ดูทันไหม ถ้าดูทันย่อมรู้ชัด

โสฬสธรรม

อยากรู้เรื่อญาณ ๑๖ ให้อ่านโสฬสธรรม เป็นคำถามที่พรามหณ์พาวารีผูกปัญหาให้ลูกศิษย์ ๑๖ คน นำไปถามพระพุทธเจ้า สิ่งที่พระพุทธเจ้าตอบมานั้นล้วนมีสภาวะซ่อนอยู่ภายในคำตอบทุกคำตอบ

เช่นคำถามของพระโมฆราช สิ่งที่พระพุทธเจ้าตอบ บางคนนำมาตีความเป็นเรื่องสุญญตา

สุญฺญโต โลกํ อเวกฺสฺสุ โมฆราช สทา สโต

อตฺตานุทิฏฐึ โอหจฺจ เอวํ มจฺจุตฺตโร สิยา

เอวํ โลกํ เอวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ

แปลความว่า ดูก่อนโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติตลอดเวลา มองเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า พึงถอนอัตตานุทิฏฐิ (คือ ความเห็นเนืองๆว่ามีอัตตา) เสีย

จึงจะเป็นผู้ข้ามพ้นมฤตยูด้วยอาการอย่างนั้น มัจจุราช (มองหา) ไม่เห็นบุคคลผู้มองเห็นโลกอย่างนี้

วิโมกคาถา

ครั้นโยคาวจรเห็น(โลก) โดยความเป็นของว่างเปล่าอย่างนั้นแล้ว ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ กำหนดรู้สังขารทั้งหลายอยู่ ก็ละความกลัวและความพึงพอใจเสียได้

เป็นผู้มีตนเป็นกลาง วางเฉยในสังขารทั้งหลาย ไม่ถือว่าเป็น”เรา” หรือว่า “เป็นของเรา”

(นำมาจากหนังสือ วิปัสสนากรรมฐาน ภาค ๑ เล่ม ๒ หลวงพ่อโชดก ในบทภังคญาณ)

สุญญตาที่เป็นบัญญัติ ล้วนเป็นเพียงอุบายในการสอน แต่โดยตัวสภาวะของสุญญตาที่แท้จริงมีรายละเอียดลงลึกไปกว่านั้น คำว่า มองโลกว่างเปล่าไม่มีอะไรๆ ล้วนเป็นอุบายในการสอนทั้งสิ้น สอนไม่ให้ยึดติดในสิ่งที่เกิดขึ้นหรือผัสสะ

กับอีกในพระสูตร อากังเขยยสูตร ในมูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย หน้า ๕๘ ว่า

“อากงฺเขยฺย เจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ฯลฯ วิปสฺสนาย สมนฺนาคโต พฺรูเหตา สุญฺญาคารานํ”

มีใจความว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุหวังอยู่ว่า เราพึงเป็นที่รักใคร่ ที่ชอบใจ ที่เคารพ ที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกันแล้ว เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศิล พึงเจริญสมถะและวิปปัสนาอยู่เนืองนิตย์ เป็นผู้ไม่ห่างเหินจากฌาน พอกพูนแต่ในสุญญาคารเถิด”

สุญญตาทั้งสองที่นำมาลง มีสภาวะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หากไม่รู้ชัดในสภาวะ ย่อมเข้าใจว่าเป็นสภาวะเดียวกัน

คำว่า “เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศิล พึงเจริญสมถะและวิปปัสนาอยู่เนืองนิตย์ เป็นผู้ไม่ห่างเหินจากฌาน พอกพูนแต่ในสุญญาคารเถิด”

พึงทำให้บริบูรณ์ในศิล

หมายถึง หมั่นรู้ชัดอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม หรือ รูปนาม (กายและจิต)

สภาวะคือ มีจิตตั้งมั่น รู้ชัดอยู่ในกายและจิต ขณะที่จิตตั้งมั่นรู้ชัดอยู่ในรูปนาม ศิลย่อมสะอาดบริสุทธิ์ บริบูรณ์

พึงเจริญสมถะและวิปัสสนา

หมายถึง มีสมาธิ (จิตตั้งมั่น) มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) รู้ชัด (สติ) อยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม หรือเรียกสั้นๆว่า รู้ชัดอยู่ในรูปนาม

สภาวะคือ มีจิตตั้งมั่น (สมถะ) มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้ชัดอยู่ในกายและจิต (วิปัสสนา)

เป็นผู้ไม่ห่างจากฌาน

หมายถึง เข้าออกฌานโดยชำนาญหรือมีวสีในการเข้าออกฌาน รู้ชัดในสภาวะของฌาน

พอกพูนอยู่แต่ในสุญญคาร

หมายถึง รู้ชัดอยู่ในกายและจิต(รูปนาม) หรือที่นิยมนำมาอธิบายว่า ไม่มีเขา ไม่มีเรา ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ซึ่งเป็นเพียงอุบายในการสอน แต่สภาวะที่แท้จริงคือ รู้ชัดอยู่ในรูปนามเนืองๆ

เมื่อรู้ชัดอยู่ในรูปนามได้เนืองๆ วิปัสสนาญาณ(ญาณ๑๖)ย่อมเกิดขึ้นเองตามลำดับขั้น

Previous Older Entries

กันยายน 2011
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930  

คลังเก็บ