เรื่องราวในบล็อก กับ การลอกต่อๆกันมา

บางสิ่ง เมื่อรู้แล้ว จึงมีความสงบ ขณะผัสสะเกิด

แต่บางสิ่ง ยังไม่เกิด แต่รู้ว่าเกิดแน่นอน เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผล เหตุเกิดจากคำพูดที่หลุดไป ว่าคราวต่อไป จะรับมืออย่างไร

สภาวะมาสอนตลอดเวลา อย่าหลุดปากอะไรออกไปอีก พยายามดูตัวเองให้ทัน ในเรื่องการสร้างเหตุ

เฮ้ออออ … ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ ตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ กระดิกตัวไม่ได้เลยจริงๆ

บางครั้ง การสื่อสารทางตัวหนังสือ อาจทำให้อีกฝ่าย สำคัญผิดในรูปของประโยค

เรื่องราวในบล็อก

สิ่งที่ได้เขียนไว้ในบล็อก จะเขียนบอกเสมอว่า เป็นเพียงสภาวะ สัญญา ซึ่งนำมาจากการปฏิบัติ เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นจาก ขณะที่จิตเป็นสมาธิอยู่ แล้วหาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เช่น เรื่อง วิญญาณขันธ์

เมื่อมีเหตุให้ได้รู้ จึงนำเรื่อง วิญญาณขันธ์ ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก มาใส่สำทับลงไปอีกที

เผื่อมีคนสนใจเรื่อง วิญญาณขันธ์ จะได้รู้เห็น รายละเอียด ของวิญญาณขันธ์ว่า ไม่ได้มีเพียง ตัวเดียว/สภาวะเดียว/ความหมายเดียว

วิญญาณขันธ์ มีหลายชนิด แยกออกจาก ตามลักษณะเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้น

เช่น เมื่อเกิดผัสสะ หรือมีสิ่งมากระทบ มีวิญญาณขันธ์เกิดขึ้น วิญญาณขันธ์สภาวะที่เกิดขึ้นนี้ เรียกว่า วิญญาณ ๖

ส่วนวิญญาณขันธ์ ที่เป็นวิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ เกิดจาก สังขาร/อุปทาน เป็นเหตุปัจจัย เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นของ วิญญาณขันธ์ประเภท สเหตุกะ กับ อเหตุกะ คือ เกิดขึ้นเพราะมีเหตุ กับ ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่มีเหตุ

ถ้ามีเหตุ จะเรียกว่า มโนกรรม

ถ้าไม่มีเหตุ วิญญาณขันธ์ จะสักแต่ว่า เป็นเพียงธาตุรู้ คือ รู้ว่า มีสิ่งเกิดขึ้นเท่านั้น

แต่เท่าที่ฟังมา ในยุคนี้ สมัยนี้ มักจะชอบพูดเหมารวม ทำนองว่า วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ กับ วิญญาณขันธ์ ที่เป็นวิญญาณ ๖ เป็นตัวเดียวกัน สภาวะเดียวกัน

เหตุนี้ มโนจึงหายไป จึงไปพูดเหมารวมกับสภาวะสังขารขันธ์ว่า สังขารขันธ์ เป็นการปรุงแต่งทางความคิด

ทั้งๆที่ สังขารขันธ์ เป็นเพียงสภาวะ การปรุงแต่ง ที่เกิดจาก สัญญา เวทนา และผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

ลอกต่อๆกันมา

“นั่นแหละ จักขุงอุทะปาทิ ญาณังอุทะปาทิ เห็นด้วยญาณ เห็นด้วยปัญญา
เห็นด้วยวิชชา เพราะว่าแสงสว่างของวิชชานั้นขยายออกไป แล้วก็ทำให้
เห็น นั่นแหละจิตตัวนั้น ก็เลยเป็นจิตที่เข้มแข็งด้วยสติปัญญา เมื่อเป็น
จิตที่เข้มแข็งด้วยปัญญาที่สามารถขับไล่ความมืดคืออวิชชาออกไป
สังขารนั้นก็ไร้อวิชชา มีแต่วิชชาควบคุม พูดก็ถูกต้อง ทำก็ถูกต้อง คิด
ก็ถูกต้อง แต่เมื่อก่อนไม่ถูกต้องหมดเลย คิดก็กู ทำก็กู พูดก็กู กูหมด
นั่นคือสังขาร

ทีนี้พอไปถึงตัววิญญาณ ตัววิญญาณคือตัวรู้ วิญญาณหก
ความรู้สึก หรือว่าความรู้ที่เกิดขึ้นทางตา ทางหู ทางจมูก ลิ้น กาย ใจ
นั่นคือประกอบด้วยวิญญาณ นี้ถ้าวิญญาณนั้นรู้ว่าเป็นกู ไอ้ตัวรู้นี่เป็น
กู ไปแล้วนั่นน่ะ ถ้าวิญญาณกูก็อวิชชาเข้าไปกินแล้ว แต่ถ้าวิญญาณนั้น
ไม่ใช่กู วิญญาณไม่ใช่กู การเห็นทางตาก็ไม่ใช่กู การได้ยินทางหู ทาง
จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่ใช่กู นี่มันไม่ใช่กู นั่น อย่างนั้นน่ะก็เรียกว่า มันถูก
ควบคุมด้วยวิชชา”

นี่แหละ ลอกกันหรือบอกต่อๆกันมา วิญญญาณ ในปฏิจจสมุปบาท จึงกลายเป็น “กู” ไป

แม้กระทั่ง สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท เกิดจากลอกต่อหรือบอกต่อๆกันมา จึงกลายเป็น สังขารขันธ์ ในฝ่ายเหตุไป

โดยสภาวะ สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท เป็น สังขาร ฝ่ายผล หมายถึง ผลของเหตุที่ได้กระทำไว้ในอดีต ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มาปรากกขณะ จิตจุติ คือ กำลังใกล้ตาย ภาพนิมิตต่างๆจะปรากฏขึ้นทางมโน หรือความคิด เหตุจาก อวิชชา ที่มีอยู่

เป็นเหตุให้เกิด วิญญาณ หมายถึง วิญญาณขันธ์ ประเภท สเหตุกะ กับ อเหตุกะ

เมื่อยังมีเหตุ จึงต้องเกิด วิญญาณ จึงเป็นเหตุปัจัยให้เกิด นามรูป หมายถึง กายและจิต

เมื่อมีนามรูป จึงเป็นเหตุให้เกิด อายตนะ ได้แก่ เมื่อมีกายและจิต ย่อมมีการทำงานของอายตนะ

เมื่อมีอายตนะ จึงมีผัสสะ หมายถึง เมื่อมีการทำงานของอายตนะ จึงมีสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ เกิดขึ้น สภาวะขณะผัสสะเกิด เป็นเหตุของการเกิด วิญญาณ ๖ ซึ่งเกิดจาก

อันนนี้ลอกเขามาอีกที ซึ่งตรงกับการทำงานของสภาวะ

“กลุ่มแห่งจักขุวิญญาณ ความรู้แจ้งทางตา เป็นต้น เป็นผัสสสัมปยุต ก้ประกอบกับผัสสะ เช่น อาศัยตา และรูปทั้งหลาย เกิมจักขุวิญญาณ ความประจวบกันแห่งสิ่ง ๓ ประการ (ตา+รูป+ผัสสะ คือ การที่ตาเห็นเห็นรูปเท่ากับผัสสะ คือ กระทบกัน) เท่ากับผัสสสัมปยุต

เมื่อมีผัสสะเกิด เป็นเหตุให้เกิดเวทนา คำว่า เวทนา ไม่ได้หมายถึง ความรู้สึกยินดี/ยินร้ายเพียงแค่นั้น แต่ยังหมายถึง อุเบกขาเวทนา ได้แก่ ความรู้สึกเฉย คือ แค่รู้ว่า มีสิ่งเกิดขึ้น(ผัสสะ) แต่ไม่มีความรู้สึกอื่นเกิดขึ้น

เช่น เห็นหนังสือ รู้แค่ว่า หนังสือ(สัญญา) ไม่มีการปรุงแต่งเกิดขึ้น(สังขาร)

อีกอย่าง ถ้าสังขาร ในปฏิจจสมุปบาท เป็นสังขารฝ่ายเหตุ ทำไมจึงมีอุปทาน ในปฏิจจสมุปบาท ทำไมไม่เขียนว่าเป็นสังขาร ทั้งๆที่ สิ่งที่เกิดขึ้น ของสังขาร และอุปทาน มีลักษณอาการเกิดขึ้นเหมือนกัน เพราะ สังขาร คือ การปรุงแต่ง ของอุปทานที่มีอยู่

เหตุที่ เกิดอุเบกขาเวทนา เนื่องจาก ไม่มีเหตุปัจจัยกับสิ่งนั้น

เหตุที่เกิด เวทนา เนื่องจาก มีเหตุปัจจัยกับสิ่งนั้น

พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสเรียกอายตนะว่า กรรมเก่า

ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย กัมมนิโรธสูตร พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องกรรมเก่าและกรรมใหม่ไว้ว่า

“อายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เรียกว่ากรรมเก่า

การกระทำ คำที่พูด เรื่องที่คิด ด้วยเจตนาที่เป็นไปในปัจจุบัน เรียกว่ากรรมใหม่”

ต้องมีเหตุปัจจัย ไม่งั้นพระองค์ จะไม่ทรงตรัสเรียกอย่างนั้น แล้วทำไมตรงตรัสเรียกว่า กรรมเก่า

เหตุเพราะ เมื่อเกิดผัสสะ หมายถึง สิ่งที่มากระทบ นั่นแหละ เหตุที่เคยทำไว้ ส่งมาให้ได้รับผล ในรูปของเหตุ ได้แก่ ผัสสะที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกยินดี/ยินร้าย(เวทนา) พระองค์จึงทรงตรัสเรียกอายตนะว่า กรรมเก่า เพราะเหตุนี้ เพราะมีเหตุปัจจัยต่อกัน

วิญญาณ ๖ เกิดจาก เหตุปัจจัยของ อายตนะทำงาน(ผัสสะ) คือ ธาตุรู้

บางคนอาจจะคิดว่า วิญญาณ เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด นามรูป ซึ่งหมายถึง ขันธ์ ๕
ถ้าหมายถึง ขันธ์ ๕ นั่นคือ การทำงานของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้วกลับมาเป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดอายตนะ งั้นหรือ

หมายถึง วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดอายตนะ งั้นหรือ

ถ้าคิดพิจณาแบบนี้ งั้นมาดูต่อ ถ้าหมายถึง ขันธ์ ๕ ไฉน จึงมาเป็นเหตุปัจจัย วกกลับไปเป็น อายตนะใหม่อีก

ซึ่งขัดกับสภาวะที่เกิดขึ้น คือ วิญญาณ ๖ เกิดจาก การทำงานของอายตนะ

แต่นำมาอธิบายทำนองว่า วิญญาณ ๖ เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด อายตนะ รู้สึกขัดกัน

เช่นเดียวกัน ทำนองว่า วิญญาณ ๖ เป็นเหตุปัจจัย ของการเกิดนามรูป ที่หมายถึง ขันธ์ ๕

ไม่ชอบใจสภาวะนี้มากกกกก สภาวะสัญญา

ซึ่งจริงๆแล้ว ใครจะรู้อะไร ยังไง เรียกว่า อะไร ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

สิ่งที่สำคัญ รู้แล้วหยุดสร้างเหตุได้ไหม ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ปล่อยให้เป็นไปตามเหตุปัจจัยก่อน ใครสร้างเหตุแบบไหน เขาย่อมดำเนินไปตามเหตุปัจจัย

เมื่อเขียนออกมาบ่อยๆ ทำให้เห็นช่องโหว่ทัน ประมาณว่า ในคำพูด ไม่ควรนำไปเปรียบเทียบกับคนอื่น

เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผลตามมา

ว่าด้วย วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน

[๗๔] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๔ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๕ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็นทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณธาตุ อัพยากตมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้

วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณธาตุ อัพยากตมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=1240&Z=1498

 

ว่าด้วย วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์ ที่หมายถึง การรู้แจ้งในอารมณ์ เป็นเพียงแค่การรับรู้ ในภาพ ในเสียง ในกลิ่น ในรส ฯ.(อายตนะภายนอก)ที่มากระทบต่างๆเท่านั้น

วิญญาณขันธ์ ตัวนี้ หมายถึง วิญญาณ ๖ ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕

วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ หมายถึง วิญญาณที่เป็นธาตุรู้ คือ รู้สักแต่ว่ารู้ เป็นวิญญาณประเภท สเหตุกะ และอเหตุกะ ที่เกิดจาก สังขารขันธ์ เป็นเหตุปัจจัย ที่เกิดจาก เวทนา เป็นเหตุปัจจัย

เมื่อเกิดการปรุงแต่งโดยสังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ จะแปรสภาพเป็น มโน ได้แก่ มโนกรรม

เฉกเช่นเดียวกันกับ วิญญาณ ในปฏิจจสมุปบาท เป็นวิญญาณขันธ์ ประเภท สเหตุกะและอเหตุกะ ที่เกิดจากสังขาร ที่เป็นผลของเหตุ ที่เกิด ณ ปัจจุบัน ขณะ/อุปทาน/กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

ที่เป็นเหตุของการเกิด(วิญญาณ) การเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร หากยังมีเหตุอยู่(อนุสัยกิเลส/สังโยชน์) คนละสภาวะกับ สังขารในขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ(เหตุ)

สังขารในปฏิจจสมุปบาท เกิดจาก มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม เป็นเหตุปัจจัย โดยมี จุติวิญญาณ เป็นปทัฏฐาน โดยมี วิญญาณขันธ์ เป็นผล(สเหตุกะกับอเหตุกะ)

สเหตุกะ หมายถึง ยังมีการเกิด

อเหตุกะ หมายถึง ไม่มีการเกิด

ปัจจุบัน ขณะ เมื่อผัสสะเกิด เช่น ตากระทบรูป มีวิญญาณเกิด (ความรู้แจ้งทางอารมณ์/จักขุวิญญาณ) เกิดขึ้น

ไม่มีเวทนาเกิด(ความยินดี/ยินร้าย) สังขารขันธ์ย่อมย่อมไม่เกิด วิญญาณขันธ์ ได้แก่ ความคิด ย่อมไม่เกิด เป็นวิญญาณขันธ์ประเภท อเหตุกะ คือ ไม่มีเหตุของการเกิด

ปัจจุบัน ขณะ เมื่อผัสสะเกิด เช่น ตากระทบรูป มีวิญญาณเกิด (ความรู้แจ้งทางอารมณ์/จักขุวิญญาณ) เกิดขึ้น

มีเวทนาเกิด(ความยินดี/ยินร้าย) สังขารขันธ์ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ได้แก่ การปรุงแต่ง ตามความรู้สึกยินดียินร้ายที่เกิดขึ้น

โดยมีตัวตัณหา ได้แก่ กิเลส ที่นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน(สังโยชน์ ๑๐) เป็นตัวหนุนนำ ให้เกิดการกระทำ ตามอุปทานที่มีอยู่ อันดับแรก ได้แก่ วิญญาณขันธ์ ที่เป็นสเหตุกะ คือ มีเหตุของการเกิด เรียกว่า มโนกรรม เป็นการปรุงแต่งทางความคิด

ซึ่งหมายถึง ภพปัจจุบัน ขณะ ได้เกิดขึ้นมาใหม่แล้ว(การกระทำทางมโนกรรม)

ชาติ คือ ผล หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ณ ปัจจุบันขณะ

วิญญาณ ๖ ไม่สามารถบังคับ ไม่ให้เกิดขึ้นได้ เหตุจาก เมื่อยังมีชีวิตอยู่ หมายถึง ยังมีการทำงานของอายตนะ

ตราบนั้น ผัสสะย่อมเกิด เป็นเรื่องปกติ
วิญญาณ ๖ ย่อมเกิด เป็นเรื่องปกติ วิญญาณ ๖ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในคนตาย

วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ ตราบใดที่ยังมีเหตุปัจจัยอยู่ ได้แก่ สังโยชน์ (๑๐) ตราบนั้น ห้ามความคิด ย่อมไม่สามารถห้ามได้ แต่สามารถรู้ว่าคิดอยู่ได้

สิ่งที่ห้ามได้ คือ การกระทำ ได้แก่ วจีกรรมและกายกรรม ที่เกิดจาก มโนกรรม โดยมีตัวตัณหาหรือกิเลส เป็นแรงผลักดันอยู่

เพียงฝึก หยุดสร้างเหตุนอกตัว ที่เกิดจาก ความรู้สึกยินดี/ยินร้าย แค่รู้ลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ สภาวะไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย

พร้อมทั้งเป็นการฝึกละสักกายทิฏฐิไปในตัว ได้แก่ ไม่นำความเห็นของตนที่มีอยู่ ไปสร้างเหตุที่กำลังเกิดขึ้น(ผัสสะ) เกิด-ดับ เกิด-ดับ อยู่อย่างนั้น มีเหตุ ย่อมมีผล

ทำความเพียรต่อเนื่อง จนกว่า สภาวะสมุจเฉทประหาณเกิด เมื่อนั้น สังโยชน์ ข้อที่ ๑ ทิฏฐิกิเลส หรือสักกายทิฏฐิ สีลัพพตปรามาส จะถูกทำลายลงทันที ไม่มีกำเริบเกิดขึ้นอีกต่อไป

ส่วนวิจิกิจฉากิเลส จะถูกทำลายหมดสิ้น ไม่มีกำเริบอีกต่อไป เมื่อแจ้งในสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง

หมายเหตุ:

เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาปริยัติ ลองนำไปเทียบๆดูได้ โดยไม่ต้องไปคิดว่าอันไหนถูก หรือผิด เพราะ บัญญัติแต่ละตัวนั้น มีไว้ใช้ในการสื่อสาร แต่จะสามารถรู้ในคำต่างๆนั้นได้ รู้ได้โดยสภาวะที่เกิดขึ้น ขณะภาวนาหรือจิตภาวนา หรือแม้กระทั่งรู้จากการอ่าน การฟัง

มีสิ่งใดเกิดขึ้น แค่รู้ อย่าไปยึด ยึดเมื่อใด จะเป็นสัญญา ถ้าแค่รู้ จะรู้ชัดในสภาวะที่ละเอียดมากขึ้น เมื่อรู้แล้ว ผลคือ มีแต่หยุดการสร้างเหตุนอกตัว นี่แหละคือ สภาวะปัญญา

สภาวะปัญญาที่แท้จริง มีแต่ รู้แล้วหยุด รู้แล้วดับ ดับเหตุของการเกิดทั้งภพชาติปัจจุบัน และภพชาติในวัฏฏสงสาร

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ