พระธาตุเส้นผม

เมื่อก่อน เราคิดว่า เส้นผมที่เป็นพระธาตุจะต้องเป็นเส้นใสๆเหมือนแก้ว
ที่แท้เปล่าเลย เส้นผมก็ยังเป็นเส้นผมเหมือนเดิม
 
แต่แรกเริ่มที่จะเป็นพระธาตุนั้น
จะมีเม็ดๆเล็กๆลักษณะใสๆเหมือนแก้วมาเกาะที่เส้นผม ( ผมที่ตัดหรือโกนออกมาแล้ว )
แล้วเม็ดใสๆเล็กๆนั้นจะโตขึ้นเรื่อยๆ แล้วมีเม็ดเล็กๆกระจัดกระจายไปทั่วเส้นผม
 
พอเม็ดเริ่มโตขึ้น ยังคงเป็นเม็ดใสๆอยู่ ใสจนเห็นเส้นผมที่อยู่ภายใน คือตัวเม็ดนี้จะหุ้มอยู่
ลักษณะเม็ดเหมือนเมล็ดงาขาว แต่ไม่ได้สีขาวขุ่นแบบเมล็ดงา แต่เป็นเม็ดใสๆเหมือนแก้ว
แล้วเม็ดจะหลุดออกมาเส้นผมที่หุ้มอยู่นั้นเอง ร่วงออกมาเป็นเม็ดเหมือนเดิมทุกๆอย่าง
แล้วจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในเส้นผมนั้นๆที่เก็บเอาไว้
 
ถ้าอยากเห็น ให้ไปดูที่วัดตาลเอน ผมของหลวงพ่อจรัญ
ตอนแรกเราก็เข้าใจผิด คิดว่า ขออภัยนะ มันเหมือนไข่เหา
จิตไม่ได้คิดปรามาสครูบาอาจารย์แต่อย่างไร แต่จิตมันไว สัญญามันมาก่อนที่สติจะทัน
สัญญารูปไข่เหามันมาก่อน  ตอนนี้เลยทำให้รู้ว่า เส้นผมที่เป็นพระธาตุนั้นมีลักษณะอย่างไร
เรียกว่าตัดผมหรือโกนผมครั้งใด ต้องเป็นพระธาตุทุกครั้ง หรือเกิดสภาวะนี้ทุกๆครั้งกับเส้นผม 

การเห็นตามความเป็นจริง

การที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้ ต้องเห็นตามความเป็นจริงในกายและจิตของตนให้ได้ก่อน
เมื่อรู้ภายในได้ชัดเจน จนถึงชัดแจ้งแล้ว ย่อมรู้นอกกายหรือรู้ทุกๆสรรพสิ่งที่อยู่นอกกายได้
เพราะทั้งภายในกายและภายนอกกายนั้นล้วนไม่มีความแตกต่างกันเลย

การที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้ ขั้นแรก ต้องยอมรับตามความเป็นจริงในสิ่งที่ตัวเองเป็น ( เพศ )
และตัวเองนั้นมีก่อน ( กิเลส ) ถ้ายอมรับตามนี้ได้ ย่อมเห็นคนอื่นๆได้

เมื่อมี สติ สัมปชัญญะ ย่อมมีหิริ โอตตัปปะเป็นเงาตามตัว
หิริ โอตตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
เมื่อมีหิริ โอตตัปปะ ศิลนั้นย่อมสะอาดมากขึ้นตามกำลังของสติ สัมปชัญญะ

ในโลกของอินเตอร์เนต มีโอกาสผิดศิลข้อมุสามากที่สุด เพราะเป็นเรื่องของการกระทำทางวาจา
คือ สิ่งที่โพสออกมาจากจิต จิตจะยอมรับตามความเป็นจริงได้หรือไม่ ให้ดูจากการโพส

หากเป็นชาย แต่ทำตัวเป็นหญิง
หากเป็นหญิง แต่ทำตัวเป็นชาย
ขอยกเว้นเพศที่สาม กระเทย , ทอม เพราะสภาวะนั้นย่อมแปรปรวนได้ตามสาภาวะที่เป็นอยู่

ในเมื่อยังไม่ยอมรับตามความเป็นจริง ในสิ่งที่ตัวเองเป็น
ย่อมเป็นเหตุให้เห็นตามความเป็นจริงได้ยาก เพราะขนาดตัวของตัวเองยังไม่ยอมรับในสิ่งที่เป็น
แล้วจะไปเห็นสิ่งอื่นๆตามความเป็นจริงที่นอกกายตัวเองได้อย่างไรกัน?

เหตุมี ผลย่อมมี ทุกๆความผิดพลาดเพราะความไม่รู้ นั่นคือ ครู

สภาวะ , การกำหนด

สภาวะ

สภาวะ แปลว่า ความเห็นเอง ความเกิดขึ้นเอง การปรากฏขึ้นเอง
เช่น สภาวะลักษณะ หมายถึงลักษณะที่เป็นเอง เกิดเองเป็นเองตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ
ในการปฏิบัติกรรมฐานหรือเจริญสติหรือจะเรียกอะไรก็ตาม หมายถึง สภาวะหรือปรากฏการณ์
ที่เกิดขึ้นภายในกายและจิตของผู้ปฏิบัติ ( อันนี้เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นภายใน )

การกำหนดต้นจิต คือ การฝึกจิตให้อยู่กับการเคลื่อนไหวและอิริยาบทต่างๆของร่างกาย
เช่น ขณะนั่งอยู่ก็กำหนดรู้อยู่ว่านั่ง แล้วถ้าจะลุกขึ้น ก่อนจะลุกก็กำหนดรู้อยู่

การจะเปลี่ยนอิริยาบทหรือเคลื่อนไหวใดๆ หรือเมื่อจำเป็นต้องสนทนา จะพูดจะกล่าวคำใดๆ
ก็กำหนดรู้พร้อมกันไป การกำหนดในทำนองดังกล่าวมานี้ เป็นการช่วยให้มีสติ สัมปชัญญะ
และสมาธิเชื่อมโยงติดต่อกันไม่ขาดระยะ

การกำหนดทำนองดังกล่าวมานี้ มีในสติปัฏฐานสูตร หมวดอิริยาปถบัพพะและสัมปชัญญะบัพพะ
ในการฝึกกำหนดต้นจิต ในตอนแรกๆ อาจจะกำหนดทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ขาดๆหายๆ
ซึ่งคนเราส่วนมากก็เป็นเช่นนั้น

ถ้าไม่ท้อถอย และเลิกเสียก่อน แต่พากเพียรทำต่อไปจะพบเองภายภาคหน้าว่า
มีสติกำหนดได้ดีเป็นส่วนมาก และจะค่อยๆกำหนดได้ติดต่อกันดีขึ้น แล้วในที่สุด
ก็สามารถกำหนดได้โดยติดต่อกัน ซึ่งแสดงว่า มีสติมั่นคง มีสัมชัญญะเกิด
ซึ่งเป็นพื้นฐานในการนั่งกำหนดสมาธิต่อไป

นำมาจาก หนังสือวิปัสสนากรรมฐาน ( สติปัฏฐานสูตร ) หลวงพ่อโชดก

บทความด้านบน นำมาเพียงบางส่วนค่ะ จริงๆแล้วมีรายละเอียดมากกว่านี้

การกำหนดมีสองแบบ คือ

๑. ใช้คำบริกรรมช่วย เช่น ใช้หนอกำกับลงไปในอิริยาบทนั้นๆ
เพื่อเป็นการสร้างทั้งสติ สัมปชัญญะ ให้มีกำลังมากขึ้น

๒. ไม่ใช่คำบริกรรม แต่เอาจิตจดจ่อลงไปรู้ในการกระทำนั้นๆ

สมาธิปทฐฐานา มีสมาธิเป็นเหตุใกล้ชิดที่จะทำให้ปัญญาเกิด หมายความว่า
ปัญญาจะเกิดได้ต้องมีสมาธิ คือ ความตั้งใจแน่วแน่ต่ออารมณ์นั้นๆ

เช่น เวลาดูหนังสือ ถ้าใจจดจ่ออยู่กับหนังสือนั้น ไม่วอกแวกไปทางอื่นก็จำได้ง่าย จำได้ดี
นั่นแหละเป็นเหตุให้เรื่องปัญญา เป็นเหตุให้เกิดปัญญา แม้ในปัญญาขั้นสูง เช่น
ภาวนามยปัญญาก็ต้องอาศัยสมาธิเช่นเดียวกัน

ตัวอย่าง การเจริญสติ ถ้ามีสติ มีสัมปชัญญะรู้อยู่กับรูปนามได้ดี โดยเป็นไปติดต่อกันเสมอ
( จิตจดจ่อรู้อยู่ในกายได้ตลอด ) ไม่มีเผลอ ยิ่งไม่เผลอมากเท่าไหร่
นั่นบ่งบอกถึงกำลังความแนบแน่นของสมาธิที่เกิดขึ้น

เชื่อไหม ถ้าจะบอกว่า ถ้าทำความเพียรอย่างต่อเนื่อง
กำลังของสมาธิที่เกิดขึ้นจากการเจริญสติ สามารถมีกำลังถึงจตุตถฌานได้
และไปทีละสเต็ป เรียกว่าจากหนึ่งจนชำนาญ ไปสอง จากสองจนชำนาญไปสาม
จากสามจนชำนาญไปสี่

นิมิต

นิมิตมีหลายรูปแบบ ทั้ง รูป สี กลิ่น เสียง แสง
สภาวะของนิมิตที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังปฏิบัติ ไม่ว่าจะเกิดในขณะที่เดินจงกรมหรือนั่งก็ตาม
หากมีนิมิตเกิดขึ้น แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถรู้กายได้ สภาวะนั้นๆจะเป็นสภาวะของอุปจารสมาธิ

 

หากเป็นในอัปปนาสมาธิหรือฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิ จะไม่สามารถเกิดสภาวะใดๆได้เลย
มีแต่สภาวะดับสนิทเกิดขึ้นอย่างเดียว


หากมีนิมิตเกิดขึ้น แต่สามารถรู้อยู่ในกายได้ตลอด รู้การเคลื่อนไหวในกาย เช่น
รู้ท้องพองยุบ รู้ทรวงอกเคลื่อนไหว คืออะไรจะรู้อย่างใดอย่างหนึ่งรู้อยู่ในกับกาย
พร้อมๆกับนิมิตนั้นก็เกิดร่วมด้วย สภาวะนี้อาจจะเป็นอุปจารฌานหรือฌานต่างๆ
ต้องดูองค์ประกอบของสภาวะที่เกิดขึ้นร่วมด้วย

มีนิมิตอีกประเภทคือ เกิดได้ทั้งขณะที่ลืมตาและหลับตา
ไม่ว่าจะเป็นนิมิต รูป แสง สี กลิ่น เสียง สามารถเกิดขึ้นได้เอง โดยไม่ต้องนั่งสมาธิแต่อย่างใด
อันนี้เกิดจากสภาวะของผู้ที่มีสัญญาเก่าติดตัวมาเยอะ คือ สมถะดี ต้องอาศัยการเจริญสติ
มาช่วยในเรื่องของการปรับอินทรีย์ จึงจะสามารถนำกำลังของสมาธิที่มีอยู่นั้นๆ
มาใช้งานได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ส่วนมากจะเกิดจากผู้ที่ได้ฌาน ไม่ใช่แค่อุปจารสมาธิ

กันยายน 2010
จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930  

คลังเก็บ