ปีติและสุข

ปีติและสุข

ก่อนจะพูดเรื่องสภาวะของสมาธิต่างๆ เราควรรู้จักกับสภาวะของปีติและสุขก่อน
เพื่อความสะดวกในการนำสภาวะไปเทียบเคียง หากต้องการจะรู้ว่า สมาธินั้นๆ เรียกว่าอะไร
ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง และเป็นผลจากสภาวะที่ได้เรียบเรียงมา
อนึ่งมีวิธีตรวจสอบว่าผู้นั้นปฏิบัติจนจิตทรงฌานนั้น จะรู้ได้อย่างไร มีวิธีตรวจสอบสภาวะด้วยตัวเองได้
สามารถนำหลักฐานอ้างอิงให้เห็นเป็นรูปธรรมกันได้ ดูด้วยตาเปล่าได้ ส่วนวิธีการนั้นว่าจะรู้ได้อย่างไร
จะนำมาเสนอในตอนท้ายของเรื่อง ฌาน ข้อมูลทั้งหมดเพียงนำมาแบ่งปันกัน
………………………………………………………………………………………

ปีติและสุข มีอรรถธิบายว่า ธรรมชาติใดที่ทำให้เอิบอิ่ม ธรรมชาตินั้นชื่อ ปีติ
ปีตินั้นมีความเอิบอิ่มเป็นลักษณะ มีอันทำกายและใจให้เอิบอิ่มเป็นกิจ หรือมีอันแผ่ซ่าน
ไปในกายและใจให้เป็นกิจก็ได้ มีอันทำกายและใจให้ฟูขึ้นเป็นอาการปรากฏ

อธิบายปีติ ๕ อย่าง

ปีติที่ประสงค์เอามา ณ ที่นี้ ก็แหละปีติ ๕ ประการนั้น เมื่อถือเอาห้อง (คำว่า ปีติถือเอาห้อง
หมายความว่า ปีติเจริญเต็มที่ ควรเป็นเหตุให้เกิดปัสสัทธิต่อไป โดยอาสภมหาเถระ)

ทำความแก่เต็มที่แล้ว ย่อมทำปัสสัทธิ ๒ ประการให้บริบูรณ์คือ กายปัสสัทธิ ความสงบกาย ๑
จิตตปัสสัทธิ ความสงบจิต ๑

เมื่อปัสสัทธิถือเอาห้องความแก่เต็มที่แล้ว ย่อมนำสุขทั้ง ๒ ประการให้บริบูรณ์คือ
กายิสุข สุขกาย ๑ เจตสิกสุข สุขใจ ๑

เมื่อสุขถือเอาห้องความแก่ได้เต็มที่แล้ว ย่อมทำสมาธิ ๓ ประการให้บริบูรณ์คือ
ขณิกสมาธิ ๑ อุปจารสมาธิ ๑ อัปปนาสมาธิ ๑

ในบรรดาปีติทั้ง ๕ ประการนั้น ผรณาปีติอันใดที่เจริญแก่กล้าขึ้น พอจะเป็นมูลฐานแก่อัปปนาสมาธิ
ถึงซึ่งอันประกอบเข้ากับอัปปนาสมาธิได้ ปีตินี้ถือเอาในอรรถธิบายนี้

อธิบายสุข

ก็แหละความสบายขึ้นจากปีติ ชื่อว่า สุข
อีกนัยหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมกินเสียซึ่งความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า สุข
อีกนัยหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมขุดออกซึ่งความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า สุข

สุขนั้นมีความดีใจเป็นลักษณะ มีอันเพิ่มพูนสัมปยุตธรรมให้เจริญเป็นกิจ
มีอันอนุเคราะห์เป็นอาการปรากฏ

ความแตกต่างระหว่าง ปีติ กับ สุข

ถ้าแม้ในจิตบางดวง เช่น ปฐมฌานจิตเป็นต้น จะไม่มีการแยกกันระหว่างปีติกับสุขก็ตาม
แต่ความยินดีที่เกิดขึ้น เพราะได้อิฏฐารมณ์ จัดเป็น ปีติ
การเสวยรสแห่งอารมณ์นั้น จัดเป็น สุข

มีปติในจิตใด ในจิตนั้นก็มีสุขด้วย
แต่สุขมีในจิตใด ในจิตนั้นไม่มีปีติเสมอไป

ปีติ สงเคราะห์เข้าใน สังขารขันธ์
สุข สงสเคราะห์เข้าใน เวทนาขั้นธ์

จากคัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ รจนา
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( อาจ อาสภมหาเถระ ) แปลและเรียบเรียง

กันยายน 2010
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930  

คลังเก็บ