จิตตปาริสุทธิ

จิตตปาริสุทธิ
การทำกรรมฐาน เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มี ๔ แบบ

๑. กายสักขี(สมถะที่เป็นสัมมาสมาธิ)

๒. หลุดพ้นด้วยปัญญา(วิปัสสนา)

๓. หลุดพ้นสองส่วน(สมถะและวิปัสสนา)

๔. ฟังธรรมว่าด้วยสัมมาทิฏฐิ เริ่มจากศิล สมาธิ
เพื่อละนิวรณ์ ๕ และทำกรรมฐาน
ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุดดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา
ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง
หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ


๕. อนุคคหสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส
และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
องค์ ๕ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฐิ
อันศีลอนุเคราะห์แล้ว
อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว
อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว
อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว
อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว
ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์
และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ฯ


สติวรรคที่ ๔
สติสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่
หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ
เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่
อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ
เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่
ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร
เมื่อศีลมีอยู่
สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ
เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์
แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


วิธีการปฏิบัติมี ๒ แบบ

๑. นั่งอย่างเดียว ใช้คำบริกรรม จนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีโอภาสแสงสว่างมาก
จะเหลือสภาวะ ๒ อย่างปรากฏคือ ใจรู้อยู่กับโอภาส(แสงสว่าง)
ทำจนชำนาญ แล้วปรับอินทรีย์ ๕ โดยการเดินจงกรมก่อนนั่ง ตั้งเวลานั่งเท่าเดิม
ตั้งเวลาการเดินจงกรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
ทำแบบนี้ต่อเนื่อง ทำทุกวัน
เมื่อรู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สติปัฏฐาน ๔ จึงมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

๒. เดินจงกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม. ทำแบบนี้ต่อเนื่อง
มีเวลามาก ทำบ่อยๆเดินและนั่งสลับไปมา
ถ้ามีเวลาน้อย ทำวันละครั้งก็ได้ อย่าหยุดทำ ให้ทำทุกวัน
เมื่อรู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สติปัฏฐาน ๔ จึงมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ทำมาก(หลายรอบ) ทำน้อย(วันละครั้ง)
ผลที่ได้รับ ย่อมไม่เท่ากัน
ก็เหมือนการทำงาน แต่เป็นงานที่ทำแล้วจบ
ไม่ต้องใช้เงิน ใช้ความศรัทธา ใช้ความพยายาม(ทำต่อเนื่อง)
แรกๆอาจฝืนใจ พอทำบ่อยๆจนจิตชำนาญในสมาธิ อาการฝืนใจจะหายไปเอง
อีกอย่างจะเริ่มเห็นผลของการปฏิบัติทุกวัน
อะไรที่เคยคิดว่ามันแย่ๆที่มีเกิดขึ้นในชีวิต
ทุกสิ่งจะกลับมาดีขึ้น แย่ ดี เกิดขึ้นสลับกันไปมา
จนเห็นว่าทุกสิ่งที่มีเกิดขึ้นที่ว่าแย่หรือที่ว่าดี มันไม่เที่ยง คือคาดเดาไม่ได้
ทำให้ละความยึดมั่นถือมั่น จิตเริ่มปล่อยวาง เหตุนี้จึงทำให้ไม่เลิกการปฏิบัติ

กรณีเดินจงกรม ๑ ชม. ต่อนั่ง ๑ ชม.
สำหรับผู้ปฏิบัติเริ่มใหม่ เริ่มจากเดิน 10 นาที ต่อนั่ง 10 นาที ทำจนจิตเกิดความคุ้นเคย
จะทำกี่รอบก็ได้ กลางวัน กลางคืน หรือทั้งกลางวันและกลางคืน ทำได้หมด
เมื่อทำได้โดยไม่เลิกทำความเพียร
ให้เพิ่มเวลาการปฏิบัติ เดิน 15 นาที ต่อนั่ง 15 นาที ทำจนจิตคุ้นเคย จะทำกี่รอบก็ได้
กลางวัน กลางคืน หรือทั้งกลางวันและกลางคืน ทำได้หมด
เมื่อทำได้โดยไม่เลิกทำความเพียร
เพิ่มเวลาปฏิบัติจนเดิน 1 ชม. ต่อนั่ง 1 ชม. จะทำกี่รอบก็ได้
กลางวัน กลางคืน หรือทั้งกลางวันและกลางคืน ทำได้หมด

เมื่ออินทรีย์ ๕ มั่นคง
เพิ่มเวลาการปฏิบัติทั้งเดินจงกรมและนั่ง
จะทำให้รู้ชัดความดับเกิดรูปนามที่มีเกิดขึ้นตามจริง
ขณะเดินจงกรม
ขณะนั่ง จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

ขณะเวทนากล้ามีเกิดขึ้น
ให้กำหนดตามความจริง
ไตรลักษณ์จะปรากฏ
ให้กำหนดตามจริง
อาจจะเกิดเนืองๆหรืออาจจะนานๆเกิด ก็ตาม
เป็นเรื่องปกติของสภาวะที่ดำเนินถูกตรงมรรค

สภาวะใดๆที่มีเกิดขึ้นขณะทำกรรมฐาน
ไม่นำเรื่องมรคผลเข้ามาเกี่ยวข้อง
เพราะเมื่อนำเรื่องมรรคผลเข้ามาเกี่ยวข้อง
ทำให้อุปกิเลสมีเกิดขึ้นอัตโนมัติ
จะทำให้ตัวสภาวะจะจมแช่เพียงแค่นั้น

———–

๑. ทำกรรมฐาน ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์
เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ กสิณ ฯลฯ
เรียกว่า สมถะ
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้นตามจริง
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขี ฯ

 สัมมาสมาธิ

กามเหสสูตรที่ ๑
[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุทุติยฌาน … ตติยฌาน … จตุตถฌาน …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … บรรลุอากาสานัญจายตนะ …
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ … เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

= อธิบาย =

“อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา”
คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ ไตรลักษณ์

คำว่า อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ได้แก่ รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ


๒. ทำกรรมฐาน มีรูปนามเป็นอารมณ์
ได้แก่ กำหนดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง เช่น
หายใจเข้า รู้ลมหายใจเข้าตามความเป็นจริง
หายใจออก รู้ลมหายใจออก ตามความเป็นจริง
ขณะหายใจเข้า ท้องพอง รู้ตามความเป็นจริง
ขณะหายใจออก ท้องแฟ่บ รู้ตามความเป็นจริง
เรียกว่า วิปัสสนา
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้นตามจริง
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

สัมมาสมาธิ

กามเหสสูตรที่ ๒
[๒๔๘] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญาๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ
อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา

ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา และเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ฯ

= อธิบาย =

คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ ไตรลักษณ์

คำว่า เธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ได้แก่ รูปนาม


๓. ทำกรรมฐาน
ใช้คำบริกรรม มีบัญญัติเป็นอารมณ์(สมถะ)
ทำต่อเนื่องจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
จิตละทิ้งคำบริกรรม มีรูปนามเป็นอารมณ์(วิปัสสนา)
สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้นตามจริง
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสองๆ

สัมมาสมาธิ

กามเหสสูตรที่ ๓
[๒๔๙] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสองๆ ดังนี้
ดูกรอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯลฯ

กามเหสสูตรที่ ๓
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา
อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ
เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯ

= อธิบาย =

คำว่า อาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

คำว่า เพราะเห็นด้วยปัญญา
ได้แก่ ไตรลักษณ์

คำว่า อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ได้แก่ รู้ชัดผัสสะที่มีเกิดขึ้นตามจริง ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ

คำว่า เธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา
ได้แก่ รูปนาม


๔. ฟังธรรมว่าด้วยสัมมาทิฏฐิ เริ่มจากศิล สมาธิ
เพื่อละนิวรณ์ ๕
ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม
สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา
ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง
หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ


บรรลุเร็ว บรรลุช้า ขึ้นอยู่กับ
๑. อินทรีย์ ๕
๒. อุปกิเลสของจิต(นิวรณ์ ๕)
๓. ขาดการศึกษาศิล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้

แก้ไข 16 สค. 64

แก้ไข 10 มีค. 65


๓. อุปนิสสูตร
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย
นิพพิทา มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย
วิราคะ มีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย
วิมุตติ มีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ

= อธิบาย =

สีลสูตร
ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

คำว่า สัมมาสมาธิ
ได้อธิบายไปแล้ววิธีการปฏิบัติทำให้สัมมาสมาธิมีเกิดขึ้นตามจริง

คำว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ
ได้แก่ รู้ชัดผัสสะตามจริง
ที่มีเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน อรูปฌาน นิโรธ
สติปัฏฐาน ๔ จึงมีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

“เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ”

คำว่า นิพพิทา
ได้แก่ ความเบื่อหน่าย
ไตรลักษณ์ปรากฏตามจริง

“เมื่อนิพพิทา วิราคะมีอยู่
วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ”

คำว่า วิราคะ
ได้แก่ ละความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕

“วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์”

คำว่า วิมุตติ
ได้แก่ สภาวะจิตดวงสุดท้ายปรากฏตามจริง แล้วดับ

คำว่า วิมุตติญาณทัสสนะ
ได้แก่ แจ้งอริยสัจ ๔


“ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ”

คำว่า ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ได้แก่ นิพพาน

คำว่า มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฯ
ได้แก่

ไตรลักษณ์ ทุกข์
เวทนากล้าปรากฏตามความเป็นจริง
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๑ ในโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

ไตรลักษณ์ อนัตตา
เวทนากล้าปรากฏตามความเป็นจริง
เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕
สิ่งที่มีเกิดขึ้น(ผัสสะ)กับใจที่รู้อยู่ แยกขาดออกจากกัน
เวทนาสักแต่ว่าเวทนาที่มีเกิดขึ้น กับใจที่รู้อยู่
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๒ ในอนาคามิมรรค อนาคามิผล

ไตรลักษณ์ อนิจจัง
เวทนาสักแต่ว่าเวทนาที่มีเกิดขึ้น รู้สึกแน่นๆที่หัวใจ
สภาวะจิตดวงสุดท้าย ปรากฏตามความเป็นจริง แล้วดับ
ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ครั้งที่ ๓ ในอรหัตมรรค อรหัตผล

เหมือนเหยียบอยู่สองฝั่ง

สภาวะความรู้สึกที่เกิดขึ้นตรงนี้ จะมีตั้งแต่สภาวะแบบหยาบๆ จนกระทั่งละเอียด ทุกอย่างเป็นไปตามสภาวะของแต่ละคนเมื่อได้มาเจริญสติ

เพราะผลของการเจริญสติในระดับหนึ่ง จะพบสุขทางใจมากขึ้นเรื่อยๆ สุขทั้งทางโลกและทางธรรม มันเป็นเช่นนั้นเอง

เพราะเมื่อเข้าใจทางธรรมมากขึ้นเท่าไหร่ ใจย่อมเข้าใจทางโลกมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้าใจได้ดังนี้ ย่อมพบกับสุขที่เกิดขึ้นในใจเนืองๆ

จนบางครั้งเกิดความรู้สึกละล้าละลังอยู่ในใจ เพราะใจคิดว่า เมื่อเราเข้าใจได้แบบนี้แล้ว เราจะอยู่ทางโลกได้นานแค่ไหนก็ได้ เราจะพบแต่ความสุข ไม่ต้องไปทุกข์แบบคนทั่วๆไปที่ไม่รู้จัการเจริญสติ

คือตัวเองเป็นต่อในการอยู่ทางโลก สภาวะนี้คือ กิเลสอย่างหนึ่ง กิเลสจะมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่แบบหยาบๆจนกระทั่งละเอียด

แบบหยาบๆ จะเอาสุขมาหลอกล่อให้เราหลงทาง ให้หลงในวัฏฏะว่าน่าอยู่ ซึ่งจริงๆแล้ว เราเองก็เกือบหลงไปเหมือนกันในช่วงก่อนๆ มันสุขนะ สุขมากๆ ทุกวันนี้ก็สุข

ถึงแม้จะมีทุกข์ทางสังขารเนื่องจากการเจ็บป่วยอยู่ก็ตาม แต่มันจะมีสุขทางใจแทรกอยู่ตลอด สุขในสภาวะของตัวเอง สุขทั้งทางโลกและทางธรรม

แต่ตอนนี้ สุขตัวนี้ไม่สามารถทำให้เราไปคิดแบบนั้นอีก เราเพียงดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น รู้สึกอย่างไร รู้ไปตามนั้น เพราะเมื่อเข้าใจเหตุ ย่อมเข้าใจผลที่เกิดขึ้น

การเดินทาง แรกๆอาจจะมีความลังเลใจของสองฝั่งที่เหยียบอยู่ กิเลสหลอกล่อตลอดเวลา เพื่อให้จะหลงในวัฏฏะ เพียงเจริญสติอย่างต่อเนื่อง

จะทำให้เห็นตามความเป็นจริงอย่างต่อเนื่องเอง แล้วที่คิดว่าเหยียบสองฝั่งนั้น เริ่มเป็นกลางมากขึ้นเรื่อยๆ คืออยู่ได้ทั้งสองฝั่ง แต่ไม่มีคำว่าสองฝั่งอยู่ในใจ มันจะแค่รู้ ไม่มายึดติดหรือติดใจแต่อย่างใด

เมื่อบางครั้งมันเกิดสุขมาก จิตมันก็จะเกิดสภาวะนี้อีก คือละล้าละลัง อันนี้เป็นเรื่องปกติของกิเลสสุข ที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ กิเลสตัวนี้เป็นกุศล สุขที่เกิดจากกุศลจิต

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่เกิดสภาวะเช่นนี้ เนื่องจากจิตยังไม่มีความมั่นคงมากพอ สติยังไม่ทัน ย่อมไหลไปตามกิเลสที่เกิดขึ้น

วันใดที่จิตมั่นคงมากขึ้น ความรู้สึกตรงนี้จะค่อยๆเบาบางลงไปเอง จนกระทั่งเหลือแค่รู้และหายไปในที่สุด

เพราะอะไรล่ะ เพราะเราทำเพื่อดับที่เหตุทั้งปวง คือ ตัวเรานี่เอง ตราบใดที่ยังมีตัวเรา เหตุย่อมมีอย่างแน่นอน

เมื่อเห็นเช่นนี้ได้ ความรู้สึกตรงนั้นย่อมหายไป เพราะมันคือ สภาวะของกิเลสนั่นเอง ที่ว่าเหยียบอยู่สองฝั่ง

เพียงเข้าใจ

๑๙ กพ.๕๔

ถ้าเพียงทุกคนเข้าใจกฎแห่งสัจจธรรม หรือกฎของทุกสรรพสิ่ง ทุกคนจะพอใจกับชีวิตของตนเอง

ไม่มีการดิ้นรนอยากได้ใครดีอะไร จะทำตามเหตุ ไม่มีต้องฝืนทนเพื่อที่จะได้หรือเพื่อต้องการสิ่งใดๆในทุกๆสิ่งที่มนุษย์พึงหวังที่จะครอบครอง

หากคุณเข้าใจแล้ว คุณจะดำเนินชีวิตไปอย่างเรีบง่าย สงบสุข อยู่กับปัจจุบัน เฝ้ามองดูสิ่งต่างๆด้วยใจสงบนิ่ง เพราะสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่สร้างกันขึ้นมาเอง

เหลียวมองรอบๆตัว จะเห็นแต่ความไม่เที่ยง แม้ย้อนกลับมามองในตัวก็จะเห็นแต่ความไม่เที่ยง ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้ที่จะไปยึดถืออะไรได้เลย

เราเริ่มเข้าใจในตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆว่า ทำไมเราจึงไม่ชอบให้คำมั่นสัญญากับใครๆ ทำไมเราถึงอยู่กับปัจจุบัน ทำไมไม่มีการวางแผนใดๆล่วงหน้า

คือบางครั้งอาจจะมีคิด แต่ไม่เป็นไปตามที่คิดก็ไม่ไปรู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจแต่อย่างใด บางทีก็ขำๆตัวเอง เออนะ ช่างคาดเดาอะไรหรือวางแผนล่วงหน้าไม่ได้เลย
มันไม่เคยสำเร็จหรือลุล่วงไปตามแผนที่วางเอาไว้เลย มีแต่ต้องทำเดี๋ยวนั้น เสร็จเดี๋ยวนั้นทันที โดยไม่ต้องมีการวางแผนใดๆ ชีวิตเราถูกสอนเรื่องความไม่เที่ยงมาตั้งแต่แรก

แต่ตอนนั้นเราไม่รู้ รู้แค่ว่า ไม่ขอให้คำสัญญาหรือนัดกับใครๆล่วงหน้า เพราะมันล้มเหลวหมด ไม่เคยสำเร็จตามที่คิดเอาไว้เลย วางแผนไม่ได้ ต้องอยู่กับปัจจุบันอย่างเดียว

เรียกว่า ให้อยู่นิ่งๆ แล้วตัวสภาวะเขาจะจบลงด้วยตัวสภาวะของเขาเอง หากยังมีเหตุย่อมยังไม่จบ เพียงเราแค่รู้ แล้วทำตามเหตุ แล้วจบที่ตัวเราเองคือไม่ต้องไปคิดแก้ไขอะไร แค่รู้ลงไป ดับเหตุต้องดับที่ตัวเอง

ส่วนใครจะสานต่อหรือจะทำอะไรต่อไปนั่นมันเหตุของเขา เราไม่เกี่ยว ในเมื่อเขาสร้างต่อ เขาย่อมรับผลไปตามเหตุที่เขาทำกันขึ้นมาเอง แต่เหตุของเรานั้นจบลงแล้ว มีแค่นี้เอง ใจเลยไม่ไปทุกข์เพราะเมื่อเข้าใจแล้ว ย่อมไม่ยึดติดกับสิ่งใด

กว่าจะมาถึงวันนี้ หรือมาเป็นเราในวันนี้ได้ เมื่อก่อนนี้ เราก็เหมือนกับทุกๆคนที่เข้ามาหาเลย ไม่แตกต่างกันเลย เพราะตอนนั้นเรายังไม่เข้าใจเรื่องเหตุ เลยมีการคิดแก้ไขเนืองๆ มันยอมรับไม่ได้

เมื่อยอมรับไม่ได้ จิตมันก็ดิ้นๆๆๆๆๆ หาทางแก้ไข ถ้าเพียงรู้ แล้วสงบนิ่ง อยู่ของเราเฉยๆ ไม่ตอบดต้ ไม่ต่อยอด ไม่แก้ไข ใครจะเป็นอะไรยังไง นั่นเหตุของเขาที่เคยมีกับเรา ปล่อยให้เขาทำกับเรา

เราแค่ยอมรับ ตั้งสติให้อยู่กับปัจจุบัน ให้การอโหสิกรรมต่อทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะความไม่รู้ จึงมาทำร้ายกัน เบียดเบียนกัน หากรู้แล้ว จะไม่ทำเลย มีแต่ยอมแล้วก็ยอม โดยไม่ปริปากบ่น มันมีแค่นั้นเอง

นี่แหละผลของการเจริญสติ ทำให้มีสติรู้อยู่กับปัจจุบันได้ทันมากขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งไม่ทัน แต่ไม่ไหลจนหลงไปสร้างเหตุ มันหยุดได้ไวมากกว่าเมื่อก่อน

เรายังคงเจอเรื่องเดิมๆซ้ำๆ เหมือนฉายหนังวน แต่เปลี่ยนตัวละครมาเล่น เหมือนเรื่องราวที่เราเจอในตอนนี้ ชีวิตส่วนตัว มองแล้วขำๆ เออนะ กิเลสเอยยย ครั้งนี้เราไม่หลงกลเจ้าหรอก

ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ยอมรับมัน ไม่มีข้อโต้แย้ง ไม่มีการต่อว่าใครหรืออะไร เพราะเรามุ่งดับเหตุทั้งปวง กิเลสแค่นี้ทำอะไรเราไม่ได้หรอก ทุขเวทนาทางกาย มันยิ่งกว่าทุกขเวทนาทางใจ

การเจ็บป่วยครั้งนี้ สภาวะมาสอนอะไรๆให้เราเยอะมากๆ เรื่องทุกขเวทนา
เวลาป่วย จิตจะเอาไม่อยู่ เราจะรู้เลยว่า สติมีแค่ไหน สมาธิตอนนั้นมีแค่ไหน ทุกขเวทนาเพราะความเจ็บป่วยนี่ ยอมรับนะหนักว่าด้านอื่นๆ

ทุกขเวทนาทางใจ เรามั่นใจ เรารับมือได้ตลอด เพราะเราเห็นเหตุและผลแล้ว จึงไม่ไปอนาทรหรือร้อนใจหรือทุกข์ใจแบบก่อนๆแต่อย่างใด

เรามีวิธีรักษาจิตของตัวเอง มีมุมให้เขาอยู่ ให้เขาสงบนิ่งอยู่ในนั้น โดยไม่ออกมาสร้างเหตุใหม่กับใครๆ ตรงนี้เราทำได้ รู้สึกอย่างไร ยอมรับไปตามนั้น แต่ไม่ปล่อยให้มันเพ่นพ่านออกมาจนมาสร้างให้กลายเป็นเหตุใหม่ให้เกิดขึ้น

แต่ทุขเวทนาทางกายที่เกิดจากความเจ็บป่วยนิสิ เอาไม่อยู่นะ เล่นเอาจิตตก แต่ตกไม่นาน เขาก็กลับมาตั้งมั่นได้เหมือนเดิม นี่ยิ่งกลับทำให้เรามุ่งทำความเพียรมากขึ้น

ความเจ็บป่วยเขามาสอนว่า ทำแค่นี้ยังไม่พอ สักวันต้องป่วยอีก แล้วก่อนตายอีกล่ะ นี่แหละต้องเตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆ

ส่วนทุกขเวทนาที่เกิดในเวลาปฏิบัติเต็มรูปแบบ วันนี้หลังจากปฏิบัติแล้ว สภาวะบ่งบอกว่า จิตเราเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกขเวทนาทางกายที่เกิดในขณะปฏิบัติทำอะไรเราไม่ได้ มันเกิดแล้วก็หายไปเอง เราแค่รู้ว่ามันมี แค่รู้ แค่ดู แล้วเวทนานั้นๆหายไปเอง โดยไม่ต้องไปกำหนดแต่อย่างใด

บางครั้ง นั่งแค่ไม่ถึงครึ่งชม. แต่จิตเขาอิ่มมากๆ เหมือนนั่งหลายชม. เพราะถ้าจิตเขายังไม่อิ่มตัว เขาจะไม่คลายตัวก่อนเวลา คือหนึ่งชม.เป็นอย่างต่ำ นี่เขาอิ่มตัว เขาจึงคลายตัวก่อนเวลา

วันนี้เป็นวันแรกหลังจากที่เพิ่งฟื้นไข้มา เราได้ทำเต็มรูปแบบเสียจนคุ้มค่าที่ไม่ได้ทำมานาน สำหรับเราสองอาทิตย์ที่ผ่านมา ถือว่านานมากๆที่ไม่ได้ทำ ถึงแม้จะทำแค่เล็กๆน้อยๆสะสมไว้ก็ตาม

วันนี้เลยรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจเป็นพิเศษ ก็ทั้งสติ สมาธิดีขนาดนี้ จะไม่ให้อิ่มใจขนาดนี้ได้อย่างไรกัน ไม่เสียเวลาเปล่าในเวลาที่เจ็บป่วยเลย อะไรๆก็มาหยุดไม่ให้เราทำไม่ได้หรอก เพราะทุกลมหายใจเข้าออกของเรามันออโต้ในเรื่องการเจริญสติไปเสียแล้ว

นั่งเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร จิตจะรู้กายเองโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปกำหนดหรือต้องไปเจาะจงอะไรเลย นี่แหละรู้แบบธรรมชาติ พอจิตตั้งมั่นด้วยตัวของเขาเองได้เลย

จิตจะเหมือนคนที่แข็งแกร่ง เดินด้วยตัวเอง โดยเราไม่ต้องไปน้อมน้าว ไปชักจูงให้เขาทำตามเราแต่อย่างใด เขารู้เอง เกิดเอง เราสิสบายๆ อยู่ที่ไหนๆก็สบายๆ สบายเพราะไม่ต้องวิ่งจับลิงให้อยู่ในกรง

ไม่ต้องคอยเอามือกระตุกเชือกยามที่ลิงมันดื้อ เราแค่ดู แค่รู้ จิตเขาทำหน้าที่ของเขาเอง รู้อยู่ในกาย มีแค่นี้เอง แล้วปัญญาจะเกิดเนืองๆ ถ่ายถอนอุปทานที่ยังมีอยู่

กอดกันวันละนิด

ขึ้นชื่อว่าของคำว่า กอด เวลาคิดย่อมมองว่ามันมีตัณหาราคะอย่างแน่นอน ส่วนจะมีมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับกิเลสหรือสภาวะของแต่ละคนด้วย

แต่การกอดที่เราเขียนถึงวันนี้ เป็นการกอดเพื่อที่จะให้ มิใช่เกี่ยวกับกิเลสตัณหาราคะแต่อย่างใดเลย

เมื่อก่อนเคยไม่เข้าใจตัวเอง คิดว่าตัวเองต้องมีความผิดปกติบางอย่างในตัว เพราะพอกอดใครๆ ไม่ว่าจะคนหรือสัตว์ เวลากอด เราจะต้องง่วงนอนไม่ก็หลับไปทุกครั้ง

ได้แต่สงสัยนะ แม้แต่กับคนที่เราใกล้ชิดก็ตาม ยังไงๆเราก็หลับอยู่ดี ขนาดนั่งกอดกระต่าย ยังหลับเกือบตกบันได มีใครบ้างไหมที่มีอาการแบบนี้

เคยถามน้องคนหนึ่งและคนรอบๆตัวทั้งหญิงและชายว่า ถ้าได้กอดกัน รู้สึกอย่างไรบ้าง แล้วยิ่งเป็นคนที่อยู่ด้วยกันเช่นคนที่คบกันนั้นเป็นอย่างไร

ส่วนมากตอบว่า ต้องมีตัวราคะความกำหนัดเกิดขึ้น ส่วนจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ความรู้สึกขณะนั้นๆด้วย

เราบอกว่า เราไม่เป็นนะ เรากอดใครๆก็ตาม ไม่ว่าจะคนหรือสัตว์ ถ้ากอดนานเราจะหลับ ถ้ากอดแค่สั้นๆเราจะง่วง ไม่มีความรู้สึกแบบนั้น

มาตอนนี้ได้คำตอบแล้ว จากการเจริญสตินี่แหละ ว่าทำไมเวลาที่กอด เราจึงอาการแบบนั้นเกิดขึ้น คือไม่ว่าจะกอดคนหรือสัตว์ จิตเราจะตั้งมั่นทันที

ทีนี้สติเราไม่ทันในขณะนั้นๆ สมาธิจึงล้ำหน้าสติ เราจึงมีอาการง่วงไม่ก็หลับไปทันที พร้อมๆกับสมาธิที่ยังเกิดขึ้นอยู่

สภาวะมาตอกย้ำให้รู้ชัดในเรื่องสภาวะของการกอด แม้กระทั่งคนที่เข้ามาใกล้ชิด ได้มาพูดคุยกับเรา เขาเหล่านั้น ได้รับการถ่ายเทสมาธิจากเราทุกๆคน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม

ทางตรงคือการกอด ทางอ้อมคือการพูดคุยกัน ไม่ว่าจะทางเน็ตหรือทางตัวตนจริงๆ สมาธิสามารถถ่ายเทไปได้ทุกทาง

ตรงนี้มีข้อพิสูจน์ที่เป็นรูปธรรมที่นำมาอธิบายให้เห็นภาพชัดได้ คือมีหลักฐาน มีตัวตนมายืนยันได้ว่า การถ่ายเทสมาธินั้นมันมีอยู่จริง

แม้แต่ในตำราหรือในพระไตรปิฎกก็มีเขียนบันทึกไว้ว่า พึงคบกับบุคคลผู้ที่มีสมาธิ

ถ้าคนที่ยังไม่เข้าใจสภาวะ ยังไม่เคยสัมผัสสิ่งเหล่านี้ได้ ย่อมอ่านตัวหนังสือแล้วตีความทำนองว่า ให้คบคนที่มีสมาธิ เพราะเหตุว่า คนที่มีสมาธิ ย่อมรู้ดีว่าจะทำให้เกิดสมาธินั้น ทำอย่างไร

จริงๆแล้ว สภาวะมันลึกซึ้งมากกว่านั้น เพราะสมาธิมีทั้งมิจฉาและสัมมาสมาธิ ซึ่งคนที่มีสมาธิจะอธิบายได้หรือไม่ว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดสัมมาสมาธิได้ แล้วทำอย่างไรจึงจะมีสมาธิแบบที่คนๆนั้นมีอยู่ได้

ทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้นกับเรานั้น มีแต่มาสอนเราตลอดเวลา ตอกย้ำตลอดเวลา แต่ตอนนั้นเราไม่รู้ ยังทำใจไม่ได้ในการให้สมาธิแก่คนอื่นๆโดยเราไม่ได้เต็มใจให้ เพราะความอยากที่มีอยู่แต่เรายังมองไม่เห็นในตอนนั้น

เราหวง เพราะสมาธิเป็นกำลังที่สำคัญในเส้นทางนี้ แท้จริงแล้ว ทุกอย่างมันคือเหตุ เหตุที่ทำมา เราเกิดมาเพื่อที่จะให้ ไม่ใช่เพื่อที่จะได้ สมาธิของเราจึงมึแต่ให้กับคนอื่นๆ แต่รับของคนอื่นๆไม่ได้

สภาวะมาสอนให้เราปล่อยวางในเรื่องทุกๆเรื่อง สอนในเรื่องการให้ด้วยใจโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ สอนให้ยอมรับในทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น ยอมรับโดยไม่มีข้อแม้ สภาวะมาสอนเรื่องความไม่เที่ยงตลอดเวลา

แต่เราไม่เคยรู้เลย เพราะตอนนั้นยังมองไม่เห็น เรียกว่ากิเลสบดบังสภาวะ แต่ไม่เห็นกิเลส เพราะยังไม่รู้จักกิเลสโดยสภาวะ รู้จักกิเลสที่เป็นเพียงบัญญัติที่เรียกว่า กิเลสๆๆๆๆๆ เท่านั้นเอง รู้จักแต่กิเลสภายนอก ไม่รู้จักกิเลสภายใน

ไม่เคยมีใครมาบอกหรือพูดให้ฟังในเรื่องราวเหล่านี้ เรื่องที่ได้เขียนๆบันทึกเอาไว้ ทุกสิ่งที่เขียนออกมา

ทุกๆครั้งที่เราย้อนกลับมาอ่าน บันทึกเหล่านี้เป็นหลักฐานบ่งบอกถึง ความผิดพลาดที่เจอมาก่อน ก่อนที่จะรู้ นี่แหละถึงมีคำพูดที่ว่า ต้องโง่ แล้วถึงจะรู้ โง่กับกิเลสนี่เอง ไม่ใช่โง่กับใครที่ไหนเลย

การถ่ายเทสมาธิมีหลายแบบ แล้วแต่เหตุที่ทำมา

บางคน เป็นทั้งผู้รับและผู้ให้

บางคนเป็นแค่ผู้รับ แต่ให้ของตัวเองแก่ใครๆไม่ได้

บางคนควบคุมสมาธิได้ คือจะให้ใครหรือไม่ให้ใครก็ได้ จะรับหรือไม่รับของใครก็ได้

บางคนมีแต่ให้ บังคับอะไรไม่ได้เลย สมาธิไหลอยู่ตลอดเวลา ถ่ายเทไปหารอบๆตัวตลอดเวลา แต่สมารถรับของคนอื่นๆได้ด้วย

บางคนมีแต่ให้ บังคับอะไรไม่ได้เลย สมาธิไหลอยู่ตลอดเวลา ถ่ายเทไปหารอบๆตัวตลอดเวลา แต่ไม่สามารถรับของคนอื่นๆได้

เราเป็นบุคคลในประเภทท้ายสุด คือ ถ่ายเทออกไปให้รอบๆตัวหรือให้คนอื่นๆอย่างเดียว และไม่สามารถรับของคนอื่นๆได้ ต่อให้คนนั้นๆมีสมาธิมากแค่ไหนก็ตาม เราไม่สามารถรับของเขาได้

มีแต่ว่า ของคนๆนั้นมีมากเท่าไหร่ เขายิ่งมีกำลังดึงสมาธิของเราไปมากยิ่งๆขึ้น แม่แต่สมาธิภายใน ที่มีกำลังมากๆ แม้แต่เราเองยังไม่สามารถดึงออกมาหรือนำออกมาใช้ได้ แต่คนเหล่านั้นสามรถเข้าไปดึงสมาธิส่วนนั้นออกมาได้ อะเมซิ่งไหมล่ะ

มาพูดถึงเรื่องการกอดกันต่อ มีน้องที่ทำงาน ที่เคยเล่าให้ฟังมาบ้าง จากที่เขามีสัมผัสอยู่แล้ว ประกอบกับเขาได้คลุกคลี ได้มาพูดคุยกับเรา เหตุระหว่างเขากับเรามีต่อกัน เขาจึงเชื่อในสิ่งที่เราพูด

และสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ครอบครัวของเขา คนรอบๆตัวเขา เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า สิ่งที่เราบอกให้เขาฟังนั้น มันมีอยู่จริงและเป็นจริง พร้อมทั้งสามารถถ่ายเทไปสู่คนอื่นๆได้ ทั้งๆที่บางคนที่เราอาจจะมองว่า คนๆนั้นไม่มีสมาธิเหรือไม่มีสัมผัสเลย

เรื่องนี้เขาเจอด้วยตัวของเขาเอง เป็นเหตุให้เขามาสนใจเรื่องการเจริญสติ สนใจในเรื่องการปฏิบัติ นี่แหละ สภาวะของแต่ละคน ถ้าทำตามสภาวะ สภาวะจะนำทางให้เขาเอง ว่าทำแบบไหนจึงจะเหมาะกับสภาวะของคนๆนั้น

ไม่ใช่คนอื่นๆมาบอกว่า ตัวเองนั้นเหมาะกับการปฏิบัติแบบไหน นั่นมันคือความคิดของคนอื่นๆ ไม่ใช่ตามความเป็นจริงในสภาวะของแต่ละคน

เดี่ยวนี้ครอบครัวของเขา เริ่มมาปฏิบัติมากขึ้น โดยตัวเขาเองเป็นคนชักนำ ส่วนใครจะทำแบบไหน เขาบอกว่าทำตามสะดวกได้เลย แม้แต่กับลูกและหลานที่ขอตามไปปฏิบัติได้ ไปวันศุกร์กลับวันอาทิตย์ ส่วนตัวเขาอยู่ที่วัดต่อจนครบ ๑๐ วัน

เขาบอกว่า ลูกของเขาได้รับสมาธิจากเขาตลอด เขาบอกว่า เชื่อแล้วว่าสมาธิสามารถถ่ายเทโดยการกอดกันได้ แม้แต่คนในครอบครัวเขา คนที่ใกล้ชิด แต่ละคนเริ่มมีสัมผัสในสิ่งที่มองไม่เห็นที่ชัดมากขึ้น จากที่ไม่เคยรู้จักเรื่องสัมผัสเหล่านี้เลย

นี่แหละปัจจัจตังในสิ่งแรกที่ทุกๆคนสามารถรู้และทดสอบด้วยตัวเองได้ ว่าสิ่งเหล่านี้มีจริงหรือไม่ ทุกอย่างต้องรู้และสัมผัสได้ด้วยตัวเองก่อน หากไม่รู้ด้วยตัวเอง จะไม่มีวันเชื่อในเรื่องเหล่านี้เลย

และละไม่ใช่แค่น้องคนนี้คนเดียว ที่เชื่อในเรื่องพวกนี้ แม้แต่คนอื่นๆที่เข้ามาหาเรา จากไม่เคยเชื่ออะไรเลย ไม่เคยสนใจเรื่องการเจริญสติ หันมาสนใจกันมากขึ้น

เมื่อวานช่วงที่นั่งรถกลับบ้าน ตอนจะลงจากรถ มีคนถามเราว่า เรานั่งได้ยังไงในท่าเดียว ไม่มีการขยับตัว ตั้งแต่ปากน้ำจนถึงลำสาลี ไม่เมื่อยมั่งเลยหรือ

เราบอกว่า สนใจเรื่องสมาธิไหม มาทำแบบเราสิ แล้วเขาจะทำได้แบบที่เราทำ
เขาบอกว่า มันทำได้จริงๆหรือ เขาไม่เคยทำ เราบอกว่าทำได้สิ หากสนใจไปหาเราที่ห้องทำงาน

เห็นไหมทุกอย่างมันมีเหตุ ไม่ต้องไปอธิบายให้มากความ ถ้าไม่เคยสร้างเหตุร่วมกันมา อธิบายไปก็เท่านั้น เพราะไม่เคยสร้างเหตุร่วมกันมา ย่อมไม่มีการมาเชื่อกัน

จะถูกหรือผิด มันก็แค่ความคิด ผิดพลาดเพราะอะไร เพราะมีเหตุร่วมกัน เราจึงควรให้อภัยและเมตตาต่อกัน

เพราะถ้ารู้แล้ว ชัดแจ้งแล้ว ความผิดพลาดย่อมไม่มีอย่างแน่นอน ไม่มีใครที่ไหนอยากมาทำร้ายกันหรืออยากทำผิดพลาดหรอก
แต่เพราะความไม่รู้ยังมี เราจึงต้องเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ พร้อมๆกับเจริญสติต่อไปเรื่อยๆ

กุมภาพันธ์ 2011
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28  

คลังเก็บ