บันทึก

สุญญตาและมหาสุญญตา

พระสูตรมี 84000 พระธรรมขันธ์
เมื่อหยิบมาแล้ว
หากยังไม่เข้าใจในตัวภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริงในตัวอักษร
ความเห็นจะผิดทันที
เกิดจากฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้น

“เมื่อใด จิตเห็นว่า
พุทธเจ้าก็ไม่มี
สัตว์โลกก็ไม่มี
เพราะความเป็นอนัตตาหรือสุญญตา
เมื่อนั้น จิตถึงความเป็นพุทธะเสียเองแล้ว
ความทุกข์และกิเลสก็ไม่อาจจะมีด้วย
นี่คือสุดยอดของอภิธรรม”

ความเห็นนี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ตกม้าตายตั้งแต่เริ่มต้นผิด
“พุทธเจ้าก็ไม่มี”

ที่เหลือย่อมตีความผิด
อนัตตากับสุญญตา
สภาวะที่มีเกิดขึ้นเป็นคนละตัวกัน
มีเกิดขึ้นก็แตกต่างกัน

คำว่า สุญญตา
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้นั้น
เป็นเรื่องของการได้มรรคผลที่มีเกิดขึ้นตามจริงในโสดาปัตติผล
ผู้ที่มีศิล
ทำกรรมฐาน จิตเป็นสมาธิในเนวสัญญาฯ ที่เป็นสัมมาสมาธิ
หลังได้มรรคผลตามจริง
จะแจ่มแจ้งแทงตลอดในภาวะที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ของคำว่าสุญญตา ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

จูฬสุญญตสูตร
[๓๔๐] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา
ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อม
อยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความ
กระวนกระวายชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญา
และชนิดที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
มีอยู่แต่เพียงความกระวนกระวายคือความเกิดแห่งอายตนะ ๖
อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญา
สัญญานี้ว่างจากเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เอง
เพราะชีวิตเป็นปัจจัย ด้วยอาการนี้แหละ
เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย
และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี
ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง
ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

[๓๔๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญาตนสัญญา
ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้แล
ยังมีปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้
ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้นั้น
ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น
แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้
ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยกามาสวะ
ชนิดที่อาศัยภวาสวะและชนิดที่อาศัยอวิชชาสวะ
มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย
คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เอง เพราะชีวิตเป็นปัจจัย
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ
สัญญานี้ว่างจากภวาสวะ
สัญญานี้ว่างจากอวิชชาสวะ
และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เอง
เพราะชีวิตเป็นปัจจัย
ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น
ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย
และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี
ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง
ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

[๓๔๒] ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ
ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น
ก็ได้บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่
สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวกใดๆ
ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น
ก็จักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่
สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้ ไม่ว่าพวกใดๆ
ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น
ย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่

ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล
พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ

= อธิบาย =

คำว่า กามาสวะ
ได้แก่ กามตัณหา
ละกามตัณหา
แจ้งอริยสัจ ๔

คำว่า ภวาสวะ
ได้แก่ ภวตัณหา
ละภวตัณหา แจ้งอริยสัจ ๔

คำว่า อวิชชาสวะ
ได้แก่ วิภวตัณหา
ละวิภวตัณหา
แจ้งอริยสัจ ๔

วิมุตติญาณทัสสนะ
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
แจ้งขันธ์ ๕และอุปาทานขันธ์ ๕ ตามจริง

สมัยก่อนจะรู้เพียงอันเดียวก่อนหลังได้โสดาปัตติผลตามจริง [๓๔๐]
อันนี้มารู้ที่หลัง [๓๔๑]
และมารู้ที่หลังความหมายของคำว่า มหาสุญญาตา
ที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
๒. มหาสุญญตสูตร (๑๒๒)

ว่าด้วยสุญญตา

ว่าด้วยสุญญตา

.
สักกายทิฏฐิและการละสักกายทิฏฐิ
อาศัยความศรัทธา การฟัง การศึกษา
สีลปาริสุทธิ จิตตปาริสุทธิ ทิฏฐิปาริสุทธิ
และปฏิบัติตาม

๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
[๑๒๕] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิ จะมีได้อย่างไร ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง
ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง
ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง
ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง
ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง

ดูกรภิกษุ อย่างนี้แลสักกายทิฐิจึงมีได้ ฯ


.
[๑๒๖] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฐิจะไม่มีได้อย่างไร ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง
ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง
ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง
ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง
ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง

ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฐิจึงไม่มี ฯ


การละมานะ
อาศัยความศรัทธา การฟัง การศึกษา
สีลปาริสุทธิ จิตตปาริสุทธิ ทิฏฐิปาริสุทธิ วิมุตติ
และปฏิบัติตาม


๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
[๑๒๘] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไร
จึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัว ว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก ฯ


พ. ดูกรภิกษุ บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม
ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม
ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม
ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม
ทั้งหมดนั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตามเลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม
ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

ดูกรภิกษุ เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัวว่า เป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก ฯ


ทำได้ยาก ถ้าไม่เคยสร้างกุศลนี้ไว้

.
จักกวรรคที่ ๔
จักกสูตร
[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักร ๔ ประการนี้
เป็นเครื่องเป็นไปแก่มนุษย์และเทวดาผู้ประกอบ
เป็นเครื่องที่มนุษย์และเทวดาประกอบแล้ว
ย่อมถึงความเป็นผู้ใหญ่ (และ)
ความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก

จักร ๔ ประการเป็นไฉน
คือ
ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในถิ่นที่เหมาะ ๑
สัปปุริสูปัสสยะ การคบสัตบุรุษ ๑
อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ ๑
และปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้แล้วในปางก่อน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักร ๔ ประการนี้แล
เป็นเครื่องเป็นไปแก่เทวดาและมนุษย์ผู้ประกอบ
เป็นเครื่องที่มนุษย์และเทวดาประกอบแล้ว
ย่อมถึงความเป็นผู้ใหญ่ (และ) ความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลาย
ต่อกาลไม่นานนัก ฯ
นรชนพึงอยู่ในถิ่นที่เหมาะ
พึงกระทำอริยชนให้เป็นมิตร
ถึงพร้อมด้วยความตั้งตนไว้ชอบ
มีบุญได้กระทำไว้แล้วในปางก่อน
ธัญชาติ ทรัพย์ ยศ ชื่อเสียง และความสุข
ย่อมหลั่งไหลมาสู่นรชนนั้น ฯ

.

“จักร ๔ จะมีเกิดขึ้น
ความอยู่ในถิ่นอันสมควรเห็นปานนั้น
ชื่อว่าปฏิรูปเทสวาสะ ความอยู่ในถิ่นที่เหมาะ”
ได้แก่ อยู่ในแวดล้อมผู้ที่ชักชวนสร้างกุศล ชักชวนทำกรรมฐาน
.

ความพึ่งพิงคบหาสัตบุรุษ

.

การตั้งตนไว้ชอบ คือ
ถ้าเป็นคนประกอบด้วยความไม่มีสัทธาเป็นต้นมาก่อน
การละความไม่มีสัทธาเหล่านั้นเสียแล้ว ตั้งอยู่ในสัทธาเป็นต้น
ชื่อว่าอัตตสัมมาปณิธิ ความตั้งตนไว้ชอบ

.

ปุพเพกตปุญญตา
ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้แล้วในปางก่อน
กล่าวคือ ความเป็นผู้มีกุศลอันสั่งสมไว้ในกาลก่อน
ชื่อว่า ปุพฺเพ จ กตปฺญฺญตา ความเป็นผู้ทำบุญมาก่อน

.

กุศลจิตนั้นแหละย่อมนำคนนั้นเข้าไปอยู่ในถิ่นที่เหมาะ
ทำให้เขาคบหาสัตบุรุษ
ก็บุคคลนั้นชื่อว่าตั้งตนไว้ชอบด้วยอาการอย่างนี้.

สุญญตาสมาบัติ

๑. จูฬสุญญตสูตร (๑๒๑)
[๓๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ออกจากสถานที่หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่สักยนิคมชื่อนครกะ ในสักกชนบท
ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับ ได้รับพระดำรัสนี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรอานนท์ บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ ฯ
[๓๓๔] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว

ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา
ว่างเปล่าจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด
ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์
ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย
มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น
ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี
ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ
[๓๓๕] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์
ไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น
และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน เปรียบเหมือนหนังโคที่เขาขึงดีแล้วด้วยหลักตั้งร้อย เป็นของปราศจากรอยย่น ฉันใด
ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจแผ่นดินนี้ ซึ่งจะมีชั้นเชิง มีแม่น้ำ ลำธาร มีที่เต็มด้วยตอหนาม มีภูเขาและพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ ทั้งหมด
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่า แผ่นดิน จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าแผ่นดินนี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์
และชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่า มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น
ด้วยอาการนี้แหละเธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี
ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ
[๓๓๖] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่าไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญา
จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในอากาสานัญจายตนสัญญา
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในอากาสานัญจายตนสัญญานี้ ไม่มีความกระวนกระวาย ชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่า
และชนิดที่อาศัยสัญญาว่าแผ่นดิน มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญาเท่านั้น
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญาเท่านั้น
ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี
ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ
[๓๓๗] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน ไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตนสัญญา
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในวิญญาณัญจายตนสัญญา
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในวิญญาณัญจายตนสัญญานี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าแผ่นดิน
และชนิดที่อาศัยอากาสานัญจายตนสัญญามีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญาเท่านั้น
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน สัญญานี้ว่างจากอากาสานัญจายตนสัญญา
และรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญาเท่านั้น
ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลยและรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี
ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ของภิกษุนั้น ฯ
[๓๓๘] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากิญจัญญายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในอากิญจัญญายตนสัญญา
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในอากิญจัญญายตนสัญญานี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยอากาสานัญจายตนสัญญา
และชนิดที่อาศัยวิญญาณัญจายตนสัญญา มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะอากิญจัญญายตนสัญญาเท่านั้น

เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากาสานัญจายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะอากิญจัญญายตนสัญญาเท่านั้น
ด้วยอาการนี้แหละเธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลยและรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี
ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาดบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

[๓๓๙] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญานี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยวิญญาณัญจายตนสัญญา
และชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญา มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาเท่านั้น
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญา
และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ
เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี
ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

[๓๔๐] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
มีอยู่แต่เพียงความกระวนกระวายคือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย
ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี
ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ
[๓๔๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญาตนสัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้แล ยังมีปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้ ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้นั้น ไม่เที่ยงมีความดับไปเป็นธรรมดา
เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยกามาสวะ ชนิดที่อาศัยภวาสวะและชนิดที่อาศัยอวิชชาสวะ
มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้ว่างจากภวาสวะ สัญญานี้ว่างจากอวิชชาสวะ
และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย ด้วยอาการนี้แหละ
เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี
ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

[๓๔๒] ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่
สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็จักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่
สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้ ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่
ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ จูฬสุญญตสูตร ที่ ๑

 

 

 

มหาสุญญตสูตร (๑๒๒)

[๓๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธารามเขตพระนครกบิลพัสดุ์ในสักกชนบท
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งสบง ทรงบาตรจีวรแล้ว เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลาเช้า
ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ เพื่อทรงพักผ่อนในเวลากลางวัน
สมัยนั้นแล ในวิหารของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ มีเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกัน พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกันแล้ว
จึงมีพระดำริดังนี้ว่า ในวิหารของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มากด้วยกัน ที่นี่มีภิกษุอยู่มากมายหรือหนอ ฯ
[๓๔๔] สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์กับภิกษุมากรูป ทำจีวรกรรมอยู่ในวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ
ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ทรงหลีกเร้นอยู่แล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้
พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ในวิหารของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มากด้วยกัน ที่นั่นมีภิกษุอยู่มากมายหรือ ฯ
ท่านพระอานนท์ทูลว่า มากมาย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญจีวรกาลสมัยของพวกข้าพระองค์กำลังดำเนินอยู่ ฯ
[๓๔๕] พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วมหมู่ ย่อมไม่งามเลย
ดูกรอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่บันเทิงร่วมหมู่นั้นหนอ
จักเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนาโดยไม่ยากไม่ลำบาก นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกันประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วมหมู่นั้นหนอ
จักบรรลุเจโตวิมุติอันปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโตวิมุติอันไม่กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังบรรลุเจโตวิมุติอันน่าปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโตวิมุติอันไม่กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

ดูกรอานนท์ เราย่อมไม่พิจารณาเห็นแม้รูปอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่ไม่เกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เพราะความแปรปรวนและความเป็นอย่างอื่นของรูป ตามที่เขากำหนัดกันอย่างยิ่งซึ่งบุคคลกำหนัดแล้ว ฯ
[๓๔๖] ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่
ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ
ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้ว ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ
มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้

ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่
เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ
[๓๔๗] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
(๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
(๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ
(๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข อยู่ ฯ
(๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายในจิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายในด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้ ฯ
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก …
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก …
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่น ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล เธอย่อมใส่ใจความว่างภายใน
เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้ ฯ
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก …
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก …
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ฯ
[๓๔๘] ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า
อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะยืน เธอย่อมยืนด้วยใส่ใจว่า
อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ เราผู้ยืนอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการยืน ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนั่ง เธอย่อมนั่งด้วยใส่ใจว่า
อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ เราผู้นั่งอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนั่ง ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนอน เธอย่อมนอนด้วยใส่ใจว่า
อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ เราผู้นอนอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนอน ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะพูด เธอย่อมใส่ใจว่า
เราจักไม่พูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเลวทราม เป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องพระราชาบ้าง เรื่องโจรบ้าง เรื่องมหาอำมาตย์บ้าง เรื่องกองทัพบ้าง เรื่องภัยบ้าง เรื่องรบกันบ้าง เรื่องข้าวบ้าง
เรื่องน้ำบ้าง เรื่องผ้าบ้าง เรื่องที่นอนบ้าง เรื่องดอกไม้บ้าง เรื่องของหอมบ้าง เรื่องญาติบ้าง เรื่องยานบ้าง เรื่องบ้านบ้าง เรื่องนิคมบ้าง เรื่องนครบ้าง เรื่องชนบทบ้าง เรื่องสตรีบ้าง เรื่องคนกล้าหาญบ้าง เรื่องถนนหนทางบ้าง
เรื่องทาสีในสถานที่ตักน้ำบ้าง เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้วบ้าง เรื่องเบ็ดเตล็ดบ้าง เรื่องโลกบ้าง เรื่องทะเลบ้าง เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยเหตุนั้นเหตุนี้บ้าง ด้วยอาการนี้แล
เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด และเธอใส่ใจว่า เราจักพูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส
เพื่อเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด ฯ

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะตรึก เธอย่อมใส่ใจว่า เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกที่เลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการตรึก
และเธอใส่ใจว่า เราจักตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ เป็นเครื่องนำออก ที่นำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม
คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสา วิตก ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในการตรึก ฯ
[๓๔๙] ดูกรอานนท์ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ
รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
เสียงที่รู้ด้วยโสต … กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ … รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา … โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจเป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ดูกรอานนท์ นี้แล กามคุณ ๕ อย่าง ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า มีอยู่หรือหนอแล
ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง

ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า มีอยู่แลที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เรายังละไม่ได้แล้ว
แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ไม่มีเลยที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เราละได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ ๕ ฯ
[๓๕๐] ดูกรอานนท์ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้แล ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอยู่ว่า
อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป
อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา
อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา
อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร
อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ
เธอผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่ ย่อมละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้

เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ของเราได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕ ฯ
ดูกรอานนท์ ธรรมนั้นๆ เหล่านี้แล เนื่องมาแต่กุศลส่วนเดียว ไกลจากข้าศึก เป็นโลกุตระ อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้

ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สาวกมองเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงควรใกล้ชิดติดตามศาสดา ฯ
ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นเหตุ มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบอย่าง
มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึงอาศัย ขอได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระภาษิตนี้ แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ
[๓๕๑] พ. ดูกรอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟังสุตตะ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั่นเพราะเหตุไร
เพราะธรรมทั้งหลายอันพวกเธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยความเห็น เป็นเวลานาน

ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา เพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อความกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ
เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ฯ
ดูกรอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น จะมีอุปัททวะของอาจารย์ อุปัททวะของศิษย์ อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ฯ
[๓๕๒] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของอาจารย์ย่อมมีได้อย่างไร
ดูกรอานนท์ ศาสดาบางท่านในโลกนี้ ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งและลอมฟาง
เมื่อศาสดานั้น หลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา
เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ศาสดานั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมา เพื่อความเป็นผู้มักมาก
ดูกรอานนท์ ศาสดานี้เรียกว่า อาจารย์มีอุปัททวะด้วยอุปัททวะของอาจารย์ อกุศลธรรมอันลามกเศร้าหมอง
เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไปได้ฆ่าศาสดานั้นเสียแล้ว
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของอาจารย์ย่อมมีได้ ฯ

[๓๕๓] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของศิษย์ย่อมมีได้อย่างไร
ดูกรอานนท์ สาวกของศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามศาสดานั้น ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งและลอมฟาง
เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว
สาวกนั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก
ดูกรอานนท์ สาวกนี้เรียกว่า ศิษย์มีอุปัททวะด้วยอุปัททวะของศิษย์ อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง
เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรามรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลอุปัททวะของศิษย์ย่อมมีได้ ฯ
[๓๕๔] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้อย่างไร
ดูกรอานนท์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้
เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง
เมื่อตถาคตนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา
เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ปรารถนาอย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวาย ไม่เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

ดูกรอานนท์ ส่วนสาวกของตถาคตผู้ศาสดานั่นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามตถาคตผู้ศาสดา ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง
เมื่อสาวกนั้น หลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา
เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว
สาวกนั้นย่อมปรารถนาอย่างหมกมุ่น ถึงความวุ่นวาย เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

ดูกรอานนท์ สาวกนี้เรียกว่าผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีอุปัททวะด้วยอุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรามรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ในอุปัททวะทั้ง ๓ นั้น อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์นี้ มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัททวะของอาจารย์และอุปัททวะของศิษย์ ทั้งเป็นไปเพื่อความตกต่ำด้วย
ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้อง เราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องเราด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน ฯ
[๓๕๕] ดูกรอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตรอย่างไร
ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า
นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้นไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้และประพฤติ หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตร ฯ
[๓๕๖] ดูกรอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตรไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึกอย่างไร
ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า
นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้และไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา

ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ฯ

ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน
ดูกรอานนท์ เราจักไม่ประคับประคองพวกเธอเหมือนช่างหม้อประคับประคองภาชนะดินดิบที่ยังดิบๆ อยู่ เราจักข่มแล้วๆ จึงบอก จักยกย่องแล้วๆ จึงบอก ผู้ใดมีแก่นสาร ผู้นั้นจักตั้งอยู่ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ มหาสุญญตสูตร ที่ ๒

 

 

๓. มหาเวทัลลสูตร
การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ

เรื่องปัจจัยเจโตวิมุติ

[๕๐๓] ก. ดูกรผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีเท่าไร?
สา. ดูกรผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมี ๔ อย่าง
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มี ๔ อย่าง ดังนี้แล.

ก. ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
สา. ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่างคือ การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑ ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง ดังนี้แล.

ก. ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
สา. ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง คือ
การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๑
การมนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑
อภิสังขาร (ความกำหนดระยะกาล)ในเบื้องต้น ๑
ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง ดังนี้แล.

ก. ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
สา. ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่างคือ
การมนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๑ การไม่มนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต ๑
ปัจจัยแห่งความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง ดังนี้แล.
[๕๐๔] ก. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ
เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ
เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง
เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรมเหล่านี้
มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น?

สา. ดูกรผู้มีอายุ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีอะไรๆ เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต
ปริยายที่บ่งว่าธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันก็มี และปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นก็มี.
ก็ปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันเป็นไฉน?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไป สู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไป
สู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และมีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันกว้างขวาง
เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน
เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถานทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้
มีจิตสหรคตด้วยกรุณา …
มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา …
มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ที่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น
แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขาอันกว้างขวาง
เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน
เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันหาประมาณมิได้.

เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่าไม่มีอะไรๆ อยู่ ดังนี้
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ.

เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดีไปสู่เรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นว่า สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนเอง ดังนี้
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง.

เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเจโตวิมุตติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต.
ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน.
ก็ปริยายที่บ่งว่า ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นเป็นไฉน?

ราคะอันทำประมาณ โทสะอันทำประมาณ โมหะอันทำประมาณ ราคะเป็นต้นนั้น
อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้วทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า เลิศกว่าเจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณทั้งหมด
เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแล ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ.
ราคะอันเป็นเครื่องกังวล โทสะอันเป็นเครื่องกังวล โมหะอันเป็นเครื่องกังวล ราคะเป็นต้นนั้น
อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า เลิศกว่าเจโตวิมุติอันมีอารมณ์ว่าไม่มีอะไรๆ ทั้งหมด.
เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแล ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ.
ราคะอันทำนิมิต โทสะอันทำนิมิต โมหะอันทำนิมิต ราคะเป็นต้นนั้น
อันภิกษุผู้ขีณาสพละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลแล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ ท่านกล่าวว่า เลิศกว่าเจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิต
เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นแลว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ.
ดูกรผู้มีอายุ นี้แลปริยายที่บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น.

ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวแก้ปัญหานี้แล้ว ท่านพระมหาโกฏฐิกะชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล.

 

 

 

ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์

[๕๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันสหรคตด้วยเมตตา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุติว่า มีสุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง
เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัย ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.

 

[๕๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรุณาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยกรุณา อาศัยวิเวกอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกรุณาเจโตวิมุติว่า มีอากาสานัญจายตนะเป็นอย่างยิ่ง
เพราะภิกษุผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.

 

[๕๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มุทิตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยมุทิตา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวมุทิตาเจโตวิมุติว่า มีวิญญาณัญจายตนะเป็นอย่างยิ่ง
เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.

 

[๖๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาเจโตวิมุติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอุเบกขา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอุเบกขาเจโตวิมุติว่า มีอากิญจัญญายตนะเป็นอย่างยิ่ง
เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงเป็นโลกีย์.

จิตว่าง

คำว่า จิตว่าง

ว่าง ในที่นี้หมายถึง ว่างจากตัวกูของกู(อุปทานขันธ์ ๕)

๑. ความว่าง ที่เกิดจากโมหะ(อวิชชา)
ได้แก่ ความไม่รู้ชัดในผัสสะ อทุกขมสุข ทีมีเกิดขึ้น

๒. ความว่าง ที่เกิดจากกำลังของสมาธิกดข่มไว้
ที่มีเกิดขึ้นในรูปฌาน อรูปฌาน ฌานสมาบัติ นิโรธสมาบัติ กล่าวโดยย่อ วิโมกข์ ๘

๓. ความว่าง ที่เกิดจากวิชชา
ได้แก่ ความรู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดจากการท่องจำ หรือจะจากเหตุปัจจัยใดก็ตาม

๔. ความว่าง ที่เกิดจาก สังโยชน์ ๑๐ ถูกทำลายเป็นสมุจเฉทประหาณ
ในอริยบุคคล ๔ จำพวก โสดา สกิทาคา อนาคามี อรหันต์

สุญญตา

เมื่อคืน เจ้านายฟังเรื่องเกี่ยวกับความว่าง(สุญญตา)
เราบอกว่า จะไปฟังทำไม เป็นเรื่องของสภาวะที่มีเกิดจากกำลังของสมาธิ

ยังไม่สามารถนำมากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้ แค่สงบจากกิเลสชั่วคราว ถ้าเสื่อมล่ะก็ กิเลสกระจาย

.

เขาบอกว่า ก็วลัยพรไม่ค่อยพูดถึง

เราบอกว่า สภาวะหุ่นยนต์ไง นั่นแหละสูงสุดแล้ว
ความรู้สึกครั้งแรกที่มีเกิดขึ้นคือ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ว่างไปหมด
ไม่มีคำเรียกอะไรสักอย่างเดียว

ต่อมา ผัสสะเกิด กระทบปั๊บ ดับทันที กระทบ-ดับ ไม่มีช่องว่าง
ไม่มีคำว่าว่าง ไม่มีคำเรียกใดๆทั้งสิ้น กิเลสสักนิดไม่มี

เขาบอกว่า พอจะจำได้ละ
งั้นช่วยเขียนอธิบายไว้ที เดี๋ยวกลับมาอ่าน

สุญญตา หมายถึง การละอุปทานขันธ์ ๕

แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด

.

๑. อย่างหยาบ มีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

๒. อย่างกลาง มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ )

๓. อย่างละเอียด มีเกิดขึ้นขณะเกิด อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

ความว่างแห่งจิต

จิตว่างมีหลายลักษณะ

สภาวะจิตว่าง ที่รู้ด้วยตนเอง
เพราะพบเจอสภาวะจิตว่าง

1. รูปฌาน(สัมมาสมาธิ)
จิตว่างจากตัวกู ของกู
คือ ปราศจากความมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้น

2. อรูปฌาน(สัมมาสมาธิ)
จิตว่าง เพราะไม่มีรูปปรากฏ มีแต่ความว่าง
แต่รู้ตามความเป็นจริงว่า ที่ว่าว่างนั้น ว่างไม่จริง
เพราะยังมีกายอยู่ เพียงแต่รูปไม่ปรากฏ
เกิดจากกำลังสมาธิที่มีเกิดขึ้น มีกำลังมาก

3. เนวสัญญานสัญญายตนฌาน(สภาวะหุ่นยนต์)
ว่างแบบ สักแต่ว่า

คือ มีรูปปรากฏ เช่น ภูเขา คน สัตว์ สิงของฯลฯ
แต่การเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆนั้น
สักแต่ว่าเกิดขึ้น กระทบปั๊บ ดับทันที
ไม่มีคำว่า ภูเขา คน สัตว์ สิ่งของฯลฯ

4. ว่าง ว่าง ว่าง ยังไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร
วันก่อน ขณะทำงานอยู่หน้าคอมฯ
จู่ๆ มีสภาวะ “ว่าง” เกิดขึ้น
คือ ว่างจากทุกๆสิ่ง ไม่ใช่ว่างแบบสักแต่ว่า
แต่มันว่างไปหมด ไม่มีแม้กระทั่งกายที่นั่งทำงานอยู่
หรือความรู้สึกนึกคิดใดๆก็ไม่มี มันว่างไปหมด

พอจิตคลายตัวจากสภาวะที่มีเกิดขึ้น
ความรู้สึกแรกที่มีเกิดขึ้นคือ

เหมือนอยู่คนเดียวในโลก
ไม่มีอะไรสักอย่างเดียว

มันว่างไปหมด เหมือนตัวเองไม่ใช่คน
แบบคนปกติที่มีอยู่ทั่วๆไป

ความรู้สึกนึกคิดที่เคยมี
ก็หายไปหมดสิ้น รู้สึกเหมือนชีวิตไม่มีรสชาติ
อาจเป็นเพราะสัญญาต่างๆ หายไปชั่วขณะ

ตอนนี้กลับมาเป็นปกติ
ยังคงมีความรู้สึกนึกคิดอยู่

สุญญตา

เจ้านายกำลังดูรายการหนึ่ง
เขาเรียกให้เราไปดูด้วย

ผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ พูดเรื่อง สุญญตา
ทำนองว่า เป็นปฏิจจสมุปบาท

เราบอกเจ้านายว่า คนๆนี้ สัมมาสมาธิก็ยังไม่รู้จัก
สุญญตา เป็นลักษณะอาการ ที่มีเกิดขึ้น ตามความเป็นจริง
ของคำที่เรียกว่า สัมมาสมาธิ

กล่าวคือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับใจที่รู้อยู่
ปราศจากความมีตัวตน เข้าไปเกี่ยวข้อง
กับสภาพธรรมต่างๆ(ผัสสะ) ที่กำลังมีเกิดขึ้น
ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย
ที่เกิดจาก ความมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้อง
กับสิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)

เจ้านายถามว่า ผัสสะใช่มั๊ย

เราบอกว่า ใช่
เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่
ย่อมไม่แจ้งในอริยสัจ ๔

นับประสาอะไรกับ สมถะ-วิปัสสนา
โยนิโสมนสิการ ผัสสะ ปฏิจจะ
ที่เป็นหัวใจของการทำความเพียร
แค่สัมมาสมาธิ(สุญญตา)ก็ยังไม่รู้
ยิ่งไม่ต้องพูดถึงสภาวะอื่นๆ
บอกกับเจ้านายว่า วลัยพรมีมานะ
เจ้านายถามว่าคืออะไร

เราบอกว่า กูรู้ กูรูไง
พอรู้แล้ว มานะมันจะเกิด

เจ้านาามว่า ทำยังไงถึงจะทำลายอวิชชาได้

เราตอบว่า ผ่านความตายให้ได้สิตาเบิ้ม

รูปนาม อนัตตา สุญญตา

แก้ไขใหม่ ๓ มิย. ๒๕๖๖

ให้ดูสภาวะที่เห็นไว้ในปัจจุบัน

ส่วนตรงนี้ที่เขียนไว้ สมัยนั้น รู้แค่ไหน จะเขียนอธิบายไว้แค่นั้น


30 มีค. 2564

รูปนาม สุญญตา อนัตตา

.

รูปนาม
ได้แก่ ผัสสะ
มีเพียงสองสภาวะมีเกิดขึ้น คือสิ่งที่มีเกิดขึ้น กับ ใจที่รู้อยู่

อนัตตา
ได้แก่ ไตรลักษณ์  อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สภาวะอนัตตา เกิดจากจิตที่เกิดการปล่อยวางกับสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

ลักษณะที่มีเกิดขึ้นเด่นชัดของสภาวะอนัตตาคือ
รูปส่วนรูป นามส่วนนาม แยกขาดออกจากกัน ทำงานคนละส่วน
ปราศจากตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น(อนัตตลักขณะ)

อนัตตาเกิดจากจิตปล่อยวาง
สามารถมีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิตและขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ

ที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
โดยโยนิโสมนสิการ สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี กรรมและผลของกรรม
เห็นทุกข์ จิตพิจรณา เห็นความไม่เที่ยง
ทำให้จิตปล่อยวางจากสิ่งที่มีเกิดขึ้น(ความยึดมั่นถือมั่น)
เป็นอนัตตา บังคับไม่ได้
เหตุมี ผลย่อมมี
ที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)
การเจริญสติปัฏฐาน ๔
มีสภาวะกายแตก กายระเบิดที่มีเกิดขึ้น
จะมีสองสภาวะมีเกิดขึ้นคือ ใจที่รู้อยู่ กับ สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)
เป็นการรู้ชัดสภาวะรูปนามที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

สุญญตา
เกิดจากการละสักกายทิฏฐิ
ปราศจากความมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่มีเกิดขึ้นเองตามความเป็นจริง
ไม่ได้เกิดจากการน้อมเอาคิดเอา นี่รูป นี่นาม

เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
พิจารณาเห็นว่า สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนเอง ดังนี้
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง

ได้แก่ การละสักกายทิฏฐิ(โสดาปัตติผล) และละมานะ(อรหัตผล)

มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิตด้วยสีลวิสุทธิ
และหลังได้มรรคผล(โสดาปัตติผล)
จึงมีความเกิดขึ้นตามเป็นจริงของสภาวะเนวสัญญาฯ(ผู้ที่ได้วิโมกข์ ๘)
หลังจากนั้นแจ้งนิพพาน
ปฏิจจสมุปบาท(อวิชชา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ) สภาวะสัญญาเกิดก่อน
กำลังสมาธิ(วิโมกข์ ๘)ที่มีอยู่ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ทำให้รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
แจ้งอริยสัจ ๔
สภาวะปัญญาที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ความเกิด ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ฯลฯ
และความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ฯลฯ
สกิทาคา สีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ
อนาคามิผล
แจ้งอริยสัจ ๔
ความเกิด อวิชชา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ
และความดับ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ
อรหัตผล
แจ้งปฏิจจะ(อวิชชา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ) สัญญาเกิดก่อน
กำลังสมาธิที่มีอยู่ เสื่อมหายไปหมดสิ้น
ทำให้รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
แจ้งอริยสัจ ๔
สภาวะปัญญาที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ความเกิด รูปนาม สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ฯลฯ
และความดับ รูปนาม สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ฯลฯ
วิมุตติญาณทัสสนะมีเกิดขึ้น
แจ้งลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของคำที่เรียกว่า วิมุตติ
เป็นสภาวะตามความเป็นจริง(สภาวะจิตดวงสุดท้าย ๓ ครั้ง)
แจ้งอริยสัจ ๔
.
อริยสัจ ๔ มี ๔ รอบ
.
ถ้าให้พูดตามความเป็นจริง
หากดำเนินศิล เป็นสีลวิสุทธิ
มีผลต่อจิตตวิสุทธิ ทำให้ดำเนินถูกทางมรรคองค์ ๘
สติปัฏฐาน ๔ จะมีเกิดขึ้น
เพราะอินทรีย์ ๕ มีผลต่อสติปัฏฐาน ๕
จะรู้ชัดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ ๕
สภาวะที่มีเกิดขึ้น ให้กำหนดตามความเป็นจริง
อย่านำตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาภธรรมที่มีเกิดขึ้น
เมื่อมรรคผลมีเกิดขึ้น จะดูสภาวะจิตดวงสุดท้ายเป็นหลัก
กายแตก กายระเบิด อุปมาเหมือนบันได เป็นทางผ่าน
เมื่อมีเกิดขึ้นบ่อยๆ ช่วยละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
จนกระทั่งสภาวะจิตดวงสุดท้ายมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
.
สภาวะจิตดวงสุดท้าย เป็นเรื่องความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง
หากยังยึดมั่นถือมั่น จะผ่านไปได้ยาก เพราะติดอุปกิเลส
เมื่ออุปกิเลสมีเกิดขึ้น ย่อมคิดว่าตนเป็นโน่นนี้ ตามที่เคยอ่านมา
เมื่อตัณหา(ความอยาก) มีเกิดขึ้น แล้วไม่รู้เท่าทันตัณหา
สภาวะจึงจมแช่อยู่แค่นั้น

สุญญตา อนัตตา

 

คำเรียกต่างกัน สุญญตา อนัตตา เรือนว่าง

สภาพธรรมที่ปรากฏ เป็นตัวเดียวกัน
แตกต่างกันที่ เหตุปัจจัยที่ทำให้มีเกิดขึ้น

สุญญตา เรือนว่าง อนัตตา
มีลักษณะอาการเกิดขึ้นเหมือนๆกัน

กล่าวคือ เป็นอาการที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
มีเกิดขึ้นเฉพาะ สัมมาสมาธิ(รูปฌานและอรูปฌาน)

ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้น ใจที่รู้
แยกขาดออกจากกัน ไม่ปนกัน กายส่วนกาย จิตส่วนจิต

 

เมื่อก่อน รู้จักและรู้ชัด ด้วยตนเอง(ทำความเพียร)
สภาวะที่เรียกว่า สุญญตา เรือนว่าง(กายส่วนกาย จิตส่วนจิต)
มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)

 

วันนี้ รู้จักและรู้ชัด ด้วยตนเอง(ทำความเพียร)
สภาวะที่เรียกว่า อนัตตา

ซึ่งเกิดจากจิตที่เกิดการปล่อยวาง
เป็นสภาวะที่ ละเอียดกว่า สุญญตา เรือนว่าง
เป็นเรื่องของ อนุสัยกิเลส ที่นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน

 

ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ หรือสภาวะที่เรียกว่า ทุกขัง

สามารถรู้ได้จาก ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิตและขณะทำความเพียร
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ ความเป็นทุกข์(ทุกขัง)

เมื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

ขณะทำความเพียร
สภาพธรรมต่างๆ(สภาวะที่มีเกิดขึ้น) ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

มื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

ขณะจิตเป็นสมาธิ
สภาพธรรมต่างๆ(สภาวะที่มีเกิดขึ้น) ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

มื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

แยกรูป แยกนาม
กายส่วนกาย จิตที่รู้อยู่

ทุกข์ที่มีเกิดขึ้นทางกาย ใจที่รู้
แต่ไม่รู้สึกทุกข์ตามกายไปด้วย

พูดให้เห็นภาพชัดมากขึ้น

เช่น ขณะทำสมาธิ เกิดเวทนาที่ขา ปวดขา
จะรู้ตั้งแต่ กำลังเริ่มปวด กำลังปวด และกำลังคลายความปวด
โดยมีใจที่รู้อยู่ โดยไม่ได้รู้สึกปวดตามกายที่มีเวทนาเกิดขึ้นอยู่

 

ความไม่เที่ยงหรือสภาวะที่เรียกว่า อนิจจัง

สามารถรู้ได้จาก ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต และขณะทำความเพียร
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ

สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

มื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

ขณะทำความเพียร
สภาพธรรมต่างๆ(สภาวะที่มีเกิดขึ้น) ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

มื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

ขณะจิตเป็นสมาธิ
สภาพธรรมต่างๆ(สภาวะที่มีเกิดขึ้น) ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

เช่น เมื่อมีนิมิต โอภาส หรือสภาพธรรมต่างๆเกิดขึ้น

เมื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

เป็นเหตุปัจจัยให้ ไม่ติดอุปกิเลส

 

เคยอ่าน วิปัสสนาทีปนีฎีกา
มีแปลกใจเหมือนกันว่า

ทำไมสภาวะ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)
และสภาวะทุกขัง

มีการอธิบายรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ อนิจจัง ทุกขัง

แต่อนัตตา มีคำอธิบายไว้นิดเดียว

 

อนิจฺจนฺติ ขนฺธปญฺจกํ กสฺมา?

อุปฺปาทวยญฺญถตฺตภาวา หุตฺวา อภาวโต วา.

รูป, นาม ขันธ์ ๕ ชื่อว่า อนิจจัง
เพราะมีการ วิปริต ผิดแปลก เปลี่ยนไป
โดย ความดับ

หรือ อีกนัยหนึ่ง

เพราะ มีแล้ว ไม่มี
คือ เกิดขึ้นแล้ว ก็สูญสิ้น ดับไม่มีเหลือ

 

อนิจจลักขณะ

อุปฺปาทวยญฺญถตฺตํ อนิจฺจลกฺขณํ

หุตฺวา อาภวสงฺขาโต วา อาการวิกาโร

ความเกิดขึ้น เสื่อมไป และเป็นอย่างอื่น ชื่อว่า อนิจจลักขณะ

หรือ อีกนัยหนึ่ง

อาการที่เกิดขึ้นแล้ว ก็สูญสิ้น ดับไปไม่มีเหลือ ชื่อว่า อนิจจลักขณะ

 

 

ทุกขัง

วิสุทธิมัคอรรถกถากล่าวว่า

ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขฺติ วจนโต ปน ศเทว ขนธฺปญฺจกํ ทุกฺขํ กสฺมา?

อภิณฺหปฏิฬนา

รูป,นาม ขันธ์ ๕ นั้นแหละชื่อว่า ทุกขัง
สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ว่า
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์

เพราะ รูป,นาม ขันธ์ ๕
ถูกเบียดเบียน บีบคั้นอยู่เนืองๆ
โดยความเกิด และความดับ

 

ทุกขลักขณะ

อภิณฺหปฏิปีฬนาคาโร ทุกฺขลกฺขณํ

อาการถูกเบียดเบียน บีบคั้น อยู่เนืองๆ ชื่อว่า ทุกขลักขณะ

 

 

อนัตตา

วิสุทธมัคอรรถกถากล่าวว่า

ยํ ทุกขํ ตทนตฺตาติ ปน วจนโต ตเทว ขนฺธปญฺจกํ อนตฺตา. กสฺมา?
อสวตฺตนโต

นาม,รูป ขันธ์ ๕ นี้แหละชื่อว่า อนัตตา
สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ว่า

สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
เพราะ รูป,นาม ขันธ์ ๕ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น

 

อนัตตลักขณะ

อาการที่ไม่เป็นไปในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด
ชื่อว่า อนัตตลักขณะ

 

คำว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ได้แก่ รูป,นาม ขันธ์ ๕,นิพพาน,บัญญัติ

กับคำว่า

ตเทว ขนฺธปญฺจกํ อนตฺตา
ได้แก่ รูป,นาม ขันธ์ ๕

ทั้งสองบทนี้ ล้วนเป็นแต่ พุทธภาษิต ทั้งสิ้น

แต่องค์ธรรม ไม่เหมือนกัน
การเป็นดังนี้ เพราะ

เนื่องมาจากการแสดงธรรมเทศนาของพระพุทธองค์
ทรงมุ่งหมาย เป็นคนละแง่

คือ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ทรงแสดงในแง่ที่จะให้พุทธบริษัททั้งหลาย ได้ทราบถึง
สิ่งทั้งปวง ที่มีอยู่ในโลก

ไม่ว่าจะเป็น ปรมัตถ์ หรือ บัญญัติ
ล้วนเป็น อนัตตาทั้งสิ้น

ส่วน ตเทว ขนฺธปญฺจกํ อนตฺตา นั้น
ทรงแสดง รูป,นาม ขันธ์ ๕
ที่เป็นอารมณ์ของ วิปัสสนาญาณ ประการเดียว

เหตุนั้น คำว่า อนัตตา ที่มีอยู่ในบททั้งสอง
จึงได้องค์ธรรม ไม่เท่ากัน

 

ตอนนี้ไม่แปลกใจแล้วว่า
ทำไมสภาวะ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)
และสภาวะทุกขัง

มีการอธิบายรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ อนิจจัง ทุกขัง

แต่อนัตตา มีคำอธิบายไว้นิดเดียว

วันนี้ รู้จักและรู้ชัด ด้วยตนเอง(ทำความเพียร)
สภาวะที่เรียกว่า อนัตตา

ซึ่งเกิดจากจิตที่เกิดการปล่อยวาง
เป็นสภาวะที่ ละเอียดกว่า สุญญตา เรือนว่าง
เป็นเรื่องของ อนุสัยกิเลส ที่นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน

เหตุปัจจัยจาก สภาวะความตาย ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ

เป็นเหตุปัจจัย ให้รู้ชัด ในสภาวะ อนัตตา

 

 

 

10-10-2559

วลัยพร

สูญญตา เรือนว่าง อนัตตา

วันนี้ รู้จักและรู้ชัด ด้วยตนเอง(ทำความเพียร)
สภาวะที่เรียกว่า อนัตตา

ซึ่งเกิดจากจิตที่เกิดการปล่อยวาง
เป็นสภาวะที่ ละเอียดกว่า สุญญตา เรือนว่าง
เป็นเรื่องของ อนุสัยกิเลส ที่นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน

เหตุปัจจัยจาก สภาวะความตาย ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ

เป็นเหตุปัจจัย ให้รู้ชัด ในสภาวะ อนัตตา

 

 

 

 

 

สุญญตา อนัตตา

คำเรียกต่างกัน สุญญตา อนัตตา เรือนว่าง

สภาพธรรมที่ปรากฏ เป็นตัวเดียวกัน
แตกต่างกันที่ เหตุปัจจัยที่ทำให้มีเกิดขึ้น

สุญญตา เรือนว่าง อนัตตา
มีลักษณะอาการเกิดขึ้นเหมือนๆกัน

กล่าวคือ เป็นอาการที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
มีเกิดขึ้นเฉพาะ สัมมาสมาธิ(รูปฌานและอรูปฌาน)

ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้น ใจที่รู้
แยกขาดออกจากกัน ไม่ปนกัน กายส่วนกาย จิตส่วนจิต

………………………

เมื่อก่อน รู้จักและรู้ชัด ด้วยตนเอง(ทำความเพียร)
สภาวะที่เรียกว่า สุญญตา เรือนว่าง(กายส่วนกาย จิตส่วนจิต)
มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)

………………..

วันนี้ รู้จักและรู้ชัด ด้วยตนเอง(ทำความเพียร)
สภาวะที่เรียกว่า อนัตตา

ซึ่งเกิดจากจิตที่เกิดการปล่อยวาง
เป็นสภาวะที่ ละเอียดกว่า สุญญตา เรือนว่าง
เป็นเรื่องของ อนุสัยกิเลส ที่นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน

—————–

ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ หรือสภาวะที่เรียกว่า ทุกขัง

สามารถรู้ได้จาก ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิตและขณะทำความเพียร
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ ความเป็นทุกข์(ทุกขัง)

เมื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

ขณะทำความเพียร
สภาพธรรมต่างๆ(สภาวะที่มีเกิดขึ้น) ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

มื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

ขณะจิตเป็นสมาธิ
สภาพธรรมต่างๆ(สภาวะที่มีเกิดขึ้น) ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

มื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

แยกรูป แยกนาม
กายส่วนกาย จิตที่รู้อยู่

ทุกข์ที่มีเกิดขึ้นทางกาย ใจที่รู้
แต่ไม่รู้สึกทุกข์ตามกายไปด้วย

พูดให้เห็นภาพชัดมากขึ้น

เช่น ขณะทำสมาธิ เกิดเวทนาที่ขา ปวดขา
จะรู้ตั้งแต่ กำลังเริ่มปวด กำลังปวด และกำลังคลายความปวด
โดยมีใจที่รู้อยู่ โดยไม่ได้รู้สึกปวดตามกายที่มีเวทนาเกิดขึ้นอยู่

———————–

ความไม่เที่ยงหรือสภาวะที่เรียกว่า อนิจจัง

สามารถรู้ได้จาก ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต และขณะทำความเพียร
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ

สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

มื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

ขณะทำความเพียร
สภาพธรรมต่างๆ(สภาวะที่มีเกิดขึ้น) ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

มื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

ขณะจิตเป็นสมาธิ
สภาพธรรมต่างๆ(สภาวะที่มีเกิดขึ้น) ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เมื่อกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)เนืองๆ
สภาพธรรมที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ย่อมมีเกิดขึ้น
ได้แก่ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)

เช่น เมื่อมีนิมิต โอภาส หรือสภาพธรรมต่างๆเกิดขึ้น

เมื่อกำหนดรู้เนืองๆ
จิตย่อมเกิดการปล่อยวางจากสภาพธรรมที่กำลังมีเกิดขึ้น

เป็นเหตุปัจจัยให้ ไม่ติดอุปกิเลส

——————————————————–

เคยอ่าน วิปัสสนาทีปนีฎีกา
มีแปลกใจเหมือนกันว่า

ทำไมสภาวะ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)
และสภาวะทุกขัง

มีการอธิบายรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ อนิจจัง ทุกขังว่า

————————————

อนิจฺจนฺติ ขนฺธปญฺจกํ กสฺมา?

อุปฺปาทวยญฺญถตฺตภาวา หุตฺวา อภาวโต วา.

รูป, นาม ขันธ์ ๕ ชื่อว่า อนิจจัง
เพราะมีการ วิปริต ผิดแปลก เปลี่ยนไป
โดย ความดับ

หรือ อีกนัยหนึ่ง

เพราะ มีแล้ว ไม่มี
คือ เกิดขึ้นแล้ว ก็สูญสิ้น ดับไม่มีเหลือ

……………………………..

อนิจจลักขณะ

อุปฺปาทวยญฺญถตฺตํ อนิจฺจลกฺขณํ

หุตฺวา อาภวสงฺขาโต วา อาการวิกาโร

ความเกิดขึ้น เสื่อมไป และเป็นอย่างอื่น ชื่อว่า อนิจจลักขณะ

หรือ อีกนัยหนึ่ง

อาการที่เกิดขึ้นแล้ว ก็สูญสิ้น ดับไปไม่มีเหลือ ชื่อว่า อนิจจลักขณะ

————————

ทุกขัง

วิสุทธิมัคอรรถกถากล่าวว่า

ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขฺติ วจนโต ปน ศเทว ขนธฺปญฺจกํ ทุกฺขํ กสฺมา?

อภิณฺหปฏิฬนา

รูป,นาม ขันธ์ ๕ นั้นแหละชื่อว่า ทุกขัง
สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ว่า
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์

เพราะ รูป,นาม ขันธ์ ๕
ถูกเบียดเบียน บีบคั้นอยู่เนืองๆ
โดยความเกิด และความดับ

………………..

ทุกขลักขณะ

อภิณฺหปฏิปีฬนาคาโร ทุกฺขลกฺขณํ

อาการถูกเบียดเบียน บีบคั้น อยู่เนืองๆ ชื่อว่า ทุกขลักขณะ

———————————————————–

———————————————————–

อนัตตา

วิสุทธมัคอรรถกถากล่าวว่า

ยํ ทุกขํ ตทนตฺตาติ ปน วจนโต ตเทว ขนฺธปญฺจกํ อนตฺตา. กสฺมา?
อสวตฺตนโต

นาม,รูป ขันธ์ ๕ นี้แหละชื่อว่า อนัตตา
สมดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ว่า

สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
เพราะ รูป,นาม ขันธ์ ๕ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้น

……………………….

อนัตตลักขณะ

อาการที่ไม่เป็นไปในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด
ชื่อว่า อนัตตลักขณะ

………….

คำว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ได้แก่ รูป,นาม ขันธ์ ๕,นิพพาน,บัญญัติ

กับคำว่า

ตเทว ขนฺธปญฺจกํ อนตฺตา
ได้แก่ รูป,นาม ขันธ์ ๕

ทั้งสองบทนี้ ล้วนเป็นแต่ พุทธภาษิต ทั้งสิ้น

แต่องค์ธรรม ไม่เหมือนกัน
การเป็นดังนี้ เพราะ

เนื่องมาจากการแสดงธรรมเทศนาของพระพุทธองค์
ทรงมุ่งหมาย เป็นคนละแง่

คือ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ทรงแสดงในแง่ที่จะให้พุทธบริษัททั้งหลาย ได้ทราบถึง
สิ่งทั้งปวง ที่มีอยู่ในโลก

ไม่ว่าจะเป็น ปรมัตถ์ หรือ บัญญัติ
ล้วนเป็น อนัตตาทั้งสิ้น

ส่วน ตเทว ขนฺธปญฺจกํ อนตฺตา นั้น
ทรงแสดง รูป,นาม ขันธ์ ๕
ที่เป็นอารมณ์ของ วิปัสสนาญาณ ประการเดียว

เหตุนั้น คำว่า อนัตตา ที่มีอยู่ในบททั้งสอง
จึงได้องค์ธรรม ไม่เท่ากัน

 

 


 

ตอนนี้ไม่แปลกใจแล้วว่า
ไม่แปลกใจแล้วว่า

ทำไมสภาวะ อนิจจัง(ความไม่เที่ยง)
และสภาวะทุกขัง

มีการอธิบายรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ อนิจจัง ทุกขัง

แต่อนัตตา มีคำอธิบายไว้นิดเดียว

วันนี้ รู้จักและรู้ชัด ด้วยตนเอง(ทำความเพียร)
สภาวะที่เรียกว่า อนัตตา

ซึ่งเกิดจากจิตที่เกิดการปล่อยวาง
เป็นสภาวะที่ ละเอียดกว่า สุญญตา เรือนว่าง
เป็นเรื่องของ อนุสัยกิเลส ที่นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน

เหตุปัจจัยจาก สภาวะความตาย ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ

เป็นเหตุปัจจัย ให้รู้ชัด ในสภาวะ อนัตตา

10-10-2559

วลัยพร

 

 

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ