สีลปาริสุทธิและอธิศิล

ความแตกต่างระหว่างสีลปาริสุทธิและอธิศิล

คำว่า สีลปาริสุทธิและคำว่าอธิศิล
เป็นสภาวะที่มีเกิดขึ้นแตกต่างกัน
และความรู้ความเห็นก็แตกต่างกัน

สีลปาริสุทธิ
ได้แก่ การละลัพพตปรามาสลงไปได้

ได้แก่
๑. ละด้วยการสดับพระธรรมจากพระอริยะ สัตบุรุษ สัปบุรุษ
ย่อมพยายามละการสร้างกรรมใหม่ให้มีเกิดขึ้นอีก

๒. ละด้วยสมาธิที่เกิดจากการเจริญสมถะหรือวิปัสสนาก็ตาม
ทำให้ละนิวรณ์ลงไปได้ ดับด้วยสมาธิ
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ที่เกิดจากจิตจดจ่อรู้ลมหายใจเข้าออก
จะทำอะไรก็ตาม จิตจะจดจ่อรู้ลมหายใจเนืองๆ
ทำให้ละความคิดลงไปได้
ในบางกลุ่ม หรือบางคนเรียกกันเองว่า สิ้นความคิด
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นยังเป็นมรรค ยังไม่ผล

๓. เมื่อปฏิบัติต่อเนื่องทั้งสองแบบ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองแบบ
ไตรลักษณ์ปรากฏตามเห็น เห็นความไม่เที่ยงของความคิดที่มีเกิดขึ้น
แล้วทำให้เห็นความเกิดดับของความคิดที่มีเกิดขึ้น
ทำให้จิตปล่อยวางจากผัสสะ เวทนาที่มีเกิดขึ้นลงไปได้
เรียกว่า ละด้วยปัญญา คือไตรลักษณ์
ตัวสภาวะที่มีเกิดขึ้นยังเป็นมรรค ยังไม่ผล

อธิศิล ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นดังนี้
๑. มีเกิดขึ้นจากการแจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ที่เกิดจากได้โสดาปัตติผลตามจริง
ละอวิชชา วิชชามีเกิดขึ้นตามจริง ครั้งที่ ๑

๒. เป็นผู้ที่มีความเป็นผู้มีหิริและโอตตัปปะ
ลักษณะที่มีเกิดขึ้นคือ

๒.๑ ที่เกิดจากการได้โสดาปัตติผลตามจริง
แจ้งอริยสัจ ๔ ตามจริง
ทำให้หิริโอัตปปะมีเกิดขึ้นในตน
สติไประลึกถึงกรรมที่เคยกระทำไว้ในอดีต
ทำให้รู้สึกละอายใจต่อการกระทำไว้ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ทำให้เกิดการสังวร ระวัง อัตโนมัติ
ตัวสภาวะจะมีเกิดขึ้น
ก่อนจะลงมือกระทำ จะเกิดการพิจรณาก่อนจะลงมือกระทำ
พูดง่ายๆตัดสินใจช้า ไม่กระทำตามตัณหา จะรู้ทันความอยากที่มีเกิดขึ้น
เมื่อตัดสินใจทำ สัมปชัญญะจะมีเกิดขึ้นตามมา
คือมีความรู้สึกขณะลงมือกระทำ
ทำให้ไม่พลั้งเผลอขณะกำลังทำกิจนั้นๆ

๒.๒ กำลังสมาธิที่มีอยู่(อรูปฌาน) บดบังผัสสะ เวทนา ไม่ให้เห็นที่มีอยู่
คือดับด้วยสมาธิ(อรูปฌาน)และปัญญา(การแจ้งอริยสัจ ๔)
ทำให้เห็นความไม่เที่ยง(ไตรลักษณ์)
จิตปล่อยวางจากผัสสะ เวทนาที่มีเกิดขึ้น
สภาวะที่มีเกิดขึ้น สักแต่ว่าสภาวะมีเกิดขึ้น
โดยไม่มีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องสภาวะที่มีเกิดขึ้นขณะนั้นๆ
เมื่อไม่มีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องในสภาวะที่มีเกิดขึ้น
เวทนาย่อมไม่มี สักแต่ว่าผัสสะมีเกิดขึ้น

ฟังพระธรรมจากพระอริยะ

สีลปาริสุทธิและสัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๑

ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี

บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี
ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาคเพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว
จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลส
และเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด ผู้เห็นประโยชน์
พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย
ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย
พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก

ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่นหรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ
ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี
ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำ
และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้
คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ
ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ทั้งผู้ที่มั่นคง
ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง
ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
และไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่
พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆในที่ไหนๆ
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก
พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง
พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น
แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์
ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด

คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง

สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว
อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว

บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้
แลว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว

แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท

ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ

อธิบาย

คำว่า ได้บรรลุธรรมไปแล้ว
ได้แก่ สิ้นสงสัย

คำว่า ทั้งผู้ที่มั่นคง
ได้แก่ พระโสดาบัน

คำว่า ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ได้แก่ ยังละตัณหาไม่ได้


กาฬิโคธาสูตร
องค์คุณของพระโสดาบัน
[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโคธาราม ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย
พระนางกาฬิโคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า
[๑๕๙๗] ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม
ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในการจำแนกทาน
อยู่ครอบครองเรือน
ดูกรพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด ที่พระองค์ทรงแสดงไว้
ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในหม่อมฉันและหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น
เพราะว่าหม่อมฉันประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล
หม่อมฉันเฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.

พ. ดูกรพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว
โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.

อธิบาย

“โสดาปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว”

คำว่า โสดาปัตติผล
ได้แก่ โสดาบัน

คำว่า ท่านพยากรณ์แล้ว
ได้แก่ การกระทำของตน(พระนางโคธา)

คำว่า ตรัสรู้
ได้แก่ พระอรหันต์
แจ้งอริยสัจ ๔
อริยศีล
อริยสมาธิ
อริยปัญญา
อริยวิมุติ

คำว่า จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า(อนาคต)
ได้แก่ หากไม่ได้ในชาติปัจจุบัน ก็ได้ในชาติต่อๆไป


ทานสูตร
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคคราใกล้จัมปานคร
ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองจัมปามากด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค พวกกระผมได้ฟังมานานแล้ว
ขอได้โปรดเถิด พวกกระผมพึงได้ฟังธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาค

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายพึงมาในวันอุโบสถ
ท่านทั้งหลายพึงได้ฟังธรรมีกถาในสำนักพระผู้มีพระภาคแน่นอน

อุบาสกชาวเมืองจัมปารับคำท่านพระสารีบุตรแล้วลุกจากที่นั่ง อภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ต่อมา ถึงวันอุโบสถ อุบาสกชาวเมืองจัมปาพากันเข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสกชาวเมืองจัมปา
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือหนอแล
และทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มากพึงมีหรือพระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร
ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมี
และทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมี ฯ

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้
ยังมีความหวังให้ทาน
มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลมีความหวังให้ทาน
มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ให้ทานด้วยคิดว่าตายไปแล้วจักได้ เสวยผลทานนี้
เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช
สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้
ไม่มีหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่คิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แล้วให้ทาน
แต่ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นการดี
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา
เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
บิดา มารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน
สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน
เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้ไม่หุง หาไม่สมควร
เขาให้ทาน คือ ข้าวฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่
แล้วยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้
สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้
เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะ
หรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน
คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี
ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น
เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน
เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี ฯลฯ และภคุฤาษี
แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้
จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส
เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ

ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้
จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส
แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น
บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน
ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ หุงหากินไม่ได้
จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร

ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน
คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี
ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น
และไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส
แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม
เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูกรสารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย
เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้น ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้น ที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

สิ่งที่เขียนไว้อยู่ในเรื่องสัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๑
คือการสดับพระธรรมจากพระอริยะ
ที่เคยเขียนไว้ แต่ยังไม่เสร็จ
แบบแล้วจะนึกขึ้นมา
หากไม่นึกถึง
ก็ไม่ได้เขียนอะไรต่อ
จริงๆแล้วได้พระสูตรมาเรียบร้อย
เพียงแต่ต้องเขียนเว้นช่องไฟ
จะทำให้ผู้ที่เข้ามาอ่าน จะอ่านง่าย สบายตา
มีพระสูตรที่มาขยายในพระธรรม
ที่พระพุทธเจ้าทรงพระธรรมไว้ในธรรมิกสูตรที่ ๑๔

ศิล สีลสัมปทา สีลปาริสุทธิ อริยศิล อธิศิล ศีลขันธ์

ก่อนจะอธิบายวิสุทธิ 7
(รถวินีตสูตร เป็นพยัญชนะปฏิรูป มีเกิดขึ้นสมัยพุทธเจ้ายังทรงมีชีวิตอยู่)
ให้อ่านพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม
ว่าด้วย สีลปาริสุทธิ ไว้ดังนี้


๕. สีลสูตร
[๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดถึงพร้อมแล้ว
ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ
เป็นผู้กล่าวสอน ให้รู้แจ้ง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง
เป็นผู้สามารถบอกพระสัทธรรมได้อย่างดี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการเห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี ว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเมื่อภิกษุซ่องเสพคบหา เข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเห็นปานนั้น
ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสนขันธ์
แม้ที่ยังไม่บริบูรณ์ ก็ถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้เห็นปานนี้นั้น
เรากล่าวว่า เป็นศาสดาบ้าง นำพวกไปบ้างละข้าศึก
คือกิเลสบ้าง กระทำแสงสว่างบ้าง กระทำโอภาสบ้าง กระทำความรุ่งเรืองบ้าง
กระทำรัศมีบ้าง ทรงคบเพลิงไว้บ้าง เป็นอริยะบ้าง มีจักษุบ้าง ดังนี้ ฯ

การได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีตนอันอบรมแล้ว
ผู้มีปรกติเป็นอยู่โดยธรรม
ย่อมเป็นเหตุแห่งการกระทำ
ซึ่งความปราโมทย์แก่บัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้ง
บัณฑิตทั้งหลาย ฟังคำสอนของพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้กระทำรัศมี ผู้กระทำแสงสว่าง
เป็นนักปราชญ์ ผู้มีจักษุ ผู้ละข้าศึก คือกิเลส
ประกาศพระสัทธรรมยังสัตวโลกให้สว่าง
แล้วรู้โดยชอบซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ ฯ


มหาวรรคที่ ๕
[๑๙๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่นิคมของพวกโกฬิยะ ชื่อสาปุคะ ในแคว้นโกฬิยะ
ครั้งนั้นแล โกฬิยบุตรชาวนิคมสาปุคะมากด้วยกัน
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะโกฬิยบุตรชาวสาปุคนิคมว่า ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้
พระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
องค์ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์
คือ ศีล ๑ จิต ๑ ทิฐิ ๑ วิมุตติ ๑

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ คือ ศีลเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกสีลปาริสุทธิ
ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ
ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะ ในสีลปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังสีลปาริสุทธิเห็นปานนั้น อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองสีลปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ สีลปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ จิตตปาริสุทธิเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน…
ทุติยฌาน…
ตติยฌาน…
จตุตถฌานอยู่
นี้เรียกว่าจิตตปาริสุทธิ ความพอใจ…
สติและสัมปชัญญะ ในจิตตปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังจิตตปาริสุทธิเห็นปานนั้น อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองจิตตปาริสุทธิ อันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ จิตตปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ ทิฏฐิปาริสุทธิเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
นี้เรียกว่าทิฏฐิปาริสุทธิ
ความพอใจ…
สติและสัมปชัญญะ ในทิฏฐิปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังทิฏฐิปาริสุทธิเห็นปานนั้น อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองทิฏฐิปาริสุทธิ อันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ ทิฏฐิปาริสุทธิ ฯ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ วิมุตติปาริสุทธิเป็นไฉน
อริยสาวกนี้แล เป็นผู้ประกอบด้วยองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร
คือ สีลปาริสุทธิ…จิตตปาริสุทธิ…ทิฏฐิปาริสุทธิแล้ว
ย่อมคลายจิตในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ย่อมเปลื้องในธรรมที่ควรเปลื้อง
ครั้นแล้วย่อมถูกต้องสัมมาวิมุติ
นี้เรียกว่าวิมุตติปาริสุทธิ
ความพอใจ…
สติและสัมปชัญญะ ในวิมุตติปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังวิมุตติปาริสุทธิเห็นปานนี้อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองวิมุตติปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่า องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร
คือ วิมุตติปาริสุทธิ

ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้แล
อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว
เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ฯ


ส่วนตรงนี้เป็นพยัญชนะปฏิรูป
ที่มีเกิดขึ้นหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน

อรรกถารวบรวมไว้ดังนี้
โดยอ้างอิง วิสุทธิ 7 ในรถวินีตสูตร

https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=285


อธิบายในพระสูตร มหาวรรคที่ ๕
ศีล ๑ จิต ๑ ทิฐิ ๑ วิมุตติ ๑

เริ่มจาก ศิล

สุตะ การฟัง การอ่าน การศึกษา จดจำไว้(ท่องจำจนขึ้นใจ)

๑๐. อนุตตริยสูตร
[๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้
๖ ประการเป็นไฉน
คือ ทัสสนานุตตริยะ ๑
สวนานุตตริยะ ๑
ลาภานุตตริยะ ๑
สิกขานุตตริยะ ๑
ปาริจริยานุตตริยะ ๑
อนุสสตานุตตริยะ ๑ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสสนานุตตริยะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ของเล็ก
หรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็นกิจเลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับ
เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้
เพื่อนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกพระตถาคต
การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้
เราเรียกว่าทัสสนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะเป็นดังนี้ ฯ

ก็สวนานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง
เสียงเพลงขับบ้าง หรือเสียงสูงๆต่ำๆ
ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการฟังนี้นั้นเป็นกิจเลว …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย …
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้
เราเรียกว่า สวนานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็ลาภานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง
หรือได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็นของเลว …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย …
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้
เราเรียกว่า ลาภานุตตริยะ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็สิกขานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง
ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือศึกษาศิลปชั้นสูงชั้นต่ำ
ย่อมศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง
ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย …
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง
ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วนี้
เราเรียกว่า สิกขานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ
สวนานุตตริยะ
ลาภานุตตริยะ
สิกขานุตตริอะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็ปาริจริยานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง
บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำ บำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การบำรุงนี้ ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย …
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้
เราเรียกว่า ปาริจริยานุตตริยะ
ทัสสนานุตตริยะ
สวนานุตตริยะ
ลาภานุตตริยะ
สิกขานุตตริยะ
ปาริจริยานุตตริยะ เป็นดังนี้ ฯ

ก็อนุสสตานุตตริยะเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้มากน้อย
ระลึกถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การระลึกนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว …

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต
การระลึกถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้
เราเรียกว่า อนุสสตานุตตริยะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะ ๖ ประการนี้แล ฯ

ภิกษุเหล่าใดได้ทัสสนานุตตริยะ
สวนานุตตริยะ
ลาภานุตตริยะ
ยินดีในสิกขานุตตริยะ
เข้าไปตั้งการบำรุงเจริญอนุสสติ
ที่ประกอบด้วยวิเวก เป็นแดนเกษม ให้ถึงอมตธรรม
ผู้บันเทิงในความไม่ประมาท
มีปัญญารักษาตน
สำรวมในศีล
ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับทุกข์ โดยกาลอันควร ฯ


๗. คณกโมคคัลลานสูตร (๑๐๗)
[๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล พราหมณ์คณกะโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ตัวอย่างเช่นปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้
ย่อมปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ
การปฏิบัติโดยลำดับ คือกระทั่งโครงร่างของบันไดชั้นล่าง

แม้พวกพราหมณ์เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องเล่าเรียน

แม้พวกนักรบเหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องใช้อาวุธ

แม้พวกข้าพเจ้าผู้เป็นนักคำนวณ มีอาชีพในทางคำนวณ
ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ
การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องนับจำนวน
เพราะพวกข้าพเจ้าได้ศิษย์แล้ว เริ่มต้นให้นับอย่างนี้ว่า
หนึ่ง หมวดหนึ่ง สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้า
หก หมวดหก เจ็ด หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ หมวดสิบ ย่อมให้นับไปถึงจำนวนร้อย
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์อาจหรือหนอ เพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยแม้นี้ ให้เหมือนอย่างนั้น ฯ

[๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์
เราอาจบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ
การกระทำโดยลำดับ
การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้
เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาด
ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เริ่มต้นทีเดียว
ให้ทำสิ่งควรให้ทำในบังเหียน
ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป ฉันใด

ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า
ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล
สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ฯ


๘. มหาสีหนาทสูตร
เรื่องอเจลกกัสสป
สีลสัมปทา
จุลศีล
มัชฌิมศีล
มหาศีล
ดูกรกัสสป ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย
เพราะศีลสังวรนั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก
กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น

ดูกรกัสสป ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว
ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น
ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุข อันปราศจากโทษในภายใน
ดูกรกัสสป ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
ดูกรกัสสป นี้แลสีลสัมปทานั้น.


๑๐. สุภสูตร
เรื่องสุภมาณพ
จุลศีล
มัชฌิมศีล
มหาศีล
ดูกรมาณพ ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย
เพราะศีลสังวรนั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว
ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆเพราะราชศัตรูนั้น
ดูกรมาณพ ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว
ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น
ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน
ดูกรมาณพ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.


๑๐. ปุณณมสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์ ๕
ว่าด้วยเหตุเกิดสักกายทิฏฐิ
[๑๘๘] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างใดหนอ

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ยังมิได้สดับ
เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม
เป็นผู้ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน ย่อมเห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีเวทนา ย่อมเห็นเวทนาในตน ย่อมเห็นตนในเวทนา
ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสัญญา ย่อมเห็นสัญญาในตน ย่อมเห็นตนในสัญญา
ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีสังขาร ย่อมเห็นสังขารในตน ย่อมเห็นตนในสังขาร
ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ย่อมเห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิมีได้ด้วยอาการเช่นนี้แล.

ว่าด้วยเหตุจะไม่มีสักกายทิฏฐิ
[๑๘๙] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า
แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมไม่มีได้อย่างไร

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในอริยธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในสัปปุริสธรรม ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป
ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีเวทนา ไม่เห็นเวทนาในตน หรือไม่เห็นตนในเวทนา
ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในตน หรือไม่เห็นตนในสัญญา
ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีสังขาร ไม่เห็นสังขารมีในตน หรือไม่เห็นตนในสังขาร
ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ.
ดูกรภิกษุ สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอาการเช่นนี้แล.


๔. มหามาลุงโกฺยวาทสูตร
ทรงโปรดพระมาลุงกยะและพระอานนท์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
อุบายเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ
ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ
ไม่เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉานั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาสครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้น
มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว
ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ดูกรอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ได้เห็นพระอริยะ
เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว
ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว
มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้

อริยสาวกนั้น
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
วิจิกิจฉาพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้น
มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้ อันสีลัพพตปรามาสย่อมครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้ อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
กามราคะพร้อมทั้งอนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ อันพยาบาทครอบงำไม่ได้อยู่
และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง
พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

มรรคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์
[๑๕๖] ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ไม่ถากเปลือก ไม่ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น
แล้วจักถากแก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด

ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น
ก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นั้นได้
เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ถากเปลือก ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นมีแก่น
แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด

ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว
จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น
ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้
ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย
พึงมาด้วย หวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้
เขาจะไม่อาจว่าย ตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด

เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน
จิตของผู้นั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่มั่นคง ไม่พ้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น ฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้
ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง
พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงโดยสวัสดี ดังนี้
เขาอาจจะว่ายตัดขวางกระแสแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด

ดูกรอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
เพื่อดับความเห็นว่า กายของตน
จิตของตน จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง พ้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.
บุรุษมีกำลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.


มหาวรรคที่ ๕
ดูกรพยัคฆปัชชะทั้งหลาย
ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ คือ ศีลเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกสีลปาริสุทธิ
ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ
ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะ ในสีลปาริสุทธินั้นว่า
เราจักยังสีลปาริสุทธิเห็นปานนั้น อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
จักใช้ปัญญาประคับประคองสีลปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆ
นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ สีลปาริสุทธิ ฯ


หมวดศิล

การสดับ ตั้งใจฟัง

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม


การละโมหะ ความหลง
เริ่มจากการตั้งใจฟังธรรม

ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้และปฏิบัติตาม
ผลของการปฏิบัติ ทำให้ละโมหะ(ความหลง)
ทำให้ละมิจฉาทิฏฐิ

วิธีการปฏิบัติเพื่อละโมหะ(ความหลง) ตัวแรกก่อน

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม


ควรรู้จักคำว่า กัลยาณมิตร ตัวแรก
หมายถึง กลุ่มนี้ ผู้ได้สดับแล้ว

ถ้าใครที่มีคุณสมบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
บุคคลนั้นเป็นกัลยาณมิตร
คือผู้นั้นทำได้ก่อน แล้วจึงชักชวนให้คนอื่นกระทำตาม
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้

ข้อแรกคุณสมบัติของกัลยาณมิตร เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายชื่อมหาจัตตารีสกะ
สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร
คือ ความเห็นว่า
ทานที่ให้แล้วมีผล
ยัญที่บูชาแล้วมีผล
การเซ่นสรวงที่เซ่นสรวงแล้วมีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามีคุณ
บิดามีคุณ
สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ
ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก
นี้เป็นสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ


ข้อที่สอง ชักชวนสร้างกุศล

ธรรมิกสูตรที่ ๑๔
[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

[๓๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
อุบาสกผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตก็ดี
อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีกก็ดี
บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้สาวกกระทำอย่างไร
จึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

พระองค์เท่านั้นแล
ทรงทราบชัดซึ่งคติ
และความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียด
เช่นกับพระองค์ย่อมไม่มี

บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมกล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม
ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์
ได้ทรงประกาศพระญาณและธรรมทั้งปวง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีพระจักษุรอบคอบ
พระองค์ผู้มีกิเลสดุจหลังคาที่เปิดแล้ว
เป็นผู้ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง

พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชนะบาปธรรม ดังนี้แล้ว
ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะพระองค์
ได้สดับปัญหาแล้วซ้องสาธุการชื่นชมยินดี
ได้บรรลุธรรมไปแล้ว

แม้พระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวร
ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ทูลถามแล้วย่อมตรัสบอกท้าวเวสสวัณกุเวรแม้นั้นแล
ได้สดับปัญหาแล้วทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว

พวกเดียรถีย์ก็ดี
อาชีวกก็ดี นิครนถ์ก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะทั้งหมดนี้
ย่อมไม่เกินพระองค์ด้วยปัญญา
เหมือนบุคคลผู้หยุดอยู่
ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น

พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ผู้เฒ่าก็ดี
ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ว่า
เราทั้งหลายผู้มีปรกติกระทำวาทะ
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ในพระองค์
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี
ซึ่งธรรมที่ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ตรัสดีแล้วนี้

ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
พระองค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว
ได้โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้
แม้ทั้งหมดนั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ
เพื่อจะฟังขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว
เหมือนเทวดาทั้งหลายตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น ฯ

พระผู้มีพระภาค
เพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว
จึงตรัสพระคาถาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟังเรา
เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอันกำจัดกิเลส
และเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรมอันกำจัดกิเลสนั้น
ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด ผู้เห็นประโยชน์
พึงเสพอิริยาบถอันสมควรแก่บรรพชิตนั้น

ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้านในกาล
ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย
ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควรไว้
เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่เที่ยวไปในเวลาวิกาล
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา
ภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้
พึงเข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารในเวลาเช้าโดยกาล

อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย
พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
ภิกษุผู้สงเคราะห์อัตภาพแล้ว
คิดถึงขันธสันดานในภายใน
ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก
ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้นพึงเจรจากับสาวกอื่น
หรือกับภิกษุรูปไรๆ ไซร้
ภิกษุนั้นพึงกล่าวธรรมอันประณีต
ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด
ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น

ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้น

ผู้มีปัญญาน้อย
ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท
เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้นไว้
เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกลจากสมถะและวิปัสสนา

สาวกผู้มีปัญญาดี
ฟังธรรมที่พระสุคตทรงแสดงแล้ว
พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำ
และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิแล้วพึงเสพ
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรมเหล่านี้
คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ
เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอทั้งหลาย
สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
จริงอยู่สาวก
ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ
ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน

คำว่า ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน
ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด(ราคะ)

สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ทั้งผู้ที่มั่นคงทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ไม่พึงฆ่าสัตว์เอง
ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า
และไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่าแต่นั้น

แต่นั้น สาวกรู้อยู่
พึงเว้นสิ่งที่เขาไม่ให้อะไรๆ
ในที่ไหนๆไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นลัก
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก
พึงเว้นวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด

สาวกผู้รู้แจ้ง
พึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น

แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์
ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น

ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ในท่ามกลางบริษัทก็ดี
ไม่พึงกล่าวเท็จแก่บุคคลผู้หนึ่ง
ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ
พึงเว้นคำไม่เป็นจริงทั้งหมด

สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงชอบใจธรรมนี้
ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม
ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม
เพราะทราบชัดการดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด

คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง

สาวกพึงเว้นความเป็นบ้า
ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว
อันเป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้

ไม่พึงฆ่าสัตว์
ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ไม่พึงพูดมุสา
ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคโภชนะในเวลาวิกาลในราตรี
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม
พึงนอนบนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว

บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
ว่าอันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว

แต่นั้นสาวกผู้มีใจเลื่อมใส
พึงเข้าจำอุโบสถ
อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์ดี
ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ
แห่งปักข์ และตลอดปาฏิหาริกปักข์

แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้ง
เข้าจำอุโบสถอยู่แต่เช้าแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดา
ด้วยโภคสมบัติที่ได้มาโดยชอบธรรม
พึงประกอบการค้าขายอันชอบธรรม ไม่ประมาท

ประพฤติวัตรแห่งคฤหัสถ์นี้อยู่
ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดาชื่อว่าสยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน ฯ

= อธิบาย =

คำว่า ได้บรรลุธรรมไปแล้ว
ได้แก่ สิ้นสงสัย

คำว่า ทั้งผู้ที่มั่นคง
ได้แก่ พระโสดาบัน

คำว่า ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว
ได้แก่ ยังละตัณหาไม่ได้
ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

“จริงอยู่สาวก ไม่พึงได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุ ล้วนด้วยอาการที่มีความหวงแหน”
ได้แก่ มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้


สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๑ ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย
หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้

๑. กิมัตถิยสูตร
ดูกรอานนท์
ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์

ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล
มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล
มีปีติเป็นอานิสงส์

ปีติ มีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิ มีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นอานิสงส์

สุขมี สมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์

สมาธิ มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสนะ มีนิพพิทาเป็นผล
มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์

นิพพิทา มีวิราคะเป็นผล
มีวิราคะเป็นอานิสงส์

วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์
ด้วยประการดังนี้แล

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม
ยังความเป็นพระอรหันต์ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ


สีลสูตร
[๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร

เมื่อปราโมทย์มีอยู่
ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์

เมื่อปีติมีอยู่
ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ

เมื่อปัสสัทธิมีอยู่
สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ

เมื่อสุขมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ

เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก
แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์

ศีลทำให้ไปพระนิพพาน

คำว่า ศีลทำให้ไปพระนิพพาน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม


หมวดศิล

๑. กิมัตถิยสูตร
ดูกรอานนท์
ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์

ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล
มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล
มีปีติเป็นอานิสงส์

ปีติ มีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิ มีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นอานิสงส์

สุขมี สมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์

สมาธิ มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสนะ มีนิพพิทาเป็นผล
มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์

นิพพิทา มีวิราคะเป็นผล
มีวิราคะเป็นอานิสงส์

วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์
ด้วยประการดังนี้แล

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม
ยังความเป็นพระอรหันต์ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ


สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๑ ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย

= หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้ =

สีลสูตร
[๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร

เมื่อปราโมทย์มีอยู่
ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์

เมื่อปีติมีอยู่
ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ

เมื่อปัสสัทธิมีอยู่
สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ

เมื่อสุขมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ

เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก
แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ

เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ


สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๒ ฟังธรรมจากสัตบุรุษและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย

สัมมาทิฏฐิ
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

= หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้ =

มหาวรรคที่ ๒
หิริสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ
อินทรีย์สังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีอินทรีย์สังวร
ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์สังวร
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีศีล
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีสัมมาสมาธิ
ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมียถาภูตญาณทัสสนะ
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีนิพพิทาและวิราคะ
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้สมบูรณ์ด้วยกิ่งและใบ
กะเทาะก็ดี เปลือกก็ดี กระพี้ก็ดี แก่นก็ดี ของต้นไม้นั้น
ย่อมถึงความสมบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๓ ฟังธรรมจากสัปบุรุษและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย
มรรคมีองค์ ๘
ความเกิดและความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ฯลฯ

= หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้ =

สติวรรคที่ ๔
สติสูตร
[๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี
หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีสติและสัมปชัญญะวิบัติกำจัดเสียแล้ว
เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี
อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติกำจัดเสียแล้ว
เมื่ออินทรียสังวรไม่มี
ศีลชื่อว่ามีเหตุอัน
บุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อศีลไม่มี
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีศีลวิบัติกำจัดเสียแล้ว
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี
ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติกำจัดเสียแล้ว
เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติกำจัดเสียแล้ว
เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี
วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์
แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่
หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ
เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่
อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ
เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่
ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร
เมื่อศีลมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ
เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์
แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


สัมมาทิฏฐิ เล่ม ๔ ฟังธรรมจากปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย
มรรคมีองค์ ๘
ความเกิดและความดับ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ

= หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้ =

๓. อุปนิสสูตร
[๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี …
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเรารู้อยู่ เห็นอยู่ เราจึงกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เมื่อเราไม่รู้ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเรารู้ เราเห็นอะไรเล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี
เมื่อเรารู้ เราเห็นว่าดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ ความดับแห่งรูป …
ดังนี้เวทนา …
ดังนี้สัญญา …
ดังนี้สังขารทั้งหลาย …
ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เราเห็นอย่างนี้แล
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ฯ

[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไปเกิดขึ้นแล้ว
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่
เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ควรกล่าวว่าวิมุตติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ
ควรกล่าวว่าวิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ
ควรกล่าวว่า นิพพิทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา
ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ
ควรกล่าวว่าสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสมาธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ
ควรกล่าวว่าสุข

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสุขว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสุข
ควรกล่าวว่าปัสสัทธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปัสสัทธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ
ควรกล่าวว่าปีติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปีติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ
ควรกล่าวว่าความปราโมทย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความปราโมทย์ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปราโมทย์
ควรกล่าวว่าศรัทธา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งศรัทธา
ควรกล่าวว่าทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งทุกข์ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์
ควรกล่าวว่าชาติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งชาติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งชาติ
ควรกล่าวว่าภพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งภพว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งภพ
ควรกล่าวว่า อุปาทาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งอุปาทานว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งอุปาทาน
ควรกล่าวว่าตัณหา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งตัณหาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งตัณหา
ควรกล่าวว่าเวทนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งเวทนาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งเวทนา
ควรกล่าวว่าผัสสะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งผัสสะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งผัสสะ
ควรกล่าวว่าสฬายตนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสฬายตนะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสฬายตนะ
ควรกล่าวว่านามรูป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนามรูปว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนามรูป
ควรกล่าวว่าวิญญาณ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิญญาณว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิญญาณ
ควรกล่าวว่าสังขารทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสังขารทั้งหลายว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย
ควรกล่าวว่าอวิชชา
ด้วยเหตุดังนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย
สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย
วิญญาณ มีสังขารเป็นที่อิงอาศัย
นามรูป มีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย
ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นที่อิงอาศัย
เวทนา มีผัสสะเป็นที่อิงอาศัย
ตัณหา มีเวทนาเป็นที่อิงอาศัย
อุปาทาน มีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย
ภพ มีอุปาทานเป็นที่อิงอาศัย
ชาติ มีภพเป็นที่อิงอาศัย
ทุกข์ มีชาติเป็นที่อิงอาศัย
ศรัทธา มีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย
ความปราโมทย์ มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย
ปีติ มีปราโมทย์เป็นที่อิงอาศัย
ปัสสัทธิ มีปีติเป็นที่อิงอาศัย
สุข มีปัสสัทธิเป็นที่อิงอาศัย
สมาธิ มีสุขเป็นที่อิงอาศัย
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย
นิพพิทา มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย
วิราคะ มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย
วิมุตติ มีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ

= อธิบาย =

คำว่า ทุกข์
ได้แก่ ชาติก็เป็นทุกข์
ชราก็เป็นทุกข์
มรณะก็เป็นทุกข์
โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็นทุกข์
ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ

คำว่า ชรา มรณะ
ได้แก่ โลกธรรม ๘

คำว่า ชาติ
ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม


๓. อุปนิสสูตร
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย
นิพพิทา มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย
วิราคะ มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย
วิมุตติ มีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ

= อธิบาย =

สีลสูตร
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

คำว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ
ได้แก่ รู้ชัดผัสสะตามจริง
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สติปัฏฐาน ๔ จึงมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

“เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ”

คำว่า นิพพิทา
ได้แก่ ความเบื่อหน่าย
ไตรลักษณ์ปรากกตามจริง

“เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ”

คำว่า วิราคะ
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

“วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์”

คำว่า วิมุตติ
ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ

คำว่า วิมุตติญาณทัสสนะ
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔

“ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ”

คำว่า ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ได้แก่ นิพพาน

คำว่า มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ
ได้แก่

ไตรลักษณ์ ทุกข์
เวทนากล้าปรากฏตามความเป็นจริง
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๑ ในโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

ไตรลักษณ์ อนัตตา
เวทนากล้าปรากฏตามความเป็นจริง
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)กับใจที่รู้อยู่ แยกขาดออกจากกัน
เวทนาสักแต่ว่าเวทนาที่มีเกิดขึ้น กับใจที่รู้อยู่
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๒ ในอนาคามิมรรค อนาคามิผล

ไตรลักษณ์ อนิจจัง
เวทนาสักแต่ว่าเวทนาที่มีเกิดขึ้น รู้สึกแน่นๆที่หัวใจ
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๓ ในอรหัตมรรค อรหัตผล

ศิล ๕ ผลของการรักษาศิลและการไม่รักษาศิล

การรักษาศิล ๕
ทางไปสวรรค์ ด้วยการรักษาศิล


เวฬุทวารสูตร
ว่าด้วยธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตน
[๑๔๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค
เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก
เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่อเวฬุทวาระ

[๑๔๕๕] พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวาระ
ได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมผู้เป็นโอรสของเจ้าศากยะ
เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล
เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงเวฬุทวารคามแล้ว
ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไปอย่างนี้ว่า
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
พระสมณโคดมพระองค์นั้น ทรงกระทำโลกนี้
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์แล้ว
ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
ก็การได้เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้นเป็นความดี.

[๑๔๕๖] ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคาม
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
บางพวกประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค
บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
[๑๔๕๗] ข้าแต่พระโคดม
ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความปรารถนา มีความพอใจ
มีความประสงค์อย่างนี้ๆ ว่า
ขอเราทั้งหลายพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน
พึงลูบไล้จันทน์ที่เขานำมาแต่แคว้นกาสี
พึงทัดทรงมาลา ของหอม และเครื่องลูบไล้
พึงยินดีทองและเงิน
เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครองเรือน …
เมื่อแตกกายตายไป
พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ด้วยประการใด
ขอท่านพระโคดม โปรดทรงแสดงธรรม ด้วยประการนั้น
แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้มีความปรารถนา
ผู้มีความพอใจ ผู้มีความประสงค์อย่างนั้นๆ เถิด.

[๑๔๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
เราจักแสดงธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตนแก่ท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
พราหมณ์และคฤบดีชาวเวฬุทวารคามทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

[๑๔๕๙] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ธรรมปริยายที่ควรน้อมเข้ามาในตนเป็นไฉน?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์
ผู้ใดจะปลงเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงปลงคนอื่นผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่องดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นปาณาติบาตด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๐] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงถือเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วยอาการขโมย
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบของเรา
อนึ่ง เราพึงถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากอทินนาทานด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากอทินนาทานด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากอทินนาทานด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๑] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของเรา
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยาของคนอื่น
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๒] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงทำลายประโยชน์ของเราด้วยการกล่าวเท็จ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักใคร่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงทำลายประโยชน์ของคนอื่นด้วยการกล่าวเท็จ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากมุสาวาทด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากมุสาวาทด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากมุสาวาทด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๓] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงยุยงให้เราแตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงยุยงคนอื่นให้แตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้เว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๔] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยคำหยาบ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยคำหยาบ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๕] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร?
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ
ด้วยกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย
วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๖] อริยสาวกนั้นประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า …
ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว … เป็นไปเพื่อสมาธิ.

[๑๔๖๗] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
เมื่อใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ ด้วยฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความหวัง ๔ ประการนี้
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๔๖๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคาม ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯ
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้
ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดม โปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯลฯ


ผลของการไม่รักษาศิล

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร (๑๓๕)
[๕๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๕๘๐] สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่
ปรากฏความเลวและความประณีต
คือ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏ
มีอายุสั้น มีอายุยืน
มีโรคมาก มีโรคน้อย
มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม
มีศักดาน้อย มีศักดามาก
มีโภคะน้อย มีโภคะมาก
เกิดในสกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง
ไร้ปัญญา มีปัญญา
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่
ปรากฏความเลวและความประณีต ฯ

[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ

ส. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดาร
ของอุเทศที่พระโคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อ
มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้
ขอพระโคดมผู้เจริญ ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการ
ที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความแห่งอุเทศนี้โดยพิสดารได้เถิด ฯ
พ. ดูกรมาณพ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป
สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า ฯ

[๕๘๒] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรมาณพ
บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
หมกมุ่นในการประหัตประหาร
ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น
ดูกรมาณพปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้
คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด
หมกมุ่นในการประหัตประหาร
ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต ฯ

[๕๘๓] ดูกรมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู
อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืนนี้
คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต
วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู
อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ฯ

[๕๘๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้
คือ เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ
หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ

[๕๘๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ
หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อยนี้
คือ เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ
หรือก้อนดินหรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ

[๕๘๖] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย
ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้
คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย
ทำความโกรธ ความร้ายและความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ

[๕๘๗] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย
ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้
คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย
ไม่ทำความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ

[๕๘๘] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลังจะเป็นคนมีศักดาน้อย
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้
คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือการไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ

[๕๘๙] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดามาก
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้
คือ มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา
ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือการไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ

[๕๙๐] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้
คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ

[๕๙๑] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้
คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ

[๕๙๒] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง
ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ
ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ
ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้
หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้
คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง
ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ
ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ
ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา

[๕๙๓] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง
ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ
ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ
ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้
คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง
ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้
ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ
ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ
ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ
ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา

[๕๙๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์
แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่า อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทรามนี้
คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์
แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

[๕๙๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์
แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้
คือ เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า
อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล
อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

[๕๙๖] ดูกรมาณพ ด้วยประการฉะนี้แล
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุยืน
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคมาก
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใส
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดามาก
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อย
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำ
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลสูง
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทราม
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก
ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลาย
มีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต ฯ

[๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้
สุภมาณพ โตเทยยบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้วพระเจ้าข้า
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย
เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ
หรือเปิดของที่ปิด
หรือบอกทางแก่คนหลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น
ข้าพระองค์นี้ขอถึง
พระโคดมผู้เจริญ
พระธรรม
และพระภิกษุสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ
ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ฯ

การศึกษา

ปฐมปัณณาสก์
ภัณฑคามวรรคที่ ๑
อนุพุทธสูตร
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภัณฑคาม แคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทั้งเรา ทั้งท่านทั้งหลายได้แล่นไปแล้ว
ได้ท่องเที่ยวไปแล้วสิ้นกาลนานอย่างนี้
เพราะยังไม่รู้แจ้ง ไม่แทงตลอดซึ่งธรรม ๔ ประการ
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน
คือ ศีลที่เป็นอริยะ ๑
สมาธิที่เป็นอริยะ ๑
ปัญญาที่เป็นอริยะ ๑
และวิมุตติที่เป็นอริยะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
ศีลที่เป็นอริยะ
สมาธิที่เป็นอริยะ
ปัญญาที่เป็นอริยะ
และวิมุตติที่เป็นอริยะ
อันเราและท่านทั้งหลายได้ตรัสรู้ ได้แทงตลอดแล้ว
ถอนตัณหาในภพขึ้นได้แล้ว
ตัณหาอันนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ
ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อันพระโคตมศาสดาผู้มียศได้ตรัสรู้แล้ว
พระพุทธเจ้าผู้พระศาสดามีจักษุ
ทรงกระทำที่สุดทุกข์
ตรัสรู้พระธรรมแล้ว
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย
พระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ด้วยประการฉะนี้



วัชชีปุตตสูตร
[๕๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี
ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน
ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทนี้ พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ ก็ท่านสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓
คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ หรือ ฯ

ว. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถจะศึกษาได้ในสิกขา ๓
คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแล ท่านจงศึกษาในสิกขา ๓
คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑
เมื่อภิกษุนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี
ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี
ศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี
ละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว
เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้
เธอมิได้ทำกรรมที่เป็นอกุศล
มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ

ครั้นสมัยต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาแล้ว
ทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา
เมื่อภิกษุนั้นศึกษา
อธิศีลสิกขาก็ดี
ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี
ศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี
ละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว
เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้
เธอมิได้ทำกรรมที่เป็นอกุศล
มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ



๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์

องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ



สีลัฏฐิติวรรคที่ ๓
สีลสูตร
ว่าด้วยกุศลศีล
[๗๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะ อยู่ ณ กุกกุฏาราม ใกล้เมืองปาฏลีบุตร
ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้พูดกะท่านพระอานนท์ว่า:-

[๗๖๘] ดูกรท่านอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใดอันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว มีพระประสงค์อย่างไร

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างเฉียบแหลม ช่างไต่ถามเหมาะๆ
ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ดูกรอานนท์
ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว มีพระประสงค์อย่างไร

ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

[๗๖๙] อา. ดูกรท่านภัททะ
ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใดอันที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพียงเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔
ปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ …
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ …

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรท่านภัททะ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว
ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพียงเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.



นิสสายวรรคที่ ๑
๑. กิมัตถิยสูตร
ดูกรอานนท์
ศีลที่เป็นกุศล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์

ความไม่เดือดร้อน
มีความปราโมทย์เป็นผล
มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ความปราโมทย์
มีปีติเป็นผล
มีปีติเป็นอานิสงส์

ปีติ
มีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิ
มีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นอานิสงส์

สุขมี
สมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์

สมาธิ
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสนะ
มีนิพพิทาเป็นผล
มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์

นิพพิทา
มีวิราคะเป็นผล
มีวิราคะเป็นอานิสงส์

วิราคะ
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ด้วยประการดังนี้แล

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม ยังความเป็นพระอรหันต์
ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ


สีลสูตร
[๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล
ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร

เมื่อปราโมทย์มีอยู่
ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์

เมื่อปีติมีอยู่
ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ

เมื่อปัสสัทธิมีอยู่
สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ

เมื่อสุขมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก
แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ



มหาวรรคที่ ๒
หิริสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ
อินทรีย์สังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยหิริและโอตตัปปะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีอินทรีย์สังวร
ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยอินทรีย์สังวร
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีศีล
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยศีล
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีสัมมาสมาธิ
ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยสัมมาสมาธิ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมียถาภูตญาณทัสสนะ
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีนิพพิทาและวิราคะ
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยนิพพิทาและวิราคะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้สมบูรณ์ด้วยกิ่งและใบ
กะเทาะก็ดี เปลือกก็ดี กระพี้ก็ดี แก่นก็ดี ของต้นไม้นั้น
ย่อมถึงความสมบูรณ์ ฉะนั้น ฯ



สติวรรคที่ ๔
สติสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่
หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ

เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่
อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ

เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่
ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร

เมื่อศีลมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น
ก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ



๓. อุปนิสสูตร
ภิกษุทั้งหลาย
สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย
วิญญาณ มีสังขารเป็นที่อิงอาศัย
นามรูป มีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย
ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นที่อิงอาศัย
เวทนา มีผัสสะเป็นที่อิงอาศัย
ตัณหา มีเวทนาเป็นที่อิงอาศัย
อุปาทาน มีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย
ภพ มีอุปาทานเป็นที่อิงอาศัย
ชาติ มีภพเป็นที่อิงอาศัย
ทุกข์ มีชาติเป็นที่อิงอาศัย
ศรัทธา มีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย
ความปราโมทย์ มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย
ปีติ มีปราโมทย์เป็นที่อิงอาศัย
ปัสสัทธิ มีปีติเป็นที่อิงอาศัย
สุข มีปัสสัทธิเป็นที่อิงอาศัย
สมาธิ มีสุขเป็นที่อิงอาศัย
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย
นิพพิทา มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย
วิราคะ มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย
วิมุตติ มีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ


จึงมาเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เกี่ยวกับปฏิปทา ๔ ประการ
ปฏิปทาวรรคที่ ๒
คือการศึกษาตามลำดับ
ปฏิบัติตามลำดับ
ได้มรรคผลตามความเป็นจริง ตามลำดับ
.
วิชชา ๑
.
วิชชา ๒
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ละราคะ โทสะ โมหะ
ละกามฉันทะ
ละกามตัณหา
ละภวตัณหา
.
วิชชา ๓
วิมุตติญาณทัสสนะ

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ละตัณหาทั้งหมด

ละกามฉันทะ ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
มีเกิดขึ้นขณะสภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามความเป็นจริง

ละกามตัณหา
ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต

ละภวตัณหา
มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

ละวิภาวตัณหา
มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิต
ละอวิชชา ละบัญญัติทางโลกสมมตุิ(อัตตวาทุปาทาน)

แจ้งอริยสัจ ๔ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
แจ้งนิพพาน ดับตัณหาทั้งหมด

ศีลที่เป็นอริยะ
สมาธิที่เป็นอริยะ
ปัญญาที่เป็นอริยะ
และวิมุตติที่เป็นอริยะ
อันเราและท่านทั้งหลายได้ตรัสรู้ ได้แทงตลอดแล้ว
ถอนตัณหาในภพขึ้นได้แล้ว ตัณหาอันนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป

หมวดศิล

หมวดศิล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
เป็นผู้ได้เห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในอริยธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในอริยธรรม
เป็นผู้ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในสัปปุริสธรรม
ได้รับแนะนำแล้วเป็นอย่างดีในสัปปุริสธรรม


สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๑
ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตาม

มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย
หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้

๑. กิมัตถิยสูตร
ดูกรอานนท์
ศีลที่เป็นกุศล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์

ความไม่เดือดร้อน
มีความปราโมทย์เป็นผล
มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ความปราโมทย์
มีปีติเป็นผล
มีปีติเป็นอานิสงส์

ปีติ
มีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิ
มีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นอานิสงส์

สุขมี
สมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์

สมาธิ
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสนะ
มีนิพพิทาเป็นผล
มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์

นิพพิทา
มีวิราคะเป็นผล
มีวิราคะเป็นอานิสงส์

วิราคะ
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์
ด้วยประการดังนี้แล

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม
ยังความเป็นพระอรหันต์ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ


สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๑ ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย

= หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้ =

สีลสูตร
[๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล
ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร

เมื่อปราโมทย์มีอยู่
ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์

เมื่อปีติมีอยู่
ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ

เมื่อปัสสัทธิมีอยู่
สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ

เมื่อสุขมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก
แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่
ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ


สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๒ ฟังธรรมจากสัตบุรุษและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย

สัมมาทิฏฐิ
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

= หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้ =

มหาวรรคที่ ๒
หิริสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ
อินทรีย์สังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีอินทรีย์สังวร
ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์สังวร
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีศีล
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีสัมมาสมาธิ
ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมียถาภูตญาณทัสสนะ
นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีนิพพิทาและวิราคะ
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและวิราคะ
ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้สมบูรณ์ด้วยกิ่งและใบ
กะเทาะก็ดี เปลือกก็ดี กระพี้ก็ดี แก่นก็ดี ของต้นไม้นั้น
ย่อมถึงความสมบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


สัมมาทิฏฐิ เล่มที่ ๓ ฟังธรรมจากสัปบุรุษและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย
มรรคมีองค์ ๘
ความเกิดและความดับ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ฯลฯ

= หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้ =

สติวรรคที่ ๔
สติสูตร
[๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี
หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีสติและสัมปชัญญะวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี
อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่ออินทรียสังวรไม่มี
ศีลชื่อว่ามีเหตุอัน
บุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อศีลไม่มี
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีศีลวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี
ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี
วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์
แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่
หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ

เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่
อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ

เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่
ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร

เมื่อศีลมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์
แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


สัมมาทิฏฐิ เล่ม ๔ ฟังธรรมจากปุริสบุคคลและปฏิบัติตาม
มีเรื่องกรรม(การกระทำ)และผลของกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย
มรรคมีองค์ ๘
ความเกิดและความดับ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ

= หากดำเนินถูกทางตามมรรค สภาวะที่มีเกิดขึ้นดังนี้ =

๓. อุปนิสสูตร
[๖๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี …
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเรารู้อยู่ เห็นอยู่ เราจึงกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เมื่อเราไม่รู้ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเรารู้ เราเห็นอะไรเล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี
เมื่อเรารู้ เราเห็นว่าดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ ความดับแห่งรูป …
ดังนี้เวทนา …
ดังนี้สัญญา …
ดังนี้สังขารทั้งหลาย …
ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้ เราเห็นอย่างนี้แล
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ฯ

[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไปเกิดขึ้นแล้ว
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่
เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ควรกล่าวว่าวิมุตติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ
ควรกล่าวว่าวิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ
ควรกล่าวว่า นิพพิทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา
ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ
ควรกล่าวว่าสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสมาธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ
ควรกล่าวว่าสุข

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสุขว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสุข
ควรกล่าวว่าปัสสัทธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปัสสัทธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ
ควรกล่าวว่าปีติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปีติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ
ควรกล่าวว่าความปราโมทย์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความปราโมทย์ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปราโมทย์
ควรกล่าวว่าศรัทธา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งศรัทธา
ควรกล่าวว่าทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งทุกข์ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์
ควรกล่าวว่าชาติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งชาติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งชาติ
ควรกล่าวว่าภพ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งภพว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งภพ
ควรกล่าวว่า อุปาทาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งอุปาทานว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งอุปาทาน
ควรกล่าวว่าตัณหา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งตัณหาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งตัณหา
ควรกล่าวว่าเวทนา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งเวทนาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งเวทนา
ควรกล่าวว่าผัสสะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งผัสสะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งผัสสะ
ควรกล่าวว่าสฬายตนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสฬายตนะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสฬายตนะ
ควรกล่าวว่านามรูป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนามรูปว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนามรูป
ควรกล่าวว่าวิญญาณ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิญญาณว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิญญาณ
ควรกล่าวว่าสังขารทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสังขารทั้งหลายว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย
ควรกล่าวว่าอวิชชา
ด้วยเหตุดังนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย
สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย
วิญญาณ มีสังขารเป็นที่อิงอาศัย
นามรูป มีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย
ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นที่อิงอาศัย
เวทนา มีผัสสะเป็นที่อิงอาศัย
ตัณหา มีเวทนาเป็นที่อิงอาศัย
อุปาทาน มีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย
ภพ มีอุปาทานเป็นที่อิงอาศัย
ชาติ มีภพเป็นที่อิงอาศัย
ทุกข์ มีชาติเป็นที่อิงอาศัย
ศรัทธา มีทุกข์เป็นที่อิงอาศัย
ความปราโมทย์ มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย
ปีติ มีปราโมทย์เป็นที่อิงอาศัย
ปัสสัทธิ มีปีติเป็นที่อิงอาศัย
สุข มีปัสสัทธิเป็นที่อิงอาศัย
สมาธิ มีสุขเป็นที่อิงอาศัย
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย
นิพพิทา มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย
วิราคะ มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย
วิมุตติ มีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ

= อธิบาย =

คำว่า ทุกข์
ได้แก่ ชาติก็เป็นทุกข์
ชราก็เป็นทุกข์
มรณะก็เป็นทุกข์
โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็นทุกข์
ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ

คำว่า ชาติ
ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม

คำว่า ทุกข์
ได้แก่ ชรา มรณะ(โลกธรรม ๘)

“ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ”

คำว่า ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ได้แก่ นิพพาน

คำว่า มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ
ได้แก่
ไตรลักษณ์ ทุกข์
เวทนากล้าปรากฏตามความเป็นจริง เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๑ ในโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

ไตรลักษณ์ อนัตตา
เวทนากล้าปรากฏตามความเป็นจริง เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)กับใจที่รู้อยู่ แยกขาดออกจากกัน เวทนาสักแต่ว่าเวทนาที่มีเกิดขึ้น ใจที่รู้อยู่
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๒ ในอนาคามิมรรค อนาคามิผล

ไตรลักษณ์ อนิจจัง
เวทนาสักแต่ว่าเวทนาที่มีเกิดขึ้น รู้สึกแน่นๆที่หัวใจ
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๓ ในอรหัตมรรค อรหัตผล

สุริยสูตร

28 กันยายน 61

สุริยสูตร

[๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่
ณ อัมพปาลีวัน ใกล้พระนครเวสาลี

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม
นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด
ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ
โดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์
หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์
สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์

มีกาลบางคราว ที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี
หลายพันปี หลายแสนปี

เมื่อฝนไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติที่ใช้เข้ายา
ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด

สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม
นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด
ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ฯ

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว
โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ

เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ
แม่น้ำลำคลองทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด
สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง … ควรหลุดพ้น ฯ

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว
โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ

เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ
คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมด
ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น
เป็นสภาพไม่เที่ยง … ควรหลุดพ้น ฯ

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว
โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ

เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ
ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือ แม่น้ำคงคา
ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมด
ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น
เป็นสภาพไม่เที่ยง … ควรหลุดพ้น ฯ
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว
โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ

เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ
น้ำในมหาสมุทร ลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี ๒๐๐ โยชน์ก็ดี
๓๐๐ โยชน์ก็ดี ๔๐๐ โยชน์ก็ดี ๕๐๐ โยชน์ก็ดี
๖๐๐ โยชน์ก็ดี ๗๐๐ โยชน์ก็ดี

ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่วต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี
๕ ชั่วต้นตาลก็มี ๔ ชั่วต้นตาลก็มี ๓ ชั่วต้นตาลก็มี
๒ ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาลเดียวก็มี

แล้วยังจะเหลืออยู่ ๗ ชั่วคน ๖ ชั่วคน ๕ ชั่วคน ๔ ชั่วคน
๓ ชั่วคน ๒ ชั่วคน ชั่วคนเดียว ครึ่งชั่วคน เพียงเอว
เพียงเข่า เพียงแค่ข้อเท้า เพียงในรอยเท้าโค

ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทร
ยังเหลืออยู่เพียงในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ

เปรียบเหมือนในฤดูแล้ง เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ๆ ตกลงมา
น้ำเหลืออยู่ในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ
ฉะนั้น เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ
น้ำในมหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วก็ไม่มี ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น
เป็นสภาพไม่เที่ยง … ควรหลุดพ้น ฯ

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว
โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ
เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้
และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น
เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่ปั้นดีแล้ว
ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น
เป็นสภาพไม่เที่ยง … ควรหลุดพ้น ฯ

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว
โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ
เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้
และขุนเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง
มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน

เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชน
ลมหอบเอาเปลวไฟฟุ้งไปจนถึงพรหมโลก

เมื่อขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชนกำลังทะลาย
ถูกกองเพลิงใหญ่เผาท่วมตลอดแล้ว
ยอดเขาแม้ขนาด ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐
โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ย่อมพังทะลาย

เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่
ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า

เปรียบเหมือนเมื่อเนยใสหรือน้ำมันถูกไฟเผาผลาญอยู่
ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น
เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม
ควรจะเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด
ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ใครจะรู้ ใครจะเชื่อว่า
แผ่นดินนี้และขุนเขาสิเนรุจักถูกไฟไหม้พินาศไม่เหลืออยู่
นอกจากอริยสาวกผู้มีบทอันเห็นแล้ว ฯ

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว
ศาสดาชื่อสุเนตตะเป็นเจ้าลัทธิ
ปราศจากความกำหนัดในกาม

ก็ศาสดาชื่อสุเนตตะนั้น มีสาวกอยู่หลายร้อย
เธอแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก

.
และเมื่อสุเนตตศาสดาแสดงธรรม
เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก
สาวกเหล่าใดรู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง
สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป ก็เข้าถึงสุคติพรหมโลก

ส่วนสาวกเหล่าใดยังไม่รู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง
สาวกเหล่านั้นเมื่อตายไป
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคฤหบดีมหาศาล ฯ

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล
สุเนตตศาสดามีความคิดเห็นว่า การที่เราจะพึงเป็น
ผู้มีสติเสมอกับสาวกทั้งหลายในสัมปรายภพ ไม่สมควรเลย
ผิฉะนั้นเราควรจะเจริญเมตตาให้ยิ่ง ขึ้นไปอีก

ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดาจึงได้เจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี
แล้วไม่มาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป

เมื่อโลกวิบัติ เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ
เมื่อโลกเจริญ เข้าถึงวิมานพรหมที่ว่าง
ในวิมานนั้น สุเนตตศาสดาเป็นพรหม
เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า
รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้มีอำนาจมาก

เกิดเป็นท้าวสักกะจอมเทวดา ๓๖ ครั้ง
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา
มีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ผู้ได้ชัยชนะสงคราม
สถาปนาประชาชนไว้เป็นปึกแผ่นมั่นคง
พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง

พระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้น
ล้วนแต่องอาจ กล้าหาญ ชาญชัย ย่ำยีศัตรูได้
พระเจ้าจักรพรรดิ นั้นทรงปกครองปฐพีมณฑล
อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ไม่ต้องใช้อาชญา
ไม่ต้องใช้ศัสตรา ใช้ธรรมปกครอง

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุเนตตศาสดานั้นแล
มีอายุยืนนาน ดำรงมั่นอยู่อย่างนี้
แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า ไม่พ้นจากทุกข์ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะยังไม่ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดธรรม ๔ ประการ
๔ ประการเป็นไฉน

คือ
อริยศีล ๑
อริยสมาธิ ๑
อริยปัญญา ๑
อริยวิมุติ ๑

.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยศีล
อริยสมาธิ
อริยปัญญา
อริยวิมุติ
เราตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว เราถอนตัณหา ในภพได้แล้ว
ตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ

.
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา
ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุติอย่างยิ่ง
พระโคดมผู้มียศตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา
ผู้มีพระจักษุ ทรงรู้ยิ่งด้วยประการดังนี้แล้ว
ตรัสบอกธรรม ๔ ประการแก่ภิกษุทั้งหลาย
ทรงกระทำที่สุดทุกข์แล้ว ปรินิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๒

.

หมายเหตุ;

บทว่า อญฺญตร ทิฏฺฐปเทหิ ความว่า เว้นพระอริยสาวก
ผู้โสดาบัน ผู้มีบท (คือพระนิพพาน) อันตนเห็นแล้ว
อธิบายว่า ใครเล่าจักเชื่อคนอื่นได้
โดย อรรถกถาจารย์

.

.
กำลังจะโยงเข้าสู่ แม่น้ำหลายสาย ล้วนไหลลงที่เดียวกัน
เปรียบเสมือนการปฏิบัติทุกรูปแบบ

หากดำเนินอยู่ในมรรค ล้วนลงรอยเดียวกัน
ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความมีเกิดขึ้นใน
อริยศิล
อริยสมาธิ
อริยปัญญา
อริยวิมุติ

กล่าวคือ
เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้นๆ
พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้
นั่นเป็นฐานะที่มีได้

ภิกษุผู้ไม่มีความยึดมั่น ย่อมปรินิพพานได้ ฯ

“หนอ”

๑๒ พค.๖๑

ประโยชน์ของการใช้ “หนอ” ในการกำหนด

.

การเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลัง

การทำความเพียร เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
การใช้พองหนอ ยุบหนอ เป็นการกำหนดรู้ตามความเป็นจริงของร่างกายที่มีเกิดขึ้น ขณะหายใจเข้า ท้องพองขึ้น หายใจออก ท้องยุบลง

แรกๆ อาจจะกำหนดไม่ค่อยได้ เพราะใจมักชอบแว่บไปโน่นนี่(คิด)
เมื่อทำบ่อยๆ จนทำเกิดเป็นวสี คือ จิตจดจำได้ คำบริกรรม พองหนอ ยุบหนอ ที่ใช้กำกับ จะหายไปเอง ไม่ต้องใช้พองหนอ ยุบหนอในการกำหนดอีกต่อไป เป็นสภาวะของรูปนาม ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง กล่าวคือ สิ่งที่เกิดขึ้น(ท้องพอง-ยุบ) กับใจที่รู้อยู่

ที่มาของปฏิสัมภิทามรรค วิปัสสนาญาณ ๙ ของพระสารีบุตร
กล่าวคือ สภาพธรรมต่างๆที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีรูปนามเป็นอารมณ์

ส่วนญาณ ๑๖ เป็นการแตกข้อปลีกย่อยออกมา
ผู้ที่ประสพพบเจอด้วยตนเอง เมื่อมาอ่าน จึงจะเข้าใจ
ภาษาชาวบ้าน หมายถึง ต้องผ่านญาณ ๑๖ มาแล้ว จึงจะอ่านได้อย่างเข้าใจในลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามคำอธิบาย

หากไม่เคยผ่านญาณ ๑๖ (อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ)
อ่านแล้ว มีแต่การคาดเดา หาใช่ตามความเป็นจริงไม่

การการอธิบายความทั้งหมด ที่ตรงกับสภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ล้วนลงรอยเดียวกัน กล่าวคือ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่ใช่เรื่องความมี ความเป็นแต่อย่างใด
มีแต่เรื่องของ อริยสัจ ๔

เหตุปัจจัยให้ความมี ความเป็นมีเกิดขึ้น ล้วนเกิดจากตัณหา

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล

.

การเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดทีหลัง

เป็นสภาวะของศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ
ศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ
อันตัณหาและทิฐิไม่ลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ

การใช้หนอในการกำหนดรู้ในผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
เช่น ทางตา รูปที่มากระทบ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด กำหนดเห็นหนอ รูหนอ

เสียงที่มีเกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด กำหนดเสียงหนอ ยินหนอ รู้หนอ พร้อมกับหายใจยาวๆ ลึกๆ

ฯลฯ

เป็นการสำรวม สังวร ระวัง ไม่สร้างเหตุออกไปทางกาย วาจา
ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

การเดิน แบ่งออกเป็น ๖ ระยะ ตั้งแต่หยาบ จนละเอียด
เช่น อย่างหยาบ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ

กิน ดื่ม ถ่าย นอน ทุกอิริยาบาทใช้หนอกำกับทุกอย่าง
เช่น เสียงหนอ ยินหนอ เห็นหนอ กลิ่นหนอ กินหนอ ดื่มหนอ กลืนหนอ นอนหนอ รู้หนอฯลฯ

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ
๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

ภิกษุผู้มีสติ เป็นอย่างนี้แล

ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแลดู การเหลียวดู
ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า การเหยียดออก
ทำความรู้สึกตัวในการครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม
ทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง
การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง

ภิกษุผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงมีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราสำหรับเธอทั้งหลาย

.

ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังมีศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท
ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ
เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ

.

เมื่อมีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอ่นเป็นที่พึ่ง 
มีธรรมเป็นเกาะมีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่

สิ่งที่มีเกิดขึ้นอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความคิด คือ

.

๑. ไม่มีคิดถึงอนาคต การปรุงแต่งต่างๆล่วงหน้า จึงไม่มี

ไม่มีการคิดว่า ถ้าไม่มีเงินจะอย่างไร
เมื่อไม่มีเงิน ย่อมไม่มีกิน ไม่มีการคิดว่า ถ้าไม่มีกินจะทำอย่างไร

ถ้าไม่มีที่อยู่ที่อาศัย จะทำอย่างไร

ฯลฯ

ความคิดเกี่ยวกับอนาคตทั้งหมด จะไม่มีเกิดขึ้น
เพราะทุกคำถาม มีคำตอบไว้หมดแล้วว่า ควรทำอย่างไร
คือ ความคิดเหล่านี้ หากมีเกิดขึ้น
ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ร้อนแต่อย่างใด

.

๒. คิดถึงอดีต หรือเรื่องราวต่างๆที่ผ่านมา มีแต่คิดพิจรณาเรื่องความผิดพลาดที่มีเกิดขึ้นจากอะไรเป็นปัจจัย ความประมาทต่างๆ การคิดพิจรณาที่มีเกิดขึ้นนี้ เป็นปัจจัยให้เกิดความเบื่อหน่ายภพชาติของการเกิด

.

๓. อยู่กับปัจจุบัน
เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เป็นเรื่องของ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
สิ่งที่เกิดขึ้นมีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
สงบ ระงับ มากกว่าสานต่อ
เป็นสภาวะศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ

.
เจริญสมถะและวิปัสสนา คู่เคียงกันไป
จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเนืองๆ มีรูปนามเป็นอารมณ์
การรู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม
มีเกิดขึ้นมากกว่าแว่บออกไปนอกตัว

สีลสูตร

สีลสูตร

[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

 

หมายเหตุ;

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ได้แก่ ศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ได้แก่ สมถะ ที่เป็นสัมมาสมาธิ

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ได้แก่ ไตรลักษณ์
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
หยาบ กลาง ละเอียด ที่กล่าวไปแล้ว

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ ได้แก่ เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ หมายถึง
ปัจจเวกขณญาณ

 

กล่าวตามปริยัติ หมายถึง

โสดาบัน
สกิทาคา
อนาคามี
อรหันต์

 

เหตุที่อธิบายรายละเอียดแบบนี้
ดูจากตอนจบของพระธรรมคำสอนนี้

 

[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?

 

[๓๘๒] คือ (๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน

(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย

(๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ

ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๔)ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอานาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๖) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี

ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๗) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี

ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.

Previous Older Entries

พฤษภาคม 2024
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031  

คลังเก็บ